เดินทางรอบโลก ของ เนลลี_บลาย

ใน ค.ศ. 1888 บลายเสนอแก่บรรณาธิการของเธอที่นิวยอร์กเวิลด์ ว่า เธอจะเดินทางรอบโลก โดยพยายามทำให้นวนิยาย 80 วันรอบโลก เป็นจริงครั้งแรก หนึ่งปีให้หลัง เมื่อเวลา 9.40 น. ของวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 และด้วยการแจ้งล่วงหน้าสองวัน[1] เธอขึ้นเรือกลไฟ ออกัสตา วิกตอเรีย ของฮัมบวร์คอเมริกาไลน์[2] และเริ่มการเดินทางยาว 24,899 ไมล์ของเธอ

สิ่งที่เธอนำติดตัวไปด้วยนั้นมีชุดกระโปรงที่เธอสวมอยู่ เสื้อคลุมใหญ่ทนทาน ชุดชั้นในหลายชิ้น และกระเป๋าเดินทางใบเล็กที่มีเครื่องแป้งของสำคัญของเธอ เธอนำเงินส่วนใหญ่ของเธอ (เป็นธนบัตรธนาคารอังกฤษและทองคำมูลค่ารวม 200 ปอนด์ และเงินตราอเมริกาบ้าง)[3] ในกระเป๋าที่ผูกไว้รอบคอของเธอ[4]

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก คอสโมโพลิแทน สนับสนุนผู้สื่อข่าวของตน เอลิซาเบธ บิสแลนด์ ให้เอาชนะเวลาของทั้งฟิเลียส ฟอกก์ และบลาย บิสแลนด์จะเดินทางไปยังทิศตรงข้ามรอบโลก[5][6]

ระหว่างที่เธอเดินทางไปทั่วโลกนั้น บลายเดินทางผ่านอังกฤษ, ฝรั่งเศส, บรินดิซิ, คลองสุเอซ, โคลัมโบ (ซีลอน), และนิคมช่องแคบปีนังและสิงคโปร์, ฮ่องกง และญี่ปุ่น การพัฒนาเครือข่ายเคเบิลใต้ทะเลที่มีประสิทธิภาพและโทรเลขไฟฟ้าทำให้บลายสามารถส่งรายงานความคืบหน้าสั้น ๆ ได้[7] แม้การส่งทางไกลยังต้องผ่านการไปรษณีย์ตามปกติ และดังนั้น มักล่าช้าไปหลายสัปดาห์[8]

บลายเดินทางโดยใช้เรือกลไฟและระบบทางรถไฟที่มีอยู่แล้ว[9] ซึ่งทำให้เกิดการถอยหลังเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันช่วงเอเชียของเธอ[10] ระหว่างการแวะพักเหล่านี้ เธอได้แวะนิคมโรคเรื้อนในจีน[11][12] และซื้อลิงตัวหนึ่งในสิงคโปร์[11][13]

ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้ายในระหว่างการข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก เธอจึงเดินทางถึงซานฟรานซิสโกด้วยเรือโดยสารโอเชียนิกของไวต์สตาร์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1890 สองวันหลังกำหนด[10][14] อย่างไรก็ดี พูลิตเซอร์ที่เวิลด์เป็นเจ้าของ เช่ารถไฟเอกชนเพื่อนำเธอกลับบ้าน และเธอกลับมายังนิวเจอร์ซีย์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1890 เวลา 15.51 น.[7]

เธอใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 72 วัน 6 ชั่วโมง 11 นาที 14 วินาที เธอเดินทางรอบโลกโดยแทบไม่มีเพื่อนร่วมทางเลย[2] ขณะนั้น บิสแลนด์ยังกำลังเดินทางรอบโลก เช่นเดียวกับบลาย เธอพลาดการเชื่อมโยงและจำต้องขึ้นเรือเก่าแล่นช้าแทนที่เรือเร็ว[1] การเดินทางของบลาย ขณะนั้น เป็นสถิติโลก แม้อีกไม่กี่เดือนให้หลังสถิตินี้จะถูกทำลายโดยจอร์จ แฟรนซิส เทรน ผู้เดินทางรอบโลกได้ในเวลา 67 วัน[15] ใน ค.ศ. 1913 อังเดร แจเกอร์ ชมิดท์, เฮนรี เฟรเดอริก และ จอห์น เฮนรี เมียร์ส ได้ทำลายสถิติต่อมา โดยคนหลังสุดเดินทางรอบโลกโดยใช้เวลาน้อยกว่า 36 วัน[16]