กลไกการออกฤทธิ์ ของ เจ็มไฟโบรซิล

เจ็มไฟโบรซิลออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการทำงานของตัวรับ peroxisome proliferator-activated receptor-alpha (PPARα) ภายในนิวเคลียส ผลจากการกระตุ้นที่ตัวรับนี้จะทำให้เกิดการเผาผลาญสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทและไขมันมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงกระตุ้นให้เกิดการเจริญของเซลล์เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น (adipose tissue differentiation) นอกจากนี้ การกระตุ้นที่ตัวรับดังกล่าวจะทำให้ร่างกายมีการสังเคราะห์เอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase) มากขึ้น ซึ่งผลจากการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์นี้ จะทำให้ไตรกลีเซอไรด์ถูกย่อยเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอลมากขึ้น เป็นผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลงได้ในที่สุด

นอกจากนี้ เจ็มไฟโบรซิลยังมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไตรกลีเซอไรด์ของตับ ผ่านกระบวนการการยับยั้งการสลายไขมันในกระแสเลือด (lipolysis) ทำให้มีปริมาณกรดไขมันอิสระในกระเลือดไม่มากพอที่จะนำไปสร้างไตรกลีเซอไรด์ อีกทั้งเจ็มไฟโบรซิลยังสามารถยับยั้งการสร้างการสังเคราะห์อะโปโปรตีนตัวพาของคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (VLDL cholesterol) ทำให้ระดับ VLDL-C ลดลง ส่งผลต่อเนื่องให้ระดับ LDL-C ซึ่งสร้างมาจาก VLDL-C ลดลงได้ในที่สุด[1][3] ทั้งนี้การศึกษาในสัตว์ทดลองหลายการศึกษาพบว่า เจ็มไฟโบรซิลมีผลลดการเกิดปฏิกิริยาการสลายไขมันในเซลล์เนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง รวมทั้งมีผลลดการรวมตัวของกรดพาล์มมิติคที่ได้รับการติดฉลากเภสัชรังสี (radiolabeled palmitic acid) เข้าไปในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งภายหลังจะถูกหลั่งออกมาจากตับในรูปของ VLDL-C[4]

ใกล้เคียง

เจ็มไฟโบรซิล เอ็มไทย เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2014 เร็มไชท์ เอ็มไพร์ส: ดาวน์ออฟเดอะโมเดิร์นเวิลด์ เจ็ทไฟเออร์ (ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส) เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2013 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ (กรุงเทพมหานคร) เอ็มไอเอ็ม-104 แพทริออต เจ็มคราฟต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ็มไฟโบรซิล http://www.ahjonline.com/article/S0002-8703(97)700... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.3345.... http://www.micromedexsolutions.com/micromedex2/lib... http://www.webmd.com/drugs/2/drug-11423/gemfibrozi... http://water.epa.gov/scitech/wastetech/biosolids/t... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/828263 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1864017 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC186401... http://www.kegg.jp/entry/D00334 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx...