การศึกษาและกรณียกิจ ของ เจ้าบุญอุ้ม_ณ_จำปาศักดิ์

เสด็จเจ้าบุนอุ้มสำเร็จการศึกษาชั้นต้นในลาวแล้วศึกษาต่อที่โรงเรียน Chasseloup-Laubat ในไซ่ง่อนถึง ค.ศ. ๑๙๓๕ จากนั้นกลับมาศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายและการปกครองในนครหลวงเวียงจันทน์ถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ ทรงสำเร็จราชการที่สำนักข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำนครหลวงเวียงจันทน์เมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๘ ช่วง ค.ศ. ๑๙๓๘-๔๑ ประจำการที่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ค.ศ. ๑๙๔๐ ดำรงตำแหน่งรองเจ้าเมืองท่าแขก ค.ศ. ๑๙๔๑-๔๒ เสด็จประจำการที่สำนักงานกิจการการเมืองการปกครองหอสนามหลวง นครหลวงพระบาง ค.ศ. ๑๙๔๓-๔๔ กลับมาสำเร็จราชการสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสที่นครหลวงเวียงจันทน์แทนตำแหน่งเสด็จเจ้ามหาอุปฮาดเพ็ชราช รัตนวงสา ค.ศ. ๑๙๔๔-๔๕ ดำรงตำแหน่งเจ้ามืองจำพอนที่แก้งกอก แขวงสุวรรณเขต ๙ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ญี่ปุ่นยึดอำนาจในลาวและอินโดจีนทรงนำกองกำลังทหารพรานเข้าสมทบกองทหารเครือสหพันธ์ฝรั่งเศสขับไล่ญี่ปุ่นที่ดงเห็น ถือเป็นผู้นำสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่นร่วมกับกองกำลังฝรั่งเศสในลาว ริเริ่มจัดตั้งและบัญชาการกลุ่มราษฎรระดมกองกำลังในภาคกลางที่สุวรรณเขตและภาคใต้ขับไล่ญี่ปุ่น จากนั้นนำกองทหารพรานลาวประสมกองกำลังฝรั่งเศสปลดปล่อยนครหลวงพระบางเมื่อ ๑๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ โมรีส มีโซแดน (Mr. Maurice Michaudel) สรรเสิญความสามารถทางการทหารของพระองค์ใน Commissaire de la Republique Françise au Laos ว่า

...Teles ces hommes valeureux dont i' histoire a conserve la memoirs, le Prince Boun Oum venait de raviver a la pointe de l'epee l'eclat de la Maison Princiere de Champassak, en combattant au peril de sa vie aupres des defenseurs de la liberte et de la cause de la France au Laos...

พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ ลาวขับไล่ญี่ปุ่นโดยกองกำลังลาว-ฝรั่งเศสสำเร็จ รัฐบาลฝรั่งเศสผ่านข้าหลวงใหญ่ประจำลาวแสดงเจตนารวมลาวเป็นแผ่นดินเดียว พระองค์เห็นด้วยกับนโยบายเพราะเชื่อมั่นว่าจะกอบกู้เกียรติยศราชวงศ์จำปาสักภายใต้การรวมแผ่นดินคืนได้ ทรงร่วมประชุมพิจารณาเตรียมการหยั่งประชามติลาวภาคใต้ตั้งแต่แขวงคำม่วนถึงสตรึงแตรงในกัมพูชา ว่าราษฎรจะเห็นด้วยกับการรวมลาวใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบามสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตหลวงพระบางพระองค์เดียวหรือไม่ พระบรมวงศานุวงศ์จำปาสักฝากความหวังไว้ที่พระองค์ในการกอบกู้อำนาจของราชวงศ์กลับมา แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากระหว่างเตรียมการประชุมพิจารณาหยั่งประชามติครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อปรากฏว่า ระหว่างพิจารณากำหนดบทบาทราชวงศ์จำปาสักพระองค์ทรงประชวรหนักเพราะบาดแผลสงคราม ๒๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ ขณะบรรทมในโรงพยาบาลเมืองเซโนเพื่อรอรับเครื่องบินพระที่นั่งส่งเสด็จรักษาพยาบาลที่ฝรั่งเศสผ่านไซง่อนปรากฏว่า ๒๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสว่างวัฒนาองค์มงกุฏราชกุมารและเดอรายมง (Mr. de Rray-mond) ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำลาว ลอบเซ็นสัญญาชั่วคราว Modus Vivendi ที่นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อกำหนดพื้นฐานสร้างรัฐบาลใหม่ที่มีเอกภาพและเอกราชใต้เครือสหพันธ์ฝรั่งเศสให้สอดคล้องความต้องการของประชาชนโดยไม่ปรึกษาพระองค์ ด้านกฎหมายนั้นเอกสารจะสมบูรณ์โดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เดอรายมงเห็นว่าการรวบรวมลาวเป็นหนึ่งเดียวจะเกิดขึ้นและปฏิบัติได้ต้องรับความเห็นดีเห็นชอบในการยอมสละสิทธิ์ครองอาณาจักรจำปาสักของพระองค์ก่อน ๒๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ เดอรายมงรีบร้อนเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าชายสว่างวัฒนาองค์มงกุฏราชกุมารเสด็จโดยเรือบินพิเศษไปเซโนเพื่อเข้าเฝ้าเสด็จเจ้าบุนอุ้ม เดอรายมงพยายามอธิบายและหว่านล้อมให้พระองค์เข้าใจสถานะของพระองค์และราชวงศ์จำปาสักในอนาคตหลังเซ็นสัญญา เมื่อเข้าพระทัยดีแล้วจึงยอมลงพระนามในสัญญาต่อท้าย (Protocole secret annexe au Modus Vivendi)[8]

ใกล้เคียง

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์ เจ้าบ้าน เจ้าเรือน เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่ เจ้าบ่าวกลัวฝน เจ้าบุญมี ตุงคนาคร เจ้าบ่าวทีเด็ด เจ้าบุญสารเสวตร์ ณ ลำปาง เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าบุญอุ้ม_ณ_จำปาศักดิ์ http://www.agoda.com/th-th/champasak-palace-hotel/... http://socialitywisdom.blogspot.com/2009/03/cia_16... http://socialitywisdom.blogspot.com/2009/04/blog-p... http://guideubon.com/news/view.php?t=49&s_id=2&d_i... http://www.oceansmile.com/Lao/Jampasak.htm http://www.ounon19.com/Champasak1.htm http://www.southlaostour.com/Hotels-in-Pakse/ http://tourlaotai.com/champasak.htm http://board.trekkingthai.com/board/print.php?foru... http://www.culture.go.th/pculture/kalasin/3_8.html