อาณาจักรหลักคำเมืองน่าน ของ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช

อาณาจักรหลักคำ เป็นกฎหมายโบราณที่ใช้ปกครองตนเองของเมืองน่าน และเมืองที่อยู่ในเขตปกครองของเมืองน่าน ในช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2395 ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ และได้ใช้ต่อมาจนถึง ปี พ.ศ. 2439 ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ

ไฟล์:อาณาจักรหลักคำนครเมืองน่าน.jpgอาณาจักรหลักคำ กฎหมายพระเจ้าน่าน ในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ

อาณาจักรหลักคำเขียนด้วยตัวอักษรล้านนา เป็นกฎหมายที่เน้นให้เห็นระเบียบปฏิบัติขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ข้อห้าม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันเป็นการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังแสดงให้ทราบถึงขอบเขตการปกครองของเมืองนั้น

กฎหมายสำคัญที่ลงโทษหนักคือการลักควาย ระบุโทษไว้ว่า ผู้ลักควายไปฆ่ากินจะถูกลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต เพื่อมิให้เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินต่อไป

กฎหมายที่รักษาธรรมชาติแวดล้อมอันเป็นสาธารณสมบัติ เช่น ห้ามฟันไร่บริเวณต้นน้ำ และริมแม่น้ำ อันเป็นแหล่งกำเนิด และนำน้ำเข้าสู่ไร่นา ใครทำผิดจะถูกคุมขัง เฆี่ยนหลัง 30 แส้ และปรับเงิน 330 น้ำผ่า นอกจากนั้นยังมีกฎหมายห้ามฆ่าค้างคาวในถ้ำ ห้ามเบื่อปลาในน้ำ และห้ามตัดต้นไม้บางชนิด

กฎหมายที่ควบคุมไม่ให้คนยากไร้ถูกขูดรีด เช่นการคิดดอกเบี้ยไม่ว่าจะเป็นเงินตรา หรือข้าวก็ตาม จะต้องมีระยะเวลากู้ถึงสามปี จึงคิดดอกเบี้ยได้ ถ้ากู้นานถึง 9 ปี 10 ปี ก็ให้เอาดอกเบี้ยเท่าเงินต้นเท่านั้น จะมากไปกว่านั้นไม่ได้ และการกำหนดเอาตัวลูกหนี้ให้มีสภาพเป็นทาส จะต้องมีหนี้สินที่มีมูลค่าตั้งแต่ 300 ดอก(มาตราเงิน) ขึ้นไป เป็นต้น

อาณาจักรหลักคำเป็นกฎหมายที่ใช้ในเมืองน่าน และเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นเมืองน่าน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2396 ถึง พ.ศ. 2451 จึงได้ยกเลิกและมาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127

ใกล้เคียง

เจ้าอนุวงศ์ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าอุบลวรรณา เจ้าอาวาส เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน) เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่