ผลกระทบ ของ เทือกเขากลางสมุทร

แผ่นเปลือกโลกตามการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

อัลเฟรด เวเกเนอร์ได้เสนอทฤษฎีทวีปเคลื่อนในปี ค.ศ. 1912 อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักธรณีวิทยา เนื่องจากไม่มีคำอธิบายถึงกลไกลที่ว่าทวีปสามารถลู่ไถลไปบนแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรได้อย่างไร และทฤษฎีนี้ก็ถูกลืมเลือนไป

ภายหลังการค้นพบเทือกเขากลางสมุทรในทศวรรษที่ 1950 บรรดานักธรณีวิทยาก็ต้องเผชิญกับภารกิจใหม่ที่จะต้องอธิบายว่าโครงสร้างทางธรณีวิทยาอย่างเทือกเขากลางสมุทรนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในทศวรรษที่ 1960 นักธรณีวิทยาได้มีการค้นพบและมีการนำเสนอกลไกลของการแยกแผ่ออกไปของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร เพลตเทคโทนิกเป็นการอธิบายที่เหมาะสมในเรื่องของการแยกแผ่ออกไปของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรและการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเรื่องเพลตเทคโทนิกของนักธรณีวิทยานี้ยังผลทำให้ถูกใช้เป็นแบบฉบับในการคิดในทางธรณีวิทยา

มีการประมาณการกันว่าปีหนึ่ง ๆ จะมีการปะทุของภูเขาไฟถึง 20 ครั้งตามแนวเทือกเขากลางสมุทรของโลกและทุก ๆ ปีจะเกิดพื้นท้องทะเลใหม่เพิ่มเติมขึ้นประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตรจากกระบวนการนี้ กล่าวคือจะมีการเกิดเปลือกโลกหนา 1 ถึง 2 กิโลเมตรหรือคิดเป็นปริมาตรประมาณ 4 ลูกบาศก์กิโลเมตรเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาแอลป์ เทือกเขาแอนดีส เทือกเขาคุนหลุน เทือกเขากลางสมุทร เทือกเขาคาร์เพเทียน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาฆาฏตะวันตก