หน้าที่ ของ เม็ดพาชีเนียน

เม็ดพาชีเนียนเป็นตัวรับความรู้สึกที่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว (rapidly adapting) และส่งสัญญาณเป็นพัก ๆ (phasic) ที่ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของแรงดันและความสั่นสะเทือนที่ผิวหนังเม็ดเหล่านี้ไวต่อแรงสั่นมาก และสามารถรู้สึกแรงสั่นไกลเป็นเซนติเมตร ๆ ได้ (เป็นตัวรับแรงกลที่ไวสุดในระบบรับความรู้สึกทางกาย[6])โดยไวที่ความถี่ 250 เฮิรตซ์มากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงความถี่ซึ่งเกิดที่ปลายนิ้วสำหรับลายผิววัสดุที่เล็กกว่า 1 ไมโครเมตร[15][16]แม้จะตอบสนองต่อความถี่ระหว่าง 5-1,000 เฮิรตซ์ด้วย[17]เม็ดพาชีเนียนจะตอบสนองเมื่อผิวหนังเปลี่ยนรูปอย่างรวดเร็ว แต่จะไม่ตอบสนองเมื่อแรงกดอยู่คงที่เพราะเหตุเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่คลุมปลายประสาทอยู่

เม็ดพาชีเนียนอำนวยให้รู้สึกสัมผัสแบบต่อไปนี้ได้ คือ

  • เมื่อลูบด้วยนิ้ว ลายผิวละเอียดในระดับนาโนเมตร (nm)[1][18] (เฉลี่ยที่ 80 nm ดีสุดที่ 10 nm[17])
  • แรงสั่นความถี่สูง ซึ่งสำคัญในการรู้สึกแรงสั่นจากเครื่องมือและวัสดุที่อยู่ในมือ[1] แรงสั่นจากเครื่องมือทำให้สามารถรู้สึกเหมือนกับจับวัตถุที่จริง ๆ อยู่ติดแนบกับเครื่องมือ เช่น รู้สึกถึงลักษณะของกระดาษที่จรดกับปากกาที่อยู่ในมือ จึงทำให้สามารถเขียนแม้ในที่มืดได้[6]

นอกจากความรู้สึกสัมผัสแล้ว เชื่อว่า เม็ดพาชีเนียนยังตอบสนองต่อการเปลี่ยนตำแหน่งของข้อต่อที่รวดเร็วอีกด้วยและเนื่องจากมักจะพบในหนังแท้ใกล้ ๆ กับหลอดเลือดแดงรวมทั้ง arteriovenous shunt (ทางลัดเส้นเลือดแดง-เลือดดำ) จึงเชื่อว่า มันพร้อมกับใยประสาทกลุ่ม Aδ และ C อื่น ๆ ยังตรวจสอบแรงกลที่เกิดจากเส้นเลือด เช่น ความตึงที่เนื่องกับความดันเลือดและแรงสั่นเนื่องจากการไหลของเลือด[2][19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เม็ดพาชีเนียน http://www.whonamedit.com/ http://www.whonamedit.com/synd.cfm/2423.html http://www.julius-ecke.de/bilder/Anatomie/70_Haut/... http://www.vcu.edu/anatomy/OB/Skin~1/sld019.htm http://www.vetmed.vt.edu/education/curriculum/vm83... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19179493 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25398182 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25398183 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7248510