ผลงาน ของ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์

เสด็จราชการทัพศึกฮ่อ

ขอตั้งเมืองชานุมานมลฑลและเมืองพนานิคม

รวบรวมตำนานเมืองจำปาศักดิ์

เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ทรงเป็นเจ้านายลาวพระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการค้นคว้า และรวบรวมตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ร่วมกันกับเจ้าราชวงษ์ผู้เป็นเจ้านายลาวจากนครจำปาศักดิ์ ตำนานนี้ถูกรวบรวมไว้ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐ เรียกว่า ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ฉะบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ และเจ้าราชวงศ์ ดังปรากฏความในตอนต้นของตำนานว่า

...วัน ๔ เดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๓ ปีระกาตรีศกศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับปีคฤสตศักราช ๑๘๖๑ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชชกาลที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์อันนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมราชมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรเมธรรหิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์อันนี้ มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งพระศรีสุนทรโวหารเจ้ากรมพระอาลักษณ์ และเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์เจ้าเมืองอุบลราชธานี และเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์เก่า ซึ่งเป็นโทษต้องถอดออกนอกราชการค้างอยู่นานในกรุงเทพมหานคร มารวบรวมพงศาวดารเก่าของเมืองนครจำปาศักดิ์ และรวบรวมจดหมายเหตุเก่าใหม่มีใน ๔ แผ่นดินมาเลือกเอาความตามสมควร แล้วเรียงเรื่องพระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกเอกอุดมลงไว้ เพื่อจะให้ผู้อ่านได้ทราบความเดิม ตามเหตุที่มีจริงเป็นจริงดังจะกล่าวไปนี้...

ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ฉบับนี้ ได้ถูกนำมาอ้างอิงทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ลาวและประวัติศาสตร์อีสานอยู่บ่อยครั้งในวงการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน[7]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)