การพระศาสนา ของ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์

อัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์จากนครเวียงจันทน์

สร้างวัดไชยมงคล

วัดธรรมยุติกนิกายลำดับ ๔ แห่งเมืองอุบลราชธานี

วัดไชยมงคลเป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๒ ถนนสุรศักดิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ ๓๔๐๐๐ มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๘๙.๗ ตารางวา ตามเอกสารโฉนดที่ ๑๙๔๕ เลขที่ดิน ๑ หน้าสำรวจ ๑๐๖ เล่มที่ ๒๐ หน้า ๔๕ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ออกให้ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยมีอาณาเขตทิศเหนือจรดถนนพโลชัย ทิศใต้จรดถนนสุรศักดิ์ ทิศตะวันออกจรดถนนสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตกจรดที่ดินเอกชน วัดไชยมงคลเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นวัดที่สร้างขึ้นเป็นลำดับที่ ๔ ในบรรดาวัดที่สังกัดธรรมยุติกนิกายในเมืองอุบลราชธานี โดยวัดแรกที่สร้างขึ้นคือวัดสุปัฏนารามวรวิหาร สร้างโดยเจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม ต้นสายสกุล พรหมวงศานนท์) (พ.ศ. ๒๓๓๘ - ๒๓๘๘) เจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่ ๒ วัดที่สร้างขึ้นเป็นลำดับที่ ๒ คือวัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) สร้างโดยพระอุปฮาด (โท ต้นราชตระกูล ณ อุบล) และคณะกรมการเมืองอุบลราชธานี โดยเริ่มสร้างกุฎิ วิหาร และศาลาการเปรียญขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ นอกจากนี้เจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานียังได้ร่วมมือกันสร้างวัดสุทัศนาราม ซึ่งเป็นวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกายแห่งที่ ๓ ส่วนวัดไชยมงคลนั้นเป็นวัดสังกัดธรรมยุติกนิกายในลำดับที่ ๔

มูลเหตุสร้างวัดไชยมคล

วัดไชยมงคลสร้างขึ้นโดยเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๒๕) ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) มูลเหตุการสร้างวัดไชยมงคลขึ้นนั้น ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๙ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์นุเคราะห์วงศ์ (บ้างออกพระนามว่าเจ้าพรหมเทวานุสรณ์) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีพระองค์ที่ ๔ แล้ว ในปีเดียวกันได้เกิดกบฏฮ่อขึ้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ฝั่งประเทศลาว ขณะนั้นสยามถือว่าแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงยังเป็นประเทศราชของสยามอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จึงได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ยกกองทัพไปปราบกบฏฮ่อที่นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อพระได้รับพระบรมราชโองการแล้ว พระองค์จึงสั่งให้แม่ทัพนายกองรวบรวมไพร่พล พระองค์เห็นว่าสถานที่รวบรวมไพร่พลหรือบริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้ มีความร่มรื่น มีต้นโพธิ์ต้นไทรเจริญงอกงามอยู่เป็นจำนวนมาก สถานที่นี้มีชัยภูมิอันดีเหมาะที่จะเป็นที่รวบรวมไพร่พลเพื่อยกกองทัพไปปราบกบฏฮ่อ ด้วยความที่เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ทรงมีเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ที่เป็นนักรบ พระองค์จึงสามารถปราบกบฏฮ่อสำเร็จอย่างง่ายดาย หลังเสร็จศึกสงครามแล้วจึงเดินทางกลับมาที่เมืองอุบลราชธานี และทรงดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะขึ้น ณ สถานที่รวบรวมไพร่พล พระองค์จึงทรงรวบรวมกำลังศรัทธาจากเหล่าข้าราชบริพาร ไพร่พล และชาวบ้านชาวเมืองอุบลราชธานี สร้างวัดขึ้น ณ สถานที่เคยเป็นที่รวบรวมไพร่พลก่อนเดินทางไปปราบกบฏฮ่อ ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๔ โดยพระราชทานนามวัดว่า วัดไชยมงคล เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระปราบไพรีพินาศ ที่อัญเชิญมาจากนครหลวงเวียงจันทน์ มาประดิษฐานไว้ที่วัดไชยมงคลแห่งนี้ ส่วนอีกองค์หนึ่งคือ พระทองทิพย์ ทรงนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีทองหรือวัดศรีอุบลรัตนาราม ในปัจจุบัน เมื่อดำเนินการสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์พร้อมทั้งชาวบ้านชาวเมืองได้กราบอาราธนาเจ้าอธิการสีโหหรือท่านอัญญาสิงห์จากวัดศรีอุบลรัตนาราม มาเป็นเจ้าอาวาสวัดไชยมงคลรูปแรก

ลำดับเจ้าอาวาสวัดไชยมงคล (พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๕๕๓)

  • เจ้าอธิการสีโห (เจ้าอธิการสิงห์) เจ้าอาวาสรูปแรก (พ.ศ. ๒๔๑๔) เดิมอยู่วัดศรีทอง
  • ญาครูลา บ้านเดิมอยู่บ้านปลาดุก
  • ญาครูคำ บ้านเดิมอยู่บ้านก้านเหลือง
  • พระอาจารย์ทอง
  • พระอาจารย์มหาคำแสน
  • พระอาจารย์กอง
  • พระครูชิโนวาทสาทร (พระมหาอุทัย ปภสฺสโร, ปธ. ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๓๘
  • พระครูมงคลชัยคุณ (พระสมชาย กลฺยาโณ) พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๓)
  • พระครูจิตวิสุทธิญาณคุณ (พระจตุรงค์ ญาณุตฺตโม) พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน ๒๕๕๓)[6]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)