ที่มา ของ เมตตานิสังสคาถาปาฐะ

เมตตานิสังสคาถาปาฐะ เป็นหนึ่งในคาถาของเตมิยชาดก ปรากฎในมหานิบาต หมวดชาดก ของขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก (หรือวรรคที่ 12 ของ 538 มูคปกฺขชาตกํ) [1] โดยเนื้อความในพระไตรปิฎกนั้น ชาดกต่างๆ มีลักษณะเป็นคาถา ไม่าปรากฎที่มาที่ไปของเรื่องมากนัก แต่ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาได้มีการอธิบายเพิ่มเติมว่า เตมิยชาดกนี้ "พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภมหาภิเนกขัมมบารมี" [2] จากนั้นไม่มีข้อความอธิบายโดยพิสดารถึงสาเหตุที่ทรงแสดงชาดกนี้ และเนื้อความโดยละเอิยดของชาดกนี้ เป็นต้น

ในส่วนของคาถาที่ยกมาจากเตมิยชาดกมาประกาศเป็นเมตตานิสังสคาถาปาฐะนั้น ชาตกัฏฐกถา ซึ่งเป็นอรรถกถาของชาดก ขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก ได้อธิบายว่า พระเตมีย์แสดงปฏิบัติพระองค์เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ และเป็นง่อย ด้วยหวังจะมิต้องกระทำบาปกรรมจนต้องตกนรกหมกไหม้ ดังเช่นชาติที่แล้วที่ทรงเกิดเป็นพระราชาครองเมือง และได้ตัดสินโทษผู้ร้าย จนต้องตกนรก อยู่ถึง 7,000 ปีด้วยผลกรรมนั้น ดังนั้นแล้วจึงทรงปฏิบัติเนกขัมบารมีดังอธิษฐานไว้

ทว่า การที่พระองค์ปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น ทำให้พราหมณ์และคณะอมาตย์กล่าวว่า พระเตมีย์เป็นกาลกิณี พระบิดาจึงทรงจำพระทัย สั่งให้นายสารถีนำพระโอรสไปฝังยังป่าช้า แต่พระเตมีย์ทรงขยับพระวรกายอีกครั้ง ครั้งนายสารถีเห็นแล้วยังมิเชื่อว่าเป็นพระเตมีย์ที่ทรงเป็นง่อยไใบ้มานานถึง 10 ปี "พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราจักทำให้นายสารถีนั้นเชื่อ ทรงทำป่าชัฏให้บันลือลั่นด้วยเสียงสาธุการของเหล่าเทวดา และด้วยคำโฆษณาของพระองค์ เมื่อจะตรัสคาถาบูชามิตร 10 คาถา" [3] ซึ่งคาถาบูชามิตร 10 คาถา ก็คือ เมตตานิสังสคาถาปาฐะ นั่นเอง

ใกล้เคียง