ประวัติ ของ เนปาลแอร์ไลน์

การให้บริการช่วงแรก (คริสต์ทศวรรษ 1950–1960)

เครื่องบิน HS.748 ของสายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ ในปี ค.ศ. 1974

สายการบินก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1958 ภายใต้ชื่อ รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ พร้อมเครื่องบินรุ่นแรก ดักลาส ดีซี-3 ให้บริการเที่ยวบินไปยังเมือง Simara, Pokhara, Biratnagar และบางเมืองในประเทศอินเดีย ได้แก่ ปัฏนา, โกลกาตาและเดลี ต่อมาปี ค.ศ. 1961 ได้ซื้อเครื่องบิน ปิลาตุส ปอร์เตอร์ และในปี ค.ศ. 1963 ได้ซื้อเครื่องบิน Fong Shou-2 Harvester จากประเทศจีน[5]

เครื่องบินอันทันสมัยได้ถูกนำเพิ่มเข้ามาเรื่อย ๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1959-1964 ได้สั่งซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-3 อีกเจ็ดลำ นอกจากนี้ จีนยังให้เครื่องบินอานโตนอฟ อาน-2 อีกสองลำ และยังเช่าเบลเฮลิคอปเตอร์ จากสิงคโปร์ด้วย เที่ยวบินระหว่างประเทศได้ขยายไปเรื่อย ๆ จนมีเที่ยวบินไปถึงกรุงธากา เมืองหลวงของปากีสถานตะวันออก (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ)[6]

ในปี ค.ศ. 1966 เครื่องบินเทอร์โบ Fokker F27 ถูกเพิ่มเข้าฝูงบิน

ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (คริสต์ทศวรรษ 1970–1980)

ต่อมา สายการบินยังได้สั่งซื้อเครื่องบินเพิ่ม ดังนี้ BAe Avro-748 (ค.ศ. 1970), ทวิน ออตเตอร์ (ค.ศ. 1971), โบอิง 727 (ค.ศ. 1972; ต่อมาถูกแทนที่ด้วยโบอิง 757 สองลำ ในปี ค.ศ. 1987) [5]

รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ โบอิง 727-200

ส่งผลให้เนปาลมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 181,000 คน (สถิติ ค.ศ. 1985) โดยร้อยละ 80 เดินทางทางอากาศ และร้อยละ 38 เดินทางกับสายการบินรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ แต่จำนวนนี้ได้ลดลงจากสถิติเดิม (ค.ศ. 1979) ร้อยละ 50 คู่แข่งของสายการบินนี้คืออินเดียนแอร์ไลน์ สายการบินใหม่ ๆ อาทิเช่น ลุฟต์ฮันซาของเยอรมนี ก็ได้เปิดเที่ยวบินตรง กาฐมาณฑุ-แฟรงก์เฟิร์ต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1987

ในเวลานั้น รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ มีจุดหมายปลายทางในประเทศ 38 แห่ง ระหว่างประเทศ 10 แห่ง ต่อมาได้เปิดเที่ยวบินไปฮ่องกงในปี ค.ศ. 1988 (ใช้โบอิง 757) ต่อมาเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 ได้เปิดเที่ยวบินไปกรุงลาซาในเขตปกครองตนเองทิเบต[6]

รอยัลเนปาลแอร์ไลน์ มีรายได้ 54.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี ค.ศ. 1988—89 ทำกำไรได้ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมลูกเรือ 2,200 คน และได้กลายบริษัทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเนปาล ผู้โดยสารร้อยละ 75 เป็นนักท่องเที่ยว จากผลความสำเร็วนี้ ทำให้มีการเปิดเที่ยวบินใหม่ไปยังลอนดอน, ดูไบ และการาจี[6]

ตกต่ำ (คริสต์ทศวรรษ 1990–2000)

ในช่วงปี ค.ศ. 1992 มีสายการบินในประเทศเกิดขึ้นมาก อาทิเช่น Necon Air, เนปาลแอร์เวย์, เอเวอเรสต์แอร์, บุดด้าแอร์, เยติแอร์ไลน์, สีดาแอร์ และในปี ค.ศ. 1997 ร้อยละ 70 ของเที่ยวบินในประเทศ มาจากสายการบินคู่แข่งเหล่านี้[7] การก่อตั้งของสายการบินใหม่ ๆ ทำให้เกิดช่องว่างที่เป็นปัญหาของรอยัลเนปาลแอร์ไลน์ คือคอรัปชัน[6]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 มีเรื่องอื้อฉาวจากการเช่าโบอิง 767จากออสเตรีย ซึ่งแฝงด้วยการประท้องของเหล่าลูกจ้างกับรัฐบาล ทำให้เกิดการกล่าวหาว่า สายการบินไม่ยอมใช้เครื่องบินโบอิง 757 ให้เกิดประโยชน์เพียงพอ ผู้บริหารได้ถูกพักงานระหว่างสอบสวน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินได้ถูกปลดเกษียณ[6] และในปี ค.ศ. 2004 มีการรายงานว่า รัฐบาลเนปาล ได้แบ่งงาน 49% ของเนปาลแอร์ไลน์ ให้เอกชนดำเนินการ ส่งผลให้เกิดหนี้สินจำนวนหนึ่ง[8] ต่อมา ผู้บริหารเก่าของสายการบิน Ramagya Chaturvedi ถูกจับในข้อหาคอรัปชันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005.[9]

เครื่องบิน Xian MA60 พร้อมลายใหม่ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน (พฤศจิกายน ค.ศ. 2014)

ในปี ค.ศ. 2009 ที่งานดูไบแอร์โชว์ สายการบินเนปาลแอร์ไลน์ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน แอร์บัส เอ 320-200 สองลำ ซึ่งจะใช้ในเที่ยวบินไปยังตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เนปาลแอร์ไลน์ http://www.ch-aviation.ch/aircraft.php?search=set&... http://www.airbus.com/newsevents/news-events-singl... http://atwonline.com/safety/nepal-carriers-added-e... http://www.atwonline.com/news/story.html?storyID=1... http://avherald.com/h?article=46259f57&opt=0 http://avherald.com/h?article=47016e9c&opt=0 http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1994/1... http://www.fundinguniverse.com/company-histories/r... http://timesofindia.indiatimes.com/world/europe/EU... http://livelitt.com/nepal-airlines/