การทำงาน ของ เจ้าวงศ์_แสนศิริพันธุ์

กิจการไม้สัก

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เริ่มทำงานเป็นสมุหบัญชีที่ห้างอิสต์เอเชียทีค บริษัทที่ได้รับสัมปทานป่าไม้เขตภาคเหนือ เมื่อศึกษาวิธีการทำงานและบริหารงานจนชำนาญแล้วจึงได้ลาออกมาประกอบอาชีพค้าไม้สัก เป็นผู้รับเหมางานจากห้างอิสต์เอเชียทีค และห้างบอมเบย์เบอร์มา อาชีพทำสัปทานไม้ท่านทำให้มีช้างใช้ในงานถึง 100 เชือก และรถลากไม้ไม่น้อยกวา 40 คัน ทำสัปทานไม้สักทั้งในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้ จนร่ำรวยมหาศาล

ต่อมาท่านได้เลิกกิจการค้าไม้สักแล้วหันมาทำธุรกิจโรงบ่มใบยาสูบและไร่ยาสูบ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้เลิกกิจการ แล้วหันมาประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ เช่น ปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ซึ่งเป็นสวนผลไม้รสดีแห่งเดียวในจังหวัดแพร่

งานการเมือง

ในปี พ.ศ. 2476 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 ซึ่งให้ราษฎรเลือกตัวแทนตำบลละ 1 คน จากนั้นก็ให้ตัวแทนตำบลมาเลือกกันเอง ปรากฏว่าเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่[4][5][1] ขณะอายุได้ 32 ปี

กิจการสาธารณะ

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ มิได้แตกต่างจากบิดาของท่านในเรื่องการศาสนา ท่านได้บริจาครถยนต์ให้วัดพระบาทมิ่งเมือง บริจาคไม้สัก เงินทอง สร้างวัด โรงเรียน ศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร อยู่อย่างสม่ำเสมอ ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงสนับสนุนลูกหลานให้เรียนชั้นสูงสุดถึงมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนป่าไม้) เป็นจำนวนมาก

ใกล้เคียง

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี เจ้าวรญาณรังษี เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง เจ้าวาสนา ภู่วุฒิกุล เจ้าวิธูร เจ้าวิชัย