ลักษณะสัณฐาน ของ เทือกเขากลางสมุทร

ในทางธรณีวิทยาแล้วเทือกเขากลางสมุทรนั้นมีพลังด้วยการมีหินหนืดใหม่ ๆ ถูกดันตัวขึ้นมาบนพื้นมหาสมุทรและเข้าไปในชั้นเปลือกโลกบริเวณใกล้ ๆ กับแนวสันกลาง หินหนืดที่เย็นตัวลงจะตกผลึกเกิดเป็นเปลือกโลกใหม่ของหินบะซอลต์และแกรโบร

หินที่ประกอบเป็นชั้นเปลือกโลกใต้พื้นท้องทะเลจะมีอายุอ่อนที่สุดตรงบริเวณสันกลางและอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะทางจากแนวสันกลางออกไป หินหนืดที่มีองค์ประกอบเป็นหินบะซอลต์ได้ดันตัวขึ้นมาที่แนวสันกลางเพราะว่าหินอัคนีด้านใต้จากชั้นเนื้อโลกมีการหลอมเหลวและขยายตัว[2]

เปลือกโลกใต้มหาสมุทรประกอบไปด้วยหินที่มีอายุอ่อนกว่าอายุของโลกมาก โดยชั้นเปลือกโลกทั้งหมดในแอ่งมหาสมุทรจะมีอายุอ่อนกว่า 200 ล้านปี เปลือกโลกมีการเกิดขึ้นใหม่ในอัตราคงที่ที่สันกลางสมุทร การเคลื่อนที่ออกจากเทือกเขากลางสมุทรทำให้ความลึกของมหาสมุทรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนที่ลึกที่สุดคือร่องลึกก้นสมุทร ขณะที่ชั้นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากสันกลางนั้น หินเพริโดไทต์ในชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านใต้เกิดการเย็นตัวลงมีสภาพที่แข็งแกร่งขึ้น ชั้นเปลือกโลกและหินเพริโดไทต์ที่อยู่ด้านใต้นี้ทำให้เกิดธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทร

ใกล้เคียง

เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาแอลป์ เทือกเขาแอนดีส เทือกเขาคุนหลุน เทือกเขากลางสมุทร เทือกเขาคาร์เพเทียน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาฆาฏตะวันตก