พระกรณียกิจ ของ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช

สร้างคุ้มหลวงนครน่าน

ไฟล์:พระนครเมืองน่าน.jpgรูปหอคำคุ้มหลวงนครน่าน สร้างในรัชสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ

คุ้มหลวงพระเจ้านครน่านหรือ “หอคำเมืองน่าน” หอคำคุ้มหลวงนครน่านตรงใจกลางเมืองเป็นที่อยู่ของเจ้าผู้ครองนคร เรียกว่าคุ้มหลวงและหอคำ “ คุ้ม” ตรงกับภาษาไทยใต้เรียกว่า “ วัง” คุ้มหลวง ก็คือวังใหญ่นั่นเอง และ “ หอคำ” นั้นตรงกับภาษาไทยใต้เรียกว่า “ ตำหนักทอง” อันสร้างขึ้นไว้ในบริเวณคุ้มหลวงเป็นเครื่องประดับเกียรติยศของเจ้าผู้ครองนครบรรดาเมืองประเทศราชในลานนาไทยทั้งปวง ย่อมมีบริเวณที่คุ้มหลวงสำหรับเมือง ใครได้เป็นเจ้าเมืองจะเป็นโดยได้สืบทายาทหรือไม่ก็ตาม ย่อมย้ายจากบ้านเดิมไปอยู่ในคุ้มหลวง แต่ส่วนเหย้าเรือนในคุ้มหลวงนั้นแต่ก่อนสร้างเป็นเครื่องไม้ ถ้าเจ้าเมืองคนใหม่ไม่พอใจจะอยู่ร่วมเรือนกับเจ้าเมืองคนเก่าก็ย่อมจะให้ รื้อถอนเอาไปปลูกถวายวัด ( ยังปรากฏเป็นกุฏิวิหารของวัดที่เมืองน่านบางแห่ง ) แล้วสั่งกะเกณฑ์ให้สร้างเรือนขึ้นอยู่ตามชอบใจของตน ส่วนหอคำนั้น มิได้มีทุกเมืองประเทศราช เพราะหอคำหลวง เป็นเครื่องประดับพระเกียรติพิเศษ สำหรับตัวเจ้าผู้ครองนคร ต่อเจ้าผู้ครองเมืองคนใดได้รับเกียรติเศษสูงกว่าเจ้าผู้ครองเมืองโดยสามัญ ก็สร้างหอคำขึ้งเป็นที่อยู่เฉลิมพระเกียรติยศ

หอคำหลวงเมืองน่าน สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2399 - 2400 ในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ปรากฏในพงศาวดารเมืองน่าน ว่าเมื่อพระยาอนันตยศ ย้ายกลับมาตั้งอยู่ ที่เมืองเก่าแล้ว ต่อมาอีกปีหนึ่งคือปี พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาอนันตยศเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน มีพระเกียรติยศสูงกว่าเจ้าเมืองน่านคนก่อนๆ ซึ่งเคยมียศเป็นแต่พระยา ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชจึงสร้างหอคำขึ้นและให้เปลี่ยนชื่อคุ้มหลวงว่า “ คุ้มแก้ว” เพื่อให้วิเศษเป็นตามลักษณะของหอคำ

หอคำหลวง ที่สร้างขึ้นในครั้งนั้น เป็นอาคารไม้สักผสมไม้ตะเคียน หลังคาเป็นทรงจั่ว มุงกระเบื้องไม้แป้นเกล็ด ประดับช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ตามแบบศิลปะพื้นบ้านเมืองน่าน มีบันไดทางขึ้นสองด้าน มีกำแพงอิฐทั้งสี่ด้าน เป็นตัวเรือนรวมอยู่ในคุ้มแก้ว 7 หลัง โดยเฉพาะตัวเรือนที่เป็นหอคำมีห้องโถงใหญ่ นับว่าเป็นทำนองท้องพระโรงสำหรับเป็นที่ว่าราชการ

  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน ได้โปรดให้รื้อลงและสร้างหอคำขึ้นใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกผสมล้านนา ซึ่งปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน สมุดภาพปักปันเขตแดน ร.ศ. 124 โดยกรมการปกครอง

ด้านการเมือง

เจ้าอนันตวฤทธิเดช ได้ตรากฎหมายสำคัญสูงสุดสำหรับใช้ปกครองในอาณาจักรน่าน คือ '''กฎหมายอาณาจักรหลักคำของเจ้ามหาชีวิต''' ซึ่งเป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลจากคำสอนในพระพุทธศาสนา และมีความเชื่อตามจารีตประเพณี เช่น การแอ่วสาว หรือการเสียผี กฎหมายเจ้ามหาชีวิต มีการตราบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน โดยบทลงโทษสูงสุด คือ ประหารชีวิต กฎหมายควบคุมไปถึงวิถีชีวิต การประกอบการค้า ใช้ปกครองเมืองน่านต่อมา จนถึงคราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 เมืองน่านจึงมาใช้กฎหมายฉบับเดียวกันกับสยาม

ด้านศาสนา

เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2396 - พ.ศ. 2436 พระองค์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในพระอาณาจักรเมืองน่าน ทั้งการสร้างวิหาร วัด พระพุทธรูป รวมไปถึงการอุปถัมภ์การบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอาราม ต่างๆใน พระอาณาจักรนครเมืองน่าน ดังนี้

  1. บูรณะวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
  2. สร้างและบูรณะวิหารวัดกู่คำ
  3. พ.ศ. 2395 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดศรีพันต้น
  4. พ.ศ. 2400 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดมิ่งเมือง
  5. สร้างวัดนาปัง
  6. สร้างพระธาตุขิงแดง
  7. สร้างพระธาตุเจ้าจอมทอง เมืองปง
  8. สร้างพระธาตุเจ้าหนองบัว เมืองไชยพรหม
  9. สร้างวิหารวัดดอนไชย เมืองศรีสะเกษ (อยู่ในเขตอำเภอนาน้อย)
  10. พ.ศ. 2410 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวงวัดภูมินทร์
  11. สร้างพระธาตุเจ้าวัดพระยาภู
  12. สร้างพระธาตุเจ้าจอมจ๊อ เมืองเทิง
  13. สร้างพระธาตุเจ้าเมืองอินทร์
  14. สร้างพระธาตุเจ้าสบแวน เมืองเชียงคำ
  15. สร้างพระธาตุเจ้าเป็งสกัด เมืองปัว
  16. สร้างหอพระธรรม คุ้มหลวงนครน่าน
  17. สร้างวิหารวัดม่วงติ๊ด
  18. บูรณะวิหารและอุโบสถวัดสวนตาล
  19. บูรณะวิหาร และบูรณะพระธาตุวัดดอยเขาแก้ว (วัดเขาน้อย)
  20. สร้างวัดมณเฑียร
  21. ใส่ยอดฉัตรพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง
  22. สร้างวัดหัวข่วง
  23. บูรณะพระอุโบสถวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


นอกจากนี้ ยังได้สร้างธรรมนิทานชาดก และจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน รวมได้ 335 คัมภีร์ นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่าง ๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองพะเยา เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง

ย้ายเมืองน่าน

ในปี พ.ศ. 2397 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครมืองน่าน ได้ย้ายเมืองน่าน จากดงพระเนตรช้างกลับมาอยู่ที่หัวเวียงใต้ หรือเมืองน่านในปัจจุบัน และให้ซ่อมกำแพงเมืองให้มั่นคง โดยสร้างเป็นกำแพงอิฐ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2400 ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าออกสู่แม่น้ำน่าน ตัวกำแพงก่ออิฐถือปูนประดับใบเสมา ตั้งอยู่บนเชิงเทิน ซุ้มประตูและป้อมเป็นทรงเรือนยอด กำแพงสูงประมาณ 6 เมตร เชิงเทินกว้าง 2.20 เมตร ใบเสมากว้าง 1 เมตร ยาว 0.90 เมตร สูง 1.20 เมตร ความสูงจากเชิงเทินถึงใบเสมาประมาณ 2 เมตร [7]

  • กำแพงด้านทิศเหนือ มีความยาวประมาณ 900 เมตร มีสองประตูคือ ประตูริม และประตูอุญญาณ
    • ประตูริม เป็นประตูเมืองที่ออกเดินทางสู่เมืองขึ้นของนครน่านทางภาคเหนือ เช่น เมืองเชียงคำ เมืองเทิง และเมืองเชียงของ เป็นต้น
    • ประตูอมร เป็นประตูที่เจาะขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2450
  • กำแพงด้านทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 650 เมตร มีสองประตูคือ ประตูชัย และประตูน้ำเข้ม
    • ประตูชัย เป็นประตูที่เจ้าผู้ครองนคร และเจ้านายชั้นสูงใช้ในการเดินทางชลมาร์คไปกรุงเทพฯ
    • ประตูน้ำเข้ม ใช้สำหรับติดต่อค้าขายทางน้ำ และเป็นประตูเข้าออกสู่แม่น้ำน่านของประชาชนทั่วไป
  • กำแพงด้านทิศใต้ มีความยาวประมาณ 1,400 เมตร มีสองประตู
    • ประตูเชียงใหม่ เป็นประตูเมืองที่เดินทางไปสู่ต่างเมือง โดยเฉพาะนครเชียงใหม่
    • ประตูท่าลี่ เป็นประตูที่นำศพออกไปเผานอกเมือง ณ สุสานหลวงดอนไชย
  • กำแพงด้านทิศตะวันตก มีความยาวประมาณ 950 เมตร มีประตูปล่องน้ำ
    • ประตูปล่องน้ำ ใช้ในการระบายน้ำจากตัวเมืองออกสู่ด้านนอก
    • ประตูหนองห้า เป็นประตูสำหรับคนในเมืองออกไปทำไร่ทำนาในทุ่งกว้าง และใช้ขนผลผลิตเข้ามาในเมือง

ลักษณะของประตูเมือง ทำเป็นซุ้มบานประตูเป็นไม้ หลังคาประตูเป็นทรงเรือนยอดสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น มีป้อมอยู่เพียงสามป้อมอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันตกเฉียงใต้ เป็นป้อมแปดเหลี่ยม หลังคาทรงเรือนยอดซ้อนกันสองชั้น หลังคาชั้นแรกเป็นทรงแปดเหลี่ยม ชั้นที่สองเป็นทรงสี่เหลี่ยม

ใกล้เคียง

เจ้าอนุวงศ์ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าอุบลวรรณา เจ้าอาวาส เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน) เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่