การสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ของ เจ้าพงษ์อินทร์_ณ_เชียงใหม่

เมื่อเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2515 และไม่มีโอรสสืบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าซึ่งพระราชทานให้แก่ผุ้สืบสกุลของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทำให้เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ อนุชาต่างมารดาซึ่งเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2514 เป็นผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งหมายถึงการสืบทอดภารกิจของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่มีต่อประชาชน และต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับวงศ์ตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือ

เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้สืบเชื้อสายสกุล ณ เชียงใหม่ โดยตรงจากเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475) และนับเป็นผู้สืบราชตระกูล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการซึ่งอาจเทียบได้กับ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475

เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2532 สิริอายุ 85 ปี[2]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)