การบรรเลง ของ เพลงชาติไทย

ขั้นตอนการเทียบเวลา-เคารพธงชาติ ตอนเช้า
1.สปอตเชิญชวนเคารพธงชาติ
2.เพลงพม่าประเทศ (เพลงเทียบเวลา)
3.เสียงกดนาฬิกา
4.เวลา 07:59:55 น.เสียงต๊อด 1 ชุด (เสียงนาฬิกาดิจิตัล นับถอยหลังขึ้นชั่วโมงใหม่)
5.เวลา 08:00:00 น. (ตรง) เสียงนาฬิกาตี 8 ครั้ง
6.ขานว่า "เวลา 8 นาฬิกา"
7.เพลงชาติไทย

ขั้นตอนการเทียบเวลา-เคารพธงชาติ ตอนเย็น
1.ประกาศ "ที่นี่...สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย โปรดเตรียมเคารพธงชาติ"
2.เพลงพม่าประเทศ (เพลงเทียบเวลา)
4.เวลา 17:59:55 น.เสียงต๊อด 1 ชุด (เสียงนาฬิกาดิจิติล นับถอยหลังขึ้นชั่วโมงใหม่)
5.เวลา 18:00:00 น. (ตรง) ตีฆ้อง 1 ครั้ง และขานว่า "เวลา 18 นาฬิกา"
6.เพลงชาติไทย

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์เหล่านี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ

ในข้อบังคับทหารว่าด้วยการเคารพ มาตรา 3 การบรรเลงเพลงเคารพ ได้ระบุถึงการบรรเลงเพลงเคารพในส่วนของเพลงชาติไว้ว่า เพลงชาติจัดเป็นเพลงเคารพด้วยแตรวง ใช้บรรเลงแสดงความเคารพต่อธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาล ในขณะขึ้นลง และธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ในขณะทำพิธีธงขึ้นลง[11]

แนวปฏิบัติสำหรับธงชาติไทยโดยทั่วไป ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ได้ระบุไว้เช่นกันว่า เพลงชาตินับเนื่องเป็นหนึ่งอาณัติสัญญาณในการเคารพธงชาติ กล่าวคือ

1. เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ2. ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง[12]

แนวปฏิบัติดังกล่าวนี้ ได้ริเริ่มให้มีขึ้นครั้งแรก จากการบรรเลงเพลงชาติ ตามสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในเวลา 08.00 น. โดยบัญชาของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ราวปี พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2[13]

ในปัจจุบัน นอกจากการบรรเลงเพลงชาติ ในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ยังมีการแพร่ภาพวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยช่องต่างๆ อีกด้วย ซึ่งเดิมแต่ละสถานีฯ จะเป็นผู้จัดทำวีดิทัศน์ประกอบขึ้นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลไทยมีนโยบายให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำวีดิทัศน์กลางขึ้น เพื่อเผยแพร่โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยทุกแห่ง ในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยเริ่มใช้วีดิทัศน์ของดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่วีดิทัศน์เพลงชาติไทยรูปแบบใหม่ โดยเนื้อหาแสดงถึงพลัง ความรู้สึกรักชาติแบบสมัยใหม่โดยไม่เน้นการสู้รบ[14] โดยได้มีการเผยแพร่ผ่านทางโทรทัศน์ในวันที่ 4 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ก่อนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 แต่วีดิทัศน์ดังกล่าวมีการแก้ไขถึง 3 ครั้ง เนื่องจากมีกลุ่มองค์กรทางพระพุทธศาสนาบางส่วน ไม่เห็นด้วยกับวีดิทัศน์ดังกล่าวที่ไม่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ เช่น พระพุทธรูป พระสงฆ์ เป็นต้น[15] โดยวีดิทัศน์ดังกล่าวได้ใช้เพลงชาติไทยที่มีการบันทึกเสียงใหม่ บรรเลงโดยวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย

ตามประกาศคณะการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ใช้คลื่นความถี่ให้บริการทั่วไปต้องจัดให้ออกอากาศเพลงชาติไทยทุกวันในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. [16]

ใกล้เคียง

เพลงชาติไทย เพลงชาติ เพลงชาติอาร์เจนตินา เพลงชาติเม็กซิโก เพลงชาติสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน เพลงชาติลาว เพลงชาติสหภาพโซเวียต เพลงชาติอัฟกานิสถาน เพลงชาติปากีสถาน เพลงชาติรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: เพลงชาติไทย http://72.14.235.132/search?q=cache:SNrqkGHqYnwJ:e... http://www.chordzaa.com/chord/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E... http://musicthai.patakorn.com/?p=668 http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sect... http://thailandanthem.com/ http://www.mrta.co.th/main/thai_.htm http://www1.mod.go.th/opsd/sdweb/thaisong.htm http://www.prd.go.th/ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/...