ประเภท ของ เนื้องอก

เนื้องอกอาจอยู่ในรูปแบบ เนื้องอกไม่ร้าย เนื้องอกอาจร้าย หรือ เนื้องอกร้าย (มะเร็ง)[7]

  • เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) รวมถึง เนื้องอกมดลูกและไฝเมลาโนไซต์ (ไฝมีสี) มีขอบเขต อยู่เฉพาะที่ และไม่กลายเป็นมะเร็ง[6]
  • เนื้องอกที่อาจกลายเป็นมะเร็ง ได้แก่ เนื้องอกเฉพาะที่ (carcinoma in situ) ซึ่งอยู่เฉพาะที่ ไม่บุกรุกและทำลาย ทว่าอาจกลายเป็นมะเร็งเมื่อเวลาผ่านไป
  • เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) หรือที่มักเรียกกันว่ามะเร็ง ซึ่งบุกรุกและทำลายเนื้อเยื่อรอบข้าง อาจแพร่กระจายและหากไม่ได้รับการรักษา หรือไม่ตอบสนองการรักษาอาจถึงตาย
  • เนื้องอกชนิดทุติยภูมิ หมายถึงเนื้องอกร้ายแบบใดก็ตามที่เป็นการแพร่กระจายของเนื้องอกชนิดปฐมภูมิ หรือเป็นเนื้องอกที่ขยายตัวหลังเคมีบำบัดหรือรังสีบําบัด
  • ไม่บ่อยนักอาจมีเนื้องอกชนิดลุกลามโดยไม่พบเนื้องอกชนิดปฐมภูมิ และถูกจัดอยู่ในประเภทมะเร็งที่ไม่รู้ที่มา

สำเนาพันธุ์

เนื้องอกมักประกอบไปด้วยประชากรหลากหลาย (heterogeneous) และมีเซลล์มากกว่าหนึ่งชนิด ทว่ามักเริ่มต้นจากเซลล์หรือโคลนเดียวที่ผิดปกติและพัฒนากลายเป็นเนื้องอก กลุ่มเซลล์เหล่านี้มีสำเนาพันธุ์ (clone) เดียวกันหรือมีต้นตอจากเซลล์เดียว[8] และมีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือทางอีพีเจเนติกส์เดียวกัน สำหรับมะเร็งเม็ดเลือด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว ความเป็นสำเนาพันธุ์พิสูจน์ได้จากการขยายยีนอิมมิวโนโกลบูลิน (สำหรับรอยโรคในเซลล์บี) หรือยีนตัวรับเซลล์ที (สำหรับรอยโรคในเซลล์ที) ขณะนี้การพิสูจน์ความเป็นสำเนามีความจำเป็นในการชี้ว่าการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดเป็นเหตุมะเร็ง[9]

อย่างไรก็ตามความเป็นสำเนาพันธุ์ไม่อยู่ในความหมายของเนื้องอก เนื่องจากขณะนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเนื้องอกต้องมาจากโคลนเดียวกันตลอด

ความแตกต่างระหว่าง Neoplasia กับ tumor

คำว่า Tumor (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน) หรือ tumour (ภาษาอังกฤษแบบบริติช) มาจากคำภาษาลาตินที่แปลว่า การบวม หนึ่งในอาการหลักของการอักเสบ แต่เดิมใช้กับอาการบวมทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกหรือไม่ อย่างไรก็ตามภาษาอังกฤษในปัจจุบันใช้คำว่า tumor เป็นดั่งชื่อพ้องของ neoplasm ทั้งทางการแพทย์และที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ หมายถึง เนื้องอก (ก้อนหรือถุงน้ำที่อาจเกิดหรือไม่เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์เนื้องอก) ที่ดูเหมือนขนาดใหญ่กว่าปกติ[10][11] Neoplasm บางแบบอาจไม่อยู่ในรูปแบบของเนื้องอก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว และเนื้องอกเฉพาะที่ส่วนใหญ่ ถึงเช่นนั้น เนื้องอก (tumor) ไม่เหมือนกับ มะเร็ง ซึ่งหมายความว่ามีการลุกลาม ไม่เหมือนกับเนื้องอกที่สามารถหมายถึงทั้งเนื้องอกแบบไม่ร้าย เนื้องอกที่อาจกลายเป็นมะเร็ง หรือมะเร็ง

คำว่าก้อนเนื้อ (mass) และปุ่ม (nodule) อาจถูกใช้ในความหมายเดียวกับเนื้องอก กล่าวคือคำว่าเนื้องอกถูกใช้ทั่วไปโดยไม่สื่อถึงขนาดของรอยโรค[1] คำว่าก้อนเนื้อมักใช้เมื่อรอยโรคมีขนาดตั้งแต่ 20 มิลลิเมตร ขึ้นไป ในขณะที่คำว่าปุ่มมักช้เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 20 มม.[12]

ใกล้เคียง

เนื้องอก เนื้องอกมดลูก เนื้องอกของสมอง เนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์ เนื้องอกต่อมของต่อมใต้สมอง เนื้องอกไขมัน เนื้องอกต่อม เนื้องอกต่อมไทมัส เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก เนื้องอกของนิวโรเอ็กโตเดิร์มดั้งเดิม

แหล่งที่มา

WikiPedia: เนื้องอก http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articl... http://pathology.jhu.edu/pancreas/slides/glossary.... http://open.umich.edu/education/med/m1/patientspop... http://science.education.nih.gov/supplements/nih1/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1774551 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2909555 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3135649 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3149672 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4080181 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10891514