สิ่งที่ตามมา ของ เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา:_อะลิงก์ทูเดอะแพสต์

ห้องลับของ คริส โฮลิฮาน

นินเทนโดเพาเวอร์ได้มีการแข่งขันสุ่มรายชื่อเพื่อนำไปใช้เป็นชื่อห้องลับในเกมเซลด้าภาคล่าสุด ซึ่งเป็นห้องเดี่ยวๆที่มีเงินรูปีอยู่ การที่จะเข้าไปในห้องนี้ได้นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี และห้องนี้ยังไว้ใช้สำหรับการป้องกันความผิดพลาดของเกม เมื่อโปรแกรมไม่สามารถคำนวณได้ว่าผู้เล่นจะไปโผล่ที่ไหนเวลาเปลี่ยนพื้นที่ ภายในห้องนั้นจะมีคำทักทายจากผู้โชคดีที่ชนะการสุ่มรายชื่อว่า "ฉันชื่อคริส โฮลิฮาน นี้เป็นห้องลับสุดยอดของฉัน เก็บเรื่องนี้ไว้ระหว่างเราสองคนนะ โอเค?" ห้องลับนี้ถูกค้นพบเป็นเวลาสิบกว่าปีหลังจากที่เกมออกวางจำหน่าย โดยในเวอร์ชัน GBA ห้องนี้จะถูกเอาออกไป ถึงแม้จะว่ามีโค้ดโปรแกรมอยู่ในเกมก็ตาม ในขณะที่เวอร์ชัน Virtual Console นั้นจะยังคงสามารถเข้าห้องได้เหมือนเดิม GamesRadar ได้ยกย่องห้องลับนี้ว่าเป็นหนึ่งใน Easter eggs ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวิดีโอเกมและยังอยู่ในรายชื่อ"9 ความลับในวิดีโอเกมที่เกือบไม่ถูกค้นพบ" อีกด้วย

คอมมิก

หนังสือคอมมิคจากเกม อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ ซึ่งวาดโดยโชตาโร่ อิชิโนโมริ(Shotaro Ishinomori) ได้ถูกตีพิมพ์ใน นิตยสารนินเทนโด เพาเวอร์ทั้งหมด 12 ตอนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมปี 1992 และได้ตีพิมพ์อีกครั้งในปี 1993 ในแบบปกอ่อน โดยคอมมิคจะมีการเปลี่ยนแปลงจากตัวเกมค่อนข้างเยอะ ทั้งพล็อตเรื่องและตัวละครที่เพิ่มเข้ามา

นอกจากนั้น ยังมีการ์ตูนอีกสองฉบับที่ตีพิมพ์ในญี่ปุ่น คือ

-ฉบับของ อาตารุ คากิวะ(Ataru Cagiva) ตีพิมพ์ในช่วงปี 1995-1996 ใน Enix Corporation's Monthly GFantasy และรวมเป็นสามเล่มจบในภายหลัง

-ฉบับของอากิระ ฮิเมกาว่า เป็นแบบเล่มเดียวจบซึ่งตีพิมพ์ในปี 2005 ช่วงเดียวกับการวางขายเกมเวอร์ชัน GBA

โดยที่ทั้งสองเวอร์ชันจะมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงเกมมากขึ้น และยังมีตัวละครใหม่นามว่า "Ghanti" โจรสาวผู้มีเขาปีศาจและมีรอยรูปดาวอยู่ใต้ดวงตาของเธอ

เกมที่เกี่ยวข้อง

อะลิงก์ทูเดอะพาสต์เวอร์ชันฝรั่งเศสได้วางขายในแคนาดา (ทำให้เป็นเกม SNES ภาษาฝรั่งเศสเพียงเกมเดียวที่วางขายในอเมริกา) โดยตัวเกมนั้นเหมือนต้นฉบับทุกประการ ยกเว้นภาษาที่เปลี่ยนไป อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ได้วางขายอีกครั้งใน Virtual Console ของ Wii Shop Channel ในวันที่ 2 ธันวาคม 2006 ในญี่ปุ่น และ 22 มกราคม 2007 ในอเมริกา ในราคา 800 วีพ้อยน์ หรือ 8 ดอลลาร์ โดยเวอร์ชันอังกฤษนั้นมีลักษณะใกล้เคียงฉบับ SNES อย่างมากโดยไม่มีอะไรเพิ่มเติมเหมือนเวอร์ชัน GBA และในภาคต่อ ลิงก์อเวกเคนนิ่งในปี 1993 ก็ได้ใช้เกมเพลย์หลายๆอย่างจากภาคนี้

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 1997 อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ฉบับ Satellaview ได้ให้เปิดบริการ โดยเป็นเกมที่เปิดบริการบ่อยกว่าเกมเซลด้าเกมอื่นๆและเป็นเกมเดียวที่เปิดบริการโดยบริษัท St.GIGA หลังจากหมดสัญญากับนินเทนโดในปี 1999 อีกทั้งยังเป็นเกมเดียวในกลุ่มเกมเซลด้าที่เปิดให้บริการที่รองรับระบบ SoundLink อีกด้วย

ในปี 2011 ชิเงรุ มิยาโมโตะได้บอกถึงความต้องการที่จะรีเมคอะลิงก์ทูเดอะพาสต์ลง 3DS และในปี 2013 นินเทนโดได้ประกาศใน Nintendo Direct ว่ากำลังพัฒนาเกมใหม่ที่อยู่ใช้โลกเดียวกับอะลิงก์ทูเดอะพาสต์สำหรับ 3DS อยู่ โดยจะมีระบบภาพ 3D เพิ่มเติมเข้ามา

นอกจากนั้น อะลิงก์ทูเดอะพาสต์ยังเป็นเกมที่ถูกนำไปปรับแต่งเยอะมากผ่านเหล่าแฟนๆเกม อย่างเช่น เดอะเลเจนด์ออฟเซลด้า: พาราเลล เวิร์ลด์ส

Inishie no Sekiban

ในปี 1997 ได้มีการวางจำหน่ายเกม Zelda no Densetsu: Inishie no Sekiban (อังกฤษคือ "BS The Legend of Zelda: Ancient Stone Tablets" หรือ "Stone Tablets of Antiquity") ในญี่ปุ่น ซึ่งมีการออกแบบเฉพาะสำหรับ Super Famicom โดยผ่านระบบเสียงออกอากาศที่เรียกว่า SoundLink โดยเกมนี้ดำเนินเนื้อเรื่องเป็นเวลา 6 ปีหลังจากอะลิงก์ทูเดอะพาสต์ ณ โลกแห่งแสง โดยเราสามารถสร้างตัวละครเองขึ้นมาได้เหมือน BS Zelda no Densetsu ซึ่งเกมนี้ได้ออกมาเป็นตอนประจำสัปดาห์ 4 ตอนโดยต้องเล่นแบบถ่ายทอดสดโดยจะมีคำพูดแนะนำผ่านระบบ SoundLink ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ ผู้เล่นจะเดินสำรวจได้เพียงบางฉากและสามารถเข้าดันเจี้ยนได้เพียงสองแห่งเท่านั้น ซึ่งการที่แต่ละตอนจะจบนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเวลาหมดเท่านั้น ไม่ขึ้นอยู่กับผู้เล่นว่าจะเล่นจบภารกิจหรือไม่ และเกมนี้สามารถเล่นได้เฉพาะบางเวลาเท่านั้นเนื่องมาจากระบบ SoundLink ที่เป็นหัวใจหลักของเกมถูกเซตเวลาตามระบบดาวเทียม

อะลิงก์ทูเดอะพาสต์แอนด์โฟร์ซอร์ด

เกม A link to the past ได้วางจำหน่ายอีกครั้งใน GBA เมื่อปี 2002 ณ อเมริกาเหนือและปี 2003 ณ ภูมิภาคอื่นๆ ในรูปแบบ The Legend of Zelda: A Link to the Past and Four Swords ผลงานการร่วมพัฒนาระหว่าง Nintendo และ Capcom โดยในส่วน A link to the past นั้น จะมีการเปลี่บนแปลงเล็กน้อย เช่น เสียงร้องและเสียงเอฟเฟคจาก Ocarina of Time และ Majora's Mask เป็นต้น ส่วน Four Swords นั้นเป็นภาคเน้นมัลติเพลย์เยอร์ที่สามารถผสมผสานกับการเล่นแบบซิงเกิลเพลย์เยอร์ได้อย่างดี โดยที่ตัวเกมจะปรับปริศนาให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เล่น อีกทั้งยังมีกิมมิคเล็กๆระหว่างเกมทั้งสอง(A link to the past และ Four Swords)อีกด้วย

Four Swords จะดำเนินเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพ่อมดแห่งสายลมนามว่าวาเอติ ซึ่งหนีออกมาจากผนึกในจตุดาบ(Four Swords)และจับตัวเจ้าหญิงเซลด้าเพื่อนำไปแต่งงาน ลิงก์ต้องใช้จตุดาบเพื่อสร้างร่างก๊อปปี้ขึ้นมาอีกสามคน เพื่อไปช่วยเจ้าหญิง และผนึกวาเอติอีกครั้งหนึ่ง

ณ เวลาที่วางจำหน่ายนั้น เรื่องราวของ Four Swords ถือเป็นเรื่องราวที่เก่าแก่ที่สุดในไทม์ไลน์ของซีรีส์

อะลิงก์บีทวินเดอะเวิร์ลด์ส

ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2013 นินเทนโดได้วางจำหน่าย The Legend of Zelda: A Link Between Worlds ซึ่งใช้โลกเดียวกับ A link to the past แต่เป็นเรื่องราวใหม่ มีปริศนาใหม่ๆและดันเจี้ยนคล้ายแบบต้นฉบับ โดยจะมีการเล่นความสูงความลึกของภาพผ่าน 3D feature ของ 3DS แต่ก็ยังคงมุมมองแบบเดิมจาก A link to the past

IGN ได้ให้คะแนนเกมนี้ 9.4 เต็ม 10

ใกล้เคียง

เดอะเยอร์ส เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 3 เดอะเฟซเมนไทยแลนด์ ซีซัน 2 เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 4 เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 1 เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2 เดอะเฟซเมนไทยแลนด์ ซีซัน 3 เดอะเฟซเมนไทยแลนด์ ซีซัน 1 เดอะเฟซไทยแลนด์ เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 5