รุ่นต่างๆ ของ เมอร์คาวา

เมอร์คาวา มาร์ค 1

เมอร์คาวา มาร์ค 1

รุ่นมาร์ค 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นรุ่นดั้งเดิมที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้บัญชาการกรมอิสราเอล ทาล และได้ถูกปรับเปลี่ยนและออกแบบมาเพื่อการผลิตขนานใหญ่ มาร์ค 1 มีน้ำหนัก 63 ตันและมีเครื่องยนต์ดีเซลที่ให้กำลัง 900 แรงม้า ซึ่งมีอัตรากำลังที่ 14 แรงม้าต่อหนึ่งตัน มันมีอาวุธหลักเป็นปืนเอ็ม68 ขนาด 120 มม. (เป็นแบบลอกเลียนจากโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ของอังกฤษโดยซื้อลิขสิทธิ์มา) มีปืนกลขนาด 7.62 มม.อีกสองกระบอก[10] และปืนคกขนาด 60 มม.ที่ด้านนอกรถถัง ซึ่งไม่มีที่กำบังให้กับผู้ใช้เวลาใช้งาน

การออกแบบโดยทั่วไปนั้นได้ยืมเอาตีนตะขาบของรถถังเซนจูเรียนของอังกฤษ ซึ่งถูกใช้อย่างหนักในช่วงสงครมยมคิปเปอร์

เมอร์คาวาทำการรบครั้งแรกในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2525 ซึ่งอิสราเอลได้ใช้เมอร์คาวา 180 คัน แม้ว่าพวกมันจะทำงานได้สำเร็จ แต่รถหุ้มเกราะลำเลียงพลที่ร่วมรบด้วยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากและต้องถอนตัวออกจากการรบ เมอร์คาวาจึงได้รับหน้าที่เพิ่มให้เป็นหน่วยพยาบาลสำหรับทหารราบ โดยการนำเอาส่วนเก็บกระสุนออก ทหาร 10 นายสามารถเข้าออกรถถังโดยใช้ประตูหลังของรถถังได้

หลังสิ้นสุดสงครามได้มีการติดตั้งและปรับเปลี่ยนมากมายให้กับเมอร์คาวา สิ่งสำคัญที่สุดคือการย้ายจุดติดตั้งปืนครกขนาด 60 มม.ไปไว้ในตัวรถและใช้การยิงด้วยรีโมตแทน เป็นจุดสำคัญที่อิสราเอลเรียนรู้มาจากเซนจูเรียน มาร์ค3 ที่ใช่ปืนครกขนาด 2 นิ้ว[11] นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งตาข่ายลูกโซ่เพื่อป้องกันอาร์พีจีและอาวุธต่อต้านรถถัง

เมอร์คาวา มาร์ค 2

เมอร์คาวา มาร์ค 2
เมอร์คาวา มาร์ค 2 พร้อมตาข่ายโซ่ที่ด้านหลังของป้อมปืน
เมอร์คาวา มาร์ค 2

รุ่นมาร์ค 2 ถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 และได้รับการยกระดับเล็กน้อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการรบในเลบานอน รถถังรุ่นใหม่นี้มีการปรับให้สามารถรบในสภาพที่เป็นเมืองได้และเหมาะกับการปะทะขนาดเล็ก ด้วยน้ำหนักและเครื่องยนต์ที่ยังเหมือนของมาร์ค 1[12]

มาร์ค 2 ใช้ปืนใหญ่ขนาด 105 มม.และปืนกลขนาด 7.62 มม.เหมือนมาร์ค 1 แต่สำหรับปืนครกขนาด 60 มม.ได้ถูกออกแบบใหม่ให้ติดตั้งอยู่ภายในรถถังและควบคุมการยิงด้วยรีโมตเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารถูกยิงเวลาต้องใช้ปืนครก ระบบส่งกำลังแบบอัตโนมัติที่อิสราเอลสร้างขึ้นและถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่ขึ้นถูกติดตั้งให้กับมาร์ค 2 ทุกคันที่ผลิตภายหลัง ตาข่ายต่อต้านจรวดถูกติดตั้งเข้าไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการอยู่รอดเมื่อต้องเผชิญกับทหารราบติดอาวุธต่อต้านรถถัง การพัฒนาขนาดย่อมอีกมากมายถูกจัดขึ้นให้กับระบบควบคุมการยิง เซ็นเซอร์อุตุนิยม ตัวประเมินทิศทางลม และกล้องจับอุณหภูมิและเครื่องขยายความชัดของภาพ ทำให้รถถังมีความสามารถในการรับรู้สมรภูมิที่ดีขึ้น

รุ่นที่มีการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปของมาร์ค 2 นั้นจะมีชื่อต่างกันไป และหลายคันยังคงประจำการอยู่ในปัจจุบัน:

  • มาร์ค 2บี, มีกล้องจับอุณหภูมิและระบบควบคุมการยิงที่ได้รับการพัฒนาขึ้น
  • มาร์ค 2ซี, มีเกราะเสริมที่ด้านบนป้อมปืนเพื่อป้องกันจากโจมตีทางอากาศ
  • มาร์ค 2ดี, มีเกราะคอมโพสิทแยกส่วนที่ตัวถังและป้อมปืน สามารถหาเกราะทดแทนได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับความเสียหาย

เมอร์คาวา มาร์ค 3

เมอร์คาวา มาร์ค 3
เมอร์คาวา มาร์ค 3 บาซ
เมอร์คาวา มาร์ค 3 ดอร์ ดาเล็ท บาซ คาแซค เป็นมาร์ค 3 ที่พัฒนามากที่สุด
เมอร์คาวา มาร์ค 3 แบบต่างๆ
เมอร์คาวา มาร์ค 3ดี ขณะยิงระบบบาซที่เพิ่มความแม่นยำและการทำลายเมอร์คาวา มาร์ค 3 กำลังยิงปืนใหญ่ ปืนกลเอฟเอ็น แม็ก และระเบิดควัน จากนั้นเป็นระบบสร้างม่านควัน การสาธิตจบลงด้วยการปาระเบิดควันสีเขียว

เมอร์คาวา มาร์ค 3 นั้นเริ่มเข้าทำหน้าที่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 มีการยกระดับส่วนส่งกำลัง อาวุธ และระบบอิเลคทรอนิก สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือปืนไอเอ็มไอ ขนาด 120 มม.[13] ด้วยปืนนี้และเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ขึ้นด้วยกำลัง 1,200 แรงม้า ทำให้รถถังมีน้ำหนักเป็น 65 ตัน แต่เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่าทำให้มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[14]

ป้อมปืนได้รับการปรับเปลี่ยนให้เคลื่อนที่ได้อิสระจากตัวรถถัง ทำให้มันสามารถติดตามเป้าหมายไม่ว่ารถถังจะหันไปทางไหนก็ตาม การพัฒนาอื่นๆ มีดังนี้

  • โทรศัพท์สองทางที่ภายนอกตัวรถเพื่อสื่อสารกับทหารราบ
  • ส่วนเก็บกระสุนที่ลดการเกิดระเบิดของตัวกระสุนเมื่อถูกความร้อน
  • ติดตั้งเลเซอร์ชี้เป้า
  • การรวมเข้ากับระบบเกราะแยกส่วนคาแซคที่ออกแบบมาเพื่อการซ่อมบำรุงที่รวดเร็วในสนามรบและเหมาะกับการยกระดับได้อย่างรวดเร็ว
  • การสร้างมาร์ค 3บี พร้อมรายละเอียดของเกราะที่ยังไม่ถูกระบุ

ระบบบาซ

ในปี พ.ศ. 2538 มาร์ค 3 บาซ (BAZ ย่อมาจากภาษาฮิบรู Barak Zoher) ได้รับการพัฒนาและเสริมระบบมากมายเข้าไป เช่น

  • ระบบควบคุมการยิงที่ยกระดับขึ้น ผลิตโดนบริษัทเอล-ออพและเอลบิท ทำให้รถถังสามารถจัดการกับเป้าหมายเคลื่อนที่ขณะที่รถถังเองก็เคลื่อนที่เช่นกัน
  • ระบบป้องกันอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง
  • ระบบปรับอากาศที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นมากขึ้น
  • ระบบป้องกันอาวุธกระสุนและจรวด
  • มาร์ค 3ดี มีเกราะคอมโพสิทแยกส่วนที่สามารถถอดออกได้ทั้งบนตัวรถและป้อมปืน

ดอร์-ดาเล็ท

เป็นรุ่นสุดท้ายของมาร์ค 3 มีชื่อว่ามาร์ค 3 ดี ดอร์-ดาเล็ท (Dor-Dalet เป็นภาษาฮิบรูที่แปลว่า รุ่นที่สี่) ซึ่งมีการพัฒนาเพื่อเป็นการปูทางให้กับมาร์ค 4

  • ตีนตะขาบที่ได้รับการพัฒนาให้แข็งแกร่งขึ้น (สร้างโดยบริษัทคาเตอร์พิลลาร์ ออกแบบโดยอิสราเอล)
  • ติดตั้งสถานีอาวุธเหนือหัวราฟาเอล (Rafael Overhead Weapon Station)

เมอร์คาวา มาร์ค 4

เมอร์คาวา มาร์ค 4 ที่ถูกนำมาแสดงต่อสาธารณชนครั้งแรกในงานฉลองวันประกาศอิสรภาพอิสราเอลเมื่อปี พ.ศ. 2545
เมอร์คาวา มาร์ค 4
เมอร์คาวา มาร์ค 4 ของกรมทหารที่ 401 ของอิสราเอลขณะทำการซ้อมรบ
เมอร์คาวา มาร์ค 4

เมอร์คาวา มาร์ค 4 เป็นรุ่นพัฒนาล่าสุดของเมอร์คาวาและได้พัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 การพัฒนาดังกล่าวเปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม เมอร์คาวา มาร์ค 3 ยังคงผลิตต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2546 เมอร์คาวา มาร์ค 4 คันแรกๆ ถูกผลิตขึ้นในจำนวนจำกัดเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2547[15]

เอกลักษณ์

มาร์ค 4 มีระบบควบคุมการยิงแบบใหม่ของบริษัทเอล-ออพ เรียกว่า ไนท์ มาร์ค 4 (Knight Mark 4) มีเกราะแยกส่วนที่ถอดได้แบบมาร์ค 3ดี โดยนำมาติดตั้งรอบตัวรถ รวมทั้งด้านบนและรูปทรงวีที่ใต้ท้องรถ ระบบเกราะนี้ถูกออกแบบเพื่อให้รถถังได้รับการซ่อมแซมที่รวดเร็วและกลับเข้ารบให้เร็วที่สุด

กระสุนถูกเก็บไว้ในที่เก็บกันไฟ ซึ่งลดโอกาสที่กระสุนจะระเบิดเมื่อถูกความร้อนเมื่อเกิดไฟไไหม้ในรถถัง ในป้อมปืนนั้นจะไม่มีกระสุนอยู่เลย

นอกจากนี้ยังมีการปรับรูปร่างของรถถัง สีไม่สะท้อน และเกราะสำหรับไอเสียรถที่จะผสมกับอากาศทำให้เกิดภาพความร้อนที่ข้าศึกสับสน โดยเป็นโครงการที่นำมาจากกองทัพอากาศอิสราเอลเพื่อให้รถถังตกเป็นเป้าได้ยากขึ้นในจอเรดาร์และตัวจับความร้อนของศัตรู

มาร์ค 4 มีปืนขนาด 120 มม.ที่ใหญ่กว่าของรุ่นอื่นๆ แต่สามารถยิงกระสุนได้หลากหลายกว่า อย่างกระสุนระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังและกระสุนแซ็บบ็อตอย่างกระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ โดยใช้แม็กกาซีนแบบหมุนกึ่งไฟฟ้าที่บรรจุกระสุน 10 นัด นอกจากนี้ยังมีปืนกลขนาด 12.7 มม.ที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อจัดการเป้าหมายที่เป็นยานพาหนะ[16]

ระบบควบคุมการยิง

ระบบควบคุมการยิงแบบใหม่ทำให้เมอร์คาวาสามารถยิงเฮลิคอปเตอร์สัญชาติรัสเซียอย่างมิล เอ็มไอ-24 และฝรั่งเศสอย่างกาเซล์ได้

ตีนตะขาบแบบใหม่

มาร์ค 4 มีระบบตีนตะขาบที่เรียกว่า ทีซอว์ส (Tracks, Springs, and Wheels System)" ระบบดังกล่าวถูกออกแบบมาให้ทดทานต่อพื้นหินบะซอลต์ในเลบานอนและที่ราบสูงโกลัน T

ระบบจัดการสนามรบแบบดิจิตอล

มาร์ค 4 มีระบบจัดการสนามรบด้วยดิจิตอลของบริษัทเอลบิท เป็นระบบที่ใช้ข้อมูลจากเป้าหมายและยูเอวีในสนามรบ มาแสดงข้อมูลบนจอสีและส่งต่อรหัสข้อมูลไปยังหน่วยรบอื่นๆ ที่มีระบบจัดการสนามรบดังกล่าว

การซ่อมแซมที่รวดเร็วและการลดค่าใช้จ่าย

เมอร์คาวา มาร์ค 4 ถูกออกแบบมาสำหรับการซ่อมบำรุงที่รวดเร็วและสามารถเปลี่ยนเกราะใหม่เพื่อทดแทนเกราะที่เสียหายได้ไวขึ้น ด้วยการใช้เกราะแยกส่วนทำให้สามารถทำการถอดและติดตั้งได้อย่างสะดวก นอกจากนี้แล้วมันยังถูกออกแบบมาให้ประหยัดงบประมาณทั้งในขั้นตอนการผลิตและการซ่อมบำรุง ทำให้เมอร์คาวมามีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ารถถังหลายแบบของประเทศยุโรป

รายละเอียดในแต่ละรุ่น

เมอร์คาวา มาร์ค 1เมอร์คาวา มาร์ค 2เมอร์คาวา มาร์ค 3เมอร์คาวา มาร์ค 4
ประวัติการประจำการ
อยู่ในประจำการพ.ศ. 2522- (กองกำลังสำรองเท่านั้น)พ.ศ. 2525–ปัจจุบันพ.ศ. 2533–ปัจจุบันพ.ศ. 2547–ปัจจุบัน
ใช้โดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล
สงครามที่เข้าร่วมรบสงครามเลบานอน พ.ศ. 2525, อินทิฟาด้าครั้งแรกความขัดแย้งในเลาบานอนใต้ (พ.ศ. 2525-2543), อินทิฟาด้าครั้งแรก, อินทิฟาด้าครั้งที่สอง, สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549, สงครามกาซาความขัดแย้งในเลาบานอนใต้ (พ.ศ. 2525-2543, อินทิฟาด้าครั้งที่สอง, สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549, สงครามกาซาอินทิฟาด้าครั้งที่สอง, สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549, สงครามกาซา
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบมานทัค (กรมรถถังเมอร์คาวา)
ผู้ผลิตมานทัค (กรมรถถังเมอร์คาวา)
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2521-2526พ.ศ. 2525-2532พ.ศ. 2533-2545พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต250 คัน580 คัน780 คัน360 คัน และอีก 300 คันกำลังส่งมอบ, (เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555)[3]
รายละเอียด
น้ำหนัก~63 ตัน~65 ตัน
ความยาวรวมปืน: 8.30 เมตร
ไม่รวมปืน 7.45 เมตร
รวมปืน: 9.04 เมตร
ไม่รวมปืน 7.60 เมตร
ความกว้าง3.70 เมตร ไม่รวมชายเกราะ3.72 เมตร ไม่รวมชายเกราะ
ความสูง2.65 เมตร2.66 เมตร
ลูกเรือ4 คน (ผู้บัญชาการรถถัง พลขับ พลปืน พลบรรจุ) สามารถบรรทุกทหารราบเพิ่มได้
เกราะเกราะเหล็กเนื้อรวมเกราะเหล็กเนื้อรวมเกราะคอมโพสิทแบบแยกส่วนชั้นเกราะคอมโพสิทที่เคลือบด้วยโลหะเจือผสมเซรามิก เหล็กกล้า และนิกเกิล ออกแบบเป็นเกราะลาดเอียงแบบแยกส่วน
อาวุธหลักปืนลำกล้องเกลียวเอ็ม68 ขนาด 105 มม. ยิงกระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็มปืนลำกล้องเกลี้ยงเอ็มจี251 ขนาด 120 มม. ยิงกระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็มปืนลำกล้องเกลี้ยงเอ็มจี253 ขนาด 120 มม. ยิงกระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็ม
อาวุธรองปืนกลขนาด 7.62 มม. 2-3 กระบอก
ปืนครกนอกตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก
ระเบิดควัน 12 ลูก
ปืนกลขนาด 7.62 มม. 2-3 กระบอก
ปืนครกในตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก
ระเบิดควัน 12 ลูก
ปืนกลขนาด 7.62 มม. 3 กระบอก
ปืนครกในตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก
ระเบิดควัน 12 ลูก
ปืนกลขนาด 12.7 มม. 1 กระบอก
ปืนกลขนาด 7.62 มม. 2 กระบอก
ปืนครกในตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก (พัฒนาแล้ว)
ระเบิดควัน 12 ลูก
เครื่องยนต์เครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยอากาศ เอวีดีเอส-1790-6เอ วี12 908 แรงม้าของเทเลดีน คอนทิเนนทัลเครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยอากาศ เอวีดีเอส-1790-9เออาร์ วี12 1,200 แรงม้าของเทเลดีน คอนทิเนนทัลเครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยน้ำ จีดี883 (เอ็มทียู883) วี12 1,500 แรงม้าของเจเนรัล ไดนามิกส์
อัตรากำลังเครื่อง~14.5 แรงม้า/ตัน~18.5 แรงม้า/ตัน~23 แรงม้า/ตัน
บรรจุกระสุนปืนใหญ่ 53-63 นัด ชุดละหกนัดกระสุนปืนใหญ่ 46 นัด พร้อมยิงทันที 5 นัดกระสุนปืนใหญ่ 48 นัด พร้อมยิงทันที 10 นัด
ระบบส่งกำลังกลไกไฮดรอลิกกึ่งอัตโนมัติ ซีดี850-6ยีเอ็กซ์ ของอัลลิสัน ทรานส์มิชชั่นกลไกไฮดรอลิกอัตโนมัติของแอสช็อท แอชเคลลอน 4 เกียร์กลไกไฮดรอลิกอัตโนมัติของแอสช็อท แอชเคลลอน 5 เกียร์ (เลียนแบบอาร์เค325 ของเรงค์โดยซื้อลิขสิทธิ์)[17]
ระบบกันสั่นสะเทือนคอยล์สปริง
ระยะระหว่างใต้ท้องกับพื้น0.53 เมตร0.45 เมตร
ความจุเชื้อเพลิง1,100–1,400 ลิตร1,400 ลิตร
พิสัยปฏิบัติการ400 - 500 กิโลเมตร500 กิโลเมตร (310 ไมล์)
ความเร็วบนถนน50 กม./ชม.60 กม./ชม.64 กม./ชม.

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมอร์คาวา http://english.al-akhbar.com/content/ali-saleh-des... http://www.army-technology.com/projects/merkava/in... http://www.armyrecognition.com/may_2012_new_army_m... http://www.defense-update.com/analysis/lebanon_war... http://www.defense-update.com/directory/merkava4.h... http://google.com/search?q=cache:qe6SDt20ZOMJ:www.... http://video.google.com/videoplay?docid=-885358645... http://www.haaretz.com/hasen/spages/784074.html http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/idf-... http://www.israeldefense.com/?CategoryID=483&Artic...