ขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช ของ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์

เมืองอุบลราชธานีนี้ เดิมแรกตั้งเมืองมีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ปรากฏความในเอกสารจดหมายเหตุ ร.๑ จ.ศ. ๑๑๕๔ เลขที่ ๒ สมุดไทยดำ เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องตั้งให้พระประทุม เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงษเมืองอุบลราชธานี ความว่า "ด้วย พระบาทสมเดจ๊พระพุทธิเจ้าอยหัว ผู้พานพิภพกรุงเทพพระมหาณครศรีอยุทธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งให้พระประทุม เปนพระประทุมววรราชสุริยวงษ ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช เศกให้ ณ วัน ๒ ฯ ๑๓ ๘ ค่ำจุลศักราช ๑๑๕๔ ปีชวดจัตวาศก" [4] เจ้าผู้ปกครองเมืองมีพระยศเป็นพระประเทศราช นิยมออกคำนำนามพระยศในจารึกว่า เจ้าพระ เช่น เจ้าพระประทุมฯ เจ้าพระพรหมฯ เป็นต้น เจ้านายสายแรกที่ปกครองเมืองทรงปกครองเมืองดอนมดแดงมาก่อน ทรงสืบเชื้อสายจากราชตระกูลนครศรีสัตนาคณหุตล้านช้างเวียงจันทน์และนครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า ตั้งแต่ครั้งเจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) เจ้าเมืองพระองค์ก่อนเถิงแก่พิราลัย ทางราชการบ้านเมืองก็ยังหาตัวเจ้าเมืองจะปกครองมิได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าราชวงศ์ (หน่อคำ) เจ้านายในคณะอาญาสี่เมืองนครจำปาศักดิ์ ผู้เป็นพระเชษฐาในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงดวงคำมาเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล เพื่อให้คล้องกันกับพระนามของ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี หรือเจ้าหนู เจ้าเมืองมุกดาหารบุรี (บังมุก) ผู้เป็นพระญาติใกล้ชิด ส่วนตำแหน่งเจ้าราชวงศ์นครจำปาศักดิ์เมื่อว่างลงแล้วนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพิมพิสาร (บัวระพันธ์) พระโอรสในเจ้านุด พระราชนัดดาในเจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย หรือ พรหมาน้อย) รับตำแหน่งสืบไป[5]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)