ประวัติ ของ เมทีนามีน

เมทีนามีน หรือที่เรียกกันเป็นทางการว่า เฮกซะเมทิลีนเตตรามีน ถูกค้นพบโดยนักเคมีชาวรัสเซีย อเล็กซานเดอร์ บัทเลรอฟ เมื่อ ค.ศ. 1859[4][10][11]โดยถูกเตรียมขึ้นได้จากการทำปฏิกิริยากันระหว่างฟอร์มาลดีไฮด์กับแอมโมเนีย[3] โดยการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถถูกเหนี่ยวนำได้ทั้งในกรณีที่สารตั้งต้นทั้งสองอยู่ในสถาะแก๊สและสารละลาย

แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
เฮกซะเมทิลีนเตตรามีน
น้ำ
แผนภาพแสดงกระบวนการสังเคราะห์เฮกซะเมทิลีนเตตรามีน

โมเลกุลของเฮกซะเมทิลีนเตตรามีนมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากกับโครงสร้างของอะดาแมนแทน โดยจะมีโครงสร้างเป็นแบบสมมาตรทรงสี่หน้ารูปร่างคล้ายกรง มุมทั้งสี่มุมเป็นอะตอมของไนโตรเจน เชื่อมต่อกับอะตอมไนโตรเจนอื่นในโมเลกุลด้วยสะพานเมทิลีน (methylene bridge) ถึงแม้ว่าโมเลกุลของเฮกซะเมทิลีนเตตรามีนจะมีรูปร่างคล้ายกรง แต่ก็ไม่มีตำแหน่งด้านหน้าใดๆในโมเลกุลที่จะสามารถเข้าจับกับอะตอมหรือโมเลกุลอื่นเพิ่มเติมได้ เช่นที่พบได้ในอีเทอร์มงกุฎ หรือโครงสร้างคริปแทนด์ขนาดใหญ่

โมเลกุลของเฮกซะเมทิลีนเตตรามีนจะแสดงคุณสมบัติคล้ายคลึงกับโมเลกุลของกรดอะมิโน โดยสามารถเกิดโปรโตเนชันและ N-อัลคิเลชันได้ (เช่น ควอเทอร์เนียม-15)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมทีนามีน http://www.comlaw.gov.au/Details/F2011C00827 http://www.chemspider.com/3959 http://haamor.com/th/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%97%E... http://www.methenaminemandelate.com/ http://library.med.utah.edu/WebPath/RENAHTML/RENAL... http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://www.cpsc.gov/BUSINFO/methtabs.pdf http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20341260 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5410299