พยาธิสรีรวิทยา ของ เนื้องอกมดลูก

เมื่อเลาะเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก – ทางด้านซ้ายคือพื้นผิวด้านนอก,ส่วนที่เป็นพื้นที่ด้านที่ตัดจะเป็นรูปทางด้านขวา

เนื้องอกมดลูกจะปรากฏขึ้นรอบๆ มีขอบเขตเด่นชัด (แต่ไม่มีถุงหุ้ม), เป็นก้อนแข็งที่มีสีขาวหรือสีน้ำตาล, และจะแสดงลักษณะเป็นเนื้อเยื้อวงกลมมีขนาดแตกต่างกันไป ซึ่งต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูความผิดปกติทางโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่. โดยปกติเนื้องอกมีขนาดเท่าผลส้มโอหรือใหญ่กว่านั้นจะสามารถรู้สึกตัวเองโดยผู้ป่วยผ่านผนังหน้าท้อง

ภาพถ่ายผ่านกล้องจุลทรรศของเนื้องอกมดลูกชนิดกล้ามเนื้อเรียบชนิดไม่อันตราย. H&E stain.

เมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์เซลล์มะเร็งมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ปกติ (มีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปไข่, มีรูปร่างเหมือนกระสวย,ใจกลางมีรูปร่างเหมือนบุหรี่) และการรวมกลุ่มในรูปแบบที่มีทิศทางที่แตกต่างกัน (มีลักษณะที่เป็นก้นหอย)เซลล์เหล่านี้มีความเหมือนกันในขนาดและรูปร่าง, เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์ที่พบได้ยาก มีสามสายพันธุ์ที่เป็นอันตราย คือ 1.bizarre (เกิดความผิดปกติ) 2. cellular และ 3. mitotically

เมื่อมีการตรวจพบจุดเล็ก ๆ ในนิวเคลียสที่เด่นชัด (nucleoli) ที่มีรัศมีที่ใกล้ชิดกับตัวนิวเคลียสควรแจ้งเตือนอายุรเวชเพื่อตัวสอบความเป็นไปได้ของอาการก้อนเนื้องอกที่มาจากกรรมพันธ์ที่พบได้ยากและตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งที่ไต[8]

ตำแหน่งและการจัดกลุ่ม

ภาพแผนผังของชนิดเนื้องอกต่างๆในมดลูก: a=เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูก(Subserosal fibroids) , b=เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก(Intramural fibroids) , c=เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก(Submucosal fibroid), d=เนื้องอกมดลูกชนิดที่มีก้านใต้เยื่อบุ(pedunculated submucosal fibroid), e=เนื้องอกปากมดลูก(fibroid in statu nascendi), f=เนื้องอกของเอ็น(fibroid of the broad ligament)

การเจริญเติบโตและตำแหน่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสอบเนื้องอกที่จะนำไปสู่​​การเกิดอาการและปัญหา[3] เนื้องอกที่มีขนาดเล็ก ๆ อาจจะมีอาการหากตั้งอยู่ภายในตำแหน่งที่โพรงมดลูก ในขณะคนที่เป็นเนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่แต่เป็นที่ด้านนอกของมดลูกอาจจะไปไม่มีอาการให้สังเกตเห็น ตำแหน่งที่ตั้งที่แตกต่างกันมีทำให้มีการจัดกลุ่มดังนี้

  • เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (Intramural fibroid) นี้ตั้งอยู่ภายในผนังของมดลูกและเป็นชนิดที่พบมากที่สุด ในกรณีที่มีขนาดใหญ่ที่พวกเขาอาจจะไม่มีอาการ เนื้องอกเริ่มต้นก่อนตัวอยู่ภายในจากก้อนขนาดเล็กที่ผนังกล้ามเนื้อของมดลูก ด้วยเวลาพอสมควรเนื้องอกภายในอาจขยายเข้ามาก่อให้เกิดการบิดเบือนและการยืดตัวของโพรงมดลูก
  • เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก(Subserosal fibroid)เป็นเนื้องอกที่ตั้งอยู่ภายใต้พื้นผิวที่เป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกของเนื้อเยื่อบุผิว(ช่องท้อง) ของมดลูกและจะกลายเป็นขนาดใหญ่มาก เนื้องอกยังสามารถงอกออกมาเป็นปุ่มเล็กๆกลายเป็นเนื้องอกที่มีก้านออกมาเติบโตแยกออกมาจากมดลูกกลายเป็น parasitic leiomyoma เป็นส่วนที่แยกออกจากก้อนเนื้องอกเดิมออกไป โดยได้รับเลือดมาเลี้ยงจากอวัยวะอื่นในอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) ตั้งอยู่ในกล้ามเนื้อใต้เยื่อบุโพรงมดลูกและมีลักษณะบิดเบี้ยวอยู่ในโพรงมดลูกแม้จะมีแค่ขนาดเล็กๆ แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้ก็อาจทำให้เกิดเลือดออกและเกิดภาวะมีบุตรยาก ก้านที่อยู่ในโพรงเรียกว่าเนื้องอกที่ก้านเล็กๆสามารถที่ผ่านไปยังปากมดลูก
  • เนื้องอกในมดลูก (Cervical fibroids) ตั้งอยู่ในผนังปากมดลูก (คอของมดลูก) เป็นเนื้องอกที่ไม่ค่อยมีการพบบ่อยนัก (เส้นเอ็นที่ยึดมดลูก, แผ่นเอ็น, หรือเอ็นใต้กระดูที่อยู่บริเวณใต้กระเบนเหน็บ) ของมดลูกเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อเรียบ.

เนื้องอกอาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน เนื้องอกส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากภายในที่เป็นชั้นของกล้ามเนื้อของมดลูกมีการเจริญเติบโตต่อไป เนื้องอกอาจจะเจริญเติบโตออกไปทางด้านนอกของมดลูกหรือจะเจริญเติบโตต่อเข้าไปภายใน การเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวภายใต้ของเนื้องอกทำให้มีผลถัดมาก็คือ การตกเลือด, เปลียนเป็นเนื้อร้าย, มีแคลเซียมเกาะ, และมีการเปลี่ยนแปลงที่กระเพาะปัสสวะ(เนื้องอกเบียดกระเพราะปัสสวะทำให้เกิดปัสสวะบ่อย)

เนื้องอกนอกมดลูกที่มีต้นกำเนิดมาจากมดลูก, เนื้องอกที่แพร่กระจายไปเป็นเนื้อร้าย

เนื้องอกในมดลูกเริ่มต้นมาจากมดลูกแล้วต่อไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย, บางครั้งเรียกว่า ก้อนเนื้อปรสิต (parasitic myomas) ในอดีตพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ในปัจจุบันมีการวินิจฉัยว่ามีความถี่ของคนเป็นเนื้องอกมากขึ้น เนื้องอกอาจจะเกี่ยวข้องหรือเป็นแบบเดียวกันที่แพร่กระจายไปยังกล้ามเนื้อ

เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนแต่อาจะมีภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตหากเนื้องอกขยายใหญ่ไปไกลถึงอวัยวะอื่นๆ บางแหล่งข้อมูลชี้ให้เห็นว่าในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนอยู่ในช่วงปลายของการผ่าตัดเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูกหรือผ่าตัดมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกโดยวิธีส่องกล้องเพื่อดูชิ้นเนื้อแล้วผ่านทางหน้าท้องที่มีการปั่นชิ้นเนื้อให้เป็นชิ้นเนื้อเล็กๆ แล้วดูดออกมาผ่านท่อ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของภาวะแทรกซ้อนนี้(ผลอันเนื่องมาจากชิ้นเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่).[9][10][11][12][13]

สิ่งที่ทำให้เงื่อนไขยากขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเนื้องอก เนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นอันตรายแต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งบางตำแหน่งก็อาจเป็นอันตรายได้เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเนื้องอกเป็นสำคัญ.[14]

  • เนื้องอกในกล้ามเนื้อมีการกดทับหลอดเลือด เนื้องอกที่ปรากฏว่าไปกดทับการไหลเวียนหลอดเลือดแต่พบว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดซ้ำ
  • ไลโอไมโตมาโอสีสภายในหลอดเลือดดำ, เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกเติบโตขึ้นในหลอดเลือดดำที่แหล่งของมันคือเนื้องอกมดลูด เมื่อมีการเกี่ยวข้องกับหัวใจอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
  • เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงเมื่อกระจายไปยังกล้ามเนื้อ, เนื้องอกเมื่อเจริญเติบโตไปยังพื้นที่ไกลขึ้นเช่น ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่มีแหล่งที่มาไม่ชัดเจน ถ้ามีความเกี่ยวข้องกับปอดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • เมื่อมีการแพร่กระจายไปยังไลโอไมโอมาโตสีสภายในหลอดเลือดดำในช่องท้อง,เนื้องอกที่โตกระจัดกระจายบนเยื่อบุช่องท้องและพื้นผิวของเยื่อแขวนกระเพาะในช่องท้อง(omental surfaces) ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากเนื้องอกมดลูก มีลักษณะคล้ายกับเนื้องอกร้ายแต่ปฏิบัติตัวเป็นเนื้องอกไม่ร้ายแรง

พยาธิกำเนิด

เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่(large subserosal fibroid)

เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกมาจากต้นตระกูลเนื้องอก และประมาณ 40 to 50% แสดงถึงโครโมโซมของเซลล์ที่ตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซม ปัจจุบันความถี่ที่เกิดไม่สัมพันธ์กับพันธุกรรม กระบวนการเปลี่ยนแปลงเฉพาะของโปรตีน MED12 ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นร้อยละ 70 ของเนื้องอก[15]

สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่จากสมมติฐานจากงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันคือ ความบกพร่องทางพันธุกรรม, เปิดรับฮอร์โมนก่อนคลอดบุตรและมาจากผลกระทบของฮอร์โมน, ปัจจัยที่ทำให้เนื้องอกเจริญเติบโตและสารซีโนเอสโตรเจน (xenoestrogens คือสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ส่งผลให้ภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนมากไปกว่าเดิมที่เป็นอยู่) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เนื้องอกเจริญเติบโต ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นที่รู้กันก็คือผู้ที่มีเชื้อสายชาวแอฟริกา, ผู้ที่ไม่เคยบุตร (nulliparity), โรคอ้วน, กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก, โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง[16]

การเติบโตของเนื้องอกขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) แม้ว่าทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะมีความสัมพันธ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอกแต่ในบางสถานการณ์การเติบโตก็มีข้อจำกัด ซึ่งขัดแย้งกับเนื้องอกที่ไม่ค่อยเจริญเติบโตได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะมีสเตอรอยด์ฮอร์โมนที่สูงมาก และการตั้งครรภ์ค่อนข้างแน่นอนว่ามีผลที่ช่วยให้เกิดการป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นเนื้องอกได้[2] การป้องกันอาจจะแค่สื่อกลางบางส่วนระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจนและตัวรับของฮอร์โมนออซิโทซิน (oxytocin receptor: ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในหลายชนิด เช่น ช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิจากในช่องคลอด ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวขณะคลอด และช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้ขับน้ำนมออกมาเลี้ยงลูก)[17]

มีความเชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีส่วนเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้องอกและมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เป็นปัจจัยการเจริญเติบโตของเนื้องอก, ไซโตไคน์ (cytokines:ทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างเซลล์)และปัจจัยที่ทำให้เซลล์นั้นตายลง (apoptotic factors) เช่นเดียวกับฮอร์โมนอื่นๆ นอกจากนี้การทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนปรับเปลี่ยนโดยมีการส่งสัญญาณคุยข้ามกันระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจน,ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนโพแลกติน (ฮอร์โมน Prolactin เป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งซึ่งสร้างจากต่อม Pituitary ทำหน้าที่พัฒนาต่อมน้ำนมและกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมออกมา) ที่เป็นตัวควบคุมการแสดงออกตามลำดับของตัวรับนิวเคลียส เชื่อกันว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวควบคุมเสริมให้เจริญเติบโตโดย up-regulating ของสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

IGF-1 (IGF-1 มีหน้าที่กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์การเสริมสร้างกระดูกอ่อน,เซลล์กล้ามเนื้อ รวมถึงมีการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ อีกด้วย),

EGFR (Estimated Glomerular Filtration Rate เป็นค่าที่เราใช้เพื่อประเมินการทำงานของไต),

TGF-beta (Transforming growth factor beta 1 เป็นโกร๊ทแฟคเตอร์ที่มีบทบาทอย่างมากในเมตาบอลิซึมของเซลล์กระดูกและฟัน),

TGF-beta3 (Transforming growth factor beta 3 เป็นชนิดของโปรตีนที่เรียกว่าไซโตไคน์)

PDGF (PLatelet-Derived Growth Factor เป็นหนึ่งในปัจจัยการเจริญเติบโตจำนวนมากหรือโปรตีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของการแบ่งเซลล์) และเป็นตัวส่งเสริมให้เซลล์ของกล้ามเนื้อที่มีความผิดปกติอยู่รอดโดยไปควบคุม p53 เพิ่มตัวปัจจัยยับยั้งอะพอพโทซิส (anti-apoptotic) ของ PCP4(Purkinje cell protein 4 คือ โปรตีนของมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน PCP4) และสัญญาณว่ามันไม่สามารถเข้ากันได้กับ PPAR-gamma ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นตัวเร่งให้ให้ก้อนเนื้อเจริญเติบโตขึ้นอยู่กับการควบคุม EGF, TGF-beta1 และ TGF-beta3, และยังมีส่วนช่วยให้มันอยู่รอดโดยผ่านการควบคุมการเจริญเติบโตจากสาร Bcl-2 และลดการเจริญเติบโตโดย TNF-alpha ส่งผ่านเพื่อให้เนื้องอกอยู่รอดผ่านควบคุมโดยส่งผ่าน Bcl-2 [18][19][20]ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขยายการเจริญเติบโต (TGIF) ที่จะเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อเมื่อเปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อมดลูก[21] TGIFอาจเกิดการปล่อยสาร TGF-β เป็นเส้นทางในเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก[21]

เนื้องอกในวัยหมดประจำเดือนจะพบสาร ER-beta, ER-alpha และตัวรับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีการหลั่งออกมามากเกินไป, เนื้องอกในวัยหมดประจำเดือนซึ่งพบได้ยากและจะพบว่ามีการหลั่งสาร ER-beta มากเกินไปแบบมีนัยสำคัญ.[22] ในการศึกษาส่วนใหญ่มีการพบความหลากหลายการเข้ารหัสยีนส์ ER and PR ซึ่งก็ไม่มีส่วนสัมพันธ์บประชากรผิวขาว[23][24] อย่างไรก็ตามความพิเศษรูปแบบพันธุกรรมของ ER-alpha จะพบว่ามีความสำพันธ์กับการเกิดและขนาดของเนื้องอก เนื้องอกกลุ่มนี้พบได้มากกับพันธุกรรมของกลุ่มผู้หญิงผิวดำ[25]

เนื้องอกมดลูกมีความไวต่อการกระตุ้นมากกว่ากล้ามเนื้อมดลูกปกติ ตัวรับ PPAR-gamma ยืนยันผลลัพธ์ว่าได้ลดการดำรงอยู่และการตายของเซลล์เนื้องอก กลไกก็คือ สื่อสารส่งสัญญาณเชิงลบเส้นทางคุยกันระหว่าง ER และ PPAR หลายๆ PPAR-gamma ลิแกนด์ (Ligands ในทางเคมีคือสสารภายนอกเซลล์ที่เชื่อมต่อกับตัวรับ) เมื่อพิจารณาว่ารักษาดูแลได้อย่างมีสมรรถภาพ[26] PPAR-gamma อะโกนิสต์ (agonists เป็นสารที่เมื่อเชื่อมต่อกับตัวรับทางชีวเคมี แล้วทำให้เกิดการกระตุ้นกลไกตอบสนองของเซลล์) อาจจะต่อต้านกับการเจริญเติบโตของเนื้องอก โดยร่วมกับกลไกของระบบอื่นอีกหลายๆ ตัว ยกตัวอย่างเช่น TGF-beta3 เป็นตัวยับยั้งอาการ[27]

โรคความดันโลหิตสูง ก็มีความสัมพันธ์กับเนื้องอก ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุในทางสมมุติฐานอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดอาจทำให้เป็นหลอดเลือดแข็งตัวเวลาได้รับบาดเจ็บที่หลอดเลือดมดลูก และเป็นผลทำให้เกิดผลบทบาทสำคัญเมื่อเกิดสภาพการอักเสบ นอกจากนี้ต่อมไร้ท่อเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความดันเลือดเช่น Angiotensin II (Angiotensin II เป็นสารสำคัญในเลือดและในเนื้อไตเองโดยแสดงฤทธิ์ต่างๆ คือ 1.ฤทธิ์ต่อหลอดเลือดและหัวใจ 2.ฤทธิ์ต่อไต 3.ฤทธิ์ต่อต่อมหมวกไต 4.ฤทธิ์ต่อระบบประสาท)เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดเนื้องอกผ่านตัว Angiotensin II type 1 receptor.[28][29]

ฮอร์โมนเพศชาย (Aromatase) และสาร 17beta-hydroxysteroid dehydrogenase คือ แสดงค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในเนื้องอก แสดงให้เห็นว่าเนื้องอกสามารถที่จะเปลี่ยนแปลหมุนเวียนแอนโดรสตีนไดโอน(Androstenedione นั่นคือสารกระตุ้นฮอร์โมนที่เป็นสารแนะนำของฮอร์โมนเพศชาย) ในเอสตาไดออล(estradiol คือระดับฮอร์โมนในเพศหญิง)[30] กลไกที่คล้ายกันเป็นปฏิบัติการที่ขยายความในเรื่องโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis) และโรคเยื่อบุโพรงมดลูกอื่น ๆ[31] การยับยั้งการทำางานของเอนไซม์ของฮอร์โมนเพศชายที่มีหน้าที่เปลี่ยนแอนโดรเจนเป็นเอสโตรเจน คือปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาบางอย่างในทางที่เป็นไปได้ที่จะยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้องอกในขณะที่มันยังไม่ใหญ่นักแต่ก็มีผลกระทบต่อการผลิตรังไข่ของฮอร์โมนแอสโตรเจน (และระดับของระบบของร่างกาย) ฮอร์โมนเพศชายจะใช้วิธีการตรวจเพื่อตรวจสอบว่าถ้ายีนใดมีความผิดปกติยีนนั้นจะสร้างโปรตีนมากกว่าปกติที่เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงแอฟริกาอเมริกัน[32]

สาเหตุทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ ได้รับการพิจารณาและอีกหลายอย่างทางระบาดวิทยา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลทางพันธุกรรมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับแรกมีความเสี่ยง 2.5 เท่า และ ความเสี่ยงใกล้กับ 6 เท่าเมื่อพิจารณาในกรณีที่มีอาการเริ่มต้นไปแล้ว ฝาแฝดที่มีไข่ใบเดียวกัน (Monozygotic twins) มีอัตราการสอดคล้องว่าอาจจะมีการผ่าตัดมดทั้งคู่เมื่อเทียบกับฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ(dizygotic twins)[33]

เช่น แผลเป็นนูน, เนื้องอก ไม่ผลิตสารเคลือบเซลล์ภายนอก จากการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่ากระบวนการนี้อาจเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นการตอบสนองที่ผิดปกติของการขาดเลือดและกลไกการบีบตัวของเนื้อเยื่อ [34] มีปัจจัยหลายอย่างเป็นส่วนประกอบอย่างมีนัยสำคัญสัญญาณของเส้นทางของสารเคลือบเซลล์ (extracellular signaling pathways) อย่างเช่น ERK1 และ ERK2, ซึ่งบอกได้ว่าเนื้องอกนั้นได้รับอิทธิพลอย่างชัดเจนมาจะฮอร์โมน[35] น่าประหลาดและแตกต่างจากเงื่อนไขอื่นๆ อย่างมากที่มีเรื่องผังผืดมากเกี่ยวข้องด้วยมีการตรวจพบยีนส์ Cyr61 ในเนื้องอกและมีการพบกระบวนการที่เซลล์ลดปริมาณขององค์ประกอบของเซลล์ในเนื้องอก[36]

Cyr61 เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหยุดยั้งเนื้องอกและกลไกการสร้างเลือดใหม่ (angiogenesis) การลดความหนาแน่นของหลอดเลือดเป็นการลดขนาดของเนื้องอกลงได้[36]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เนื้องอกมดลูก http://womenshealth.about.com/cs/fibroidtumors/a/f... http://www.diseasesdatabase.com/ddb4806.htm http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0015-... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S1521-... http://www.emedicine.com/radio/topic777.htm http://www.fibroids.com/news-blog/2010/11/black-wo... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=218.... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://vet.sagepub.com/content/40/2/175.full http://www.sciencedaily.com/releases/2009/12/09120...