อาการไม่พึงประสงค์และข้อห้ามใช้ ของ เจนตามัยซิน

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับการรักษาด้วยเจนตามัยซินนั้นมีอยู่หลายประการ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยอย่างคลื่นไส้ อาเจียน หรือในบางรายอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้ ได้แก่:[14]

โดยจากอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงดังข้างต้น พบว่าการเกิดพิษต่อไต และการเกิดพิษต่อหูนั้นมีความสัมพันธุ์ในเชิงแปรผันตรงกับระดับเจนตามัยซินในกระแสเลือดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหมายถึง การที่มีระดับยาดังกล่าวในกระแสเลือดที่สูงมากเกินไปก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวได้มากกว่าปกติเช่นกัน[14] โดยการเกิดพิษทั้งต่อหูและต่อไตนี้อาจแสดงอาการอย่างช้าๆ ในบางครั้งอาจไม่มีอาการเลยจนกระทั่งเสร็จสิ้นการรักษาด้วยาดังกล่าว[14]

การเกิดพิษต่อไต

การเกิดพิษต่อไตนั้นเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ประมาณร้อยละ 10–25 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งเจนตามัยซินก็ถือเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในยากลุ่มนี้[18] โดยส่วนมากแล้วความผิดปกติต่อไตที่เกิดขึ้นนี้มักผันกลับมาเป็นปกติได้หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสาเหตุไประยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดความผิดปกติของการทำงานของไตอย่าางถาวรได้[14] โดยความเสี่ยงวนการเกิดพิษต่อไตจากยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์นี้ขึ้นอยู่กับขนาดยา, ความถี่ในการบริหารยา, ระยะเวลาที่ใช้ยาดังกล่าวในการรักษา, และการใช้ยาอื่นที่มีผลลดการทำงานของไตร่วมด้วย เช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์, ยาขับปัสสาวะ, ซิสพลาติน, [[ไซโคลสปอริน], [[เซฟาโลสปอริน], แอมโฟเทอริซินบี, สารทึบรังสีไอโอดีน และแวนโคมัยซิน เป็นต้น[18]

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ได้แก่:[18]

การเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์สามารถทำได้โดยการตรวจติดตามค่าครีอะตินีนในกระแสเลือด, ระดับเกลือแร่, ปริมาณการขับปัสสาวะออก, โปรตีนในปัสสาวะ และความเข้มข้นของสารเคมีอื่นที่เกี่ยวข้องในกระแสเลือด[18]

การเกิดพิษต่อหูชั้นใน

รูปภาพแสดงโครงสร้างภายในหูชั้นใน ซึ่งการเกิดพิษจากเจนตามัยซินนั้นจะทำให้เกิดพยาธิสภาพในส่วนคอเคลีย และเวสติบูล

ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์จะพบการเกิดพิษต่อหูชั้นในประมาณร้อยละ 11[19] โดยอาการแสดงที่พบได้บ่อยครั้งมากที่สุด คือ มีเสียงดังรบกวนในหู (Tinnitus), สูญเสียการได้ยิน, มีอาการรู้สึกหมุน, เกิดภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia), มีอาการมึนเวียนศีรษะ (dizziness)[20] ทั้งนี้ การใช้เจนตามัยซินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่อหูได้ 2 ส่วน โดยส่วนแรกคือ เจนตามัยซินจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เซลล์ขนในหูชั้นในซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้ ส่วนที่สอง เจนตามัยซินจะเข้าไปทำลายระบบเวสติบูลาร์ของหูชั้นใน ซึ่งจะนำสู่การเกิดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการทรงตัวได้ในที่สุด[20] ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการเกิดพิษต่อหูจากเจนตามัยซินนั้นสามารถถูกทำให้ลดลงได้โดยให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำที่เพียงพอหรือไม่อยู่ในสภาะที่มีการขาดน้ำ[14]

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อหูชั้นในจากการใช้ยาเจนตามัยซิน ได้แก่:[14][15]

  • การมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง
  • การทำงานของไตลดน้อยลง
  • การทำงานของตับผิดปกติ
  • การได้รับยาเจนตามันซินในขนาดสูง
  • การได้รับการรักษาด้วยยาเจนตามัยซินเป็นระยะเวลานาน
  • ผู้สูงอายุ
  • ใช้เจนตามัยซินร่วมกับยาขับปัสสาวะที่มีฤทธิ์แรง (เช่น ฟูโรซีไมด์)

ข้อห้ามใช้

เจนตามัยซินมีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติการเกิดภาวะภูมิไวเกินต่อยานี้หรือยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น แอนาฟิแล็กซิส หรืออาการพิษที่รุนแรงอื่น เป็นต้น[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจนตามัยซิน http://www.baxter.ca/en/downloads/product_informat... http://www.drugbank.ca/drugs/DB00798 http://www.sandoz.ca/cs/groups/public/@sge_ca/docu... http://www.australianprescriber.com/magazine/33/5/... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.39006... http://www.nature.com/doifinder/10.1038/ki.2010.33... http://www.toku-e.com/Upload/Products/PDS/20120604... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15494908 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15831617 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17266591