เม็ดพาชีเนียน
เม็ดพาชีเนียน

เม็ดพาชีเนียน

เม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขนเป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น[1] โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน[2]เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน[3]โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม. และในเนื้อเยื่อที่ลึกกว่านั้น[4] และตอบสนองต่อแรงที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลันเท่านั้นโดยไวต่อแรงสั่นความถี่สูงเป็นพิเศษ[5] (30-500 เฮิรตซ์[6])การไวแรงสั่นทำให้สามารถตรวจจับลักษณะลายผิวของวัสดุที่ลูบ (ด้วยมือหรือนิ้วเป็นต้น) เช่น หยาบหรือเกลี้ยงเม็ดพาชีเนียนเป็นตัวรับแรงกลที่ปรับตัวเร็ว (rapidly adapting)[1]ดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้า เช่น การจับและการปล่อยวัตถุ จะทำให้กลุ่มต่าง ๆ ของเม็ดตอบสนองเพียงแค่ชั่วคราวนอกจากผิวหนังเกลี้ยงแล้ว ผิวหนังที่มีผม/ขนโดยทั่วไป[1] ปลอกหุ้มข้อต่อ (joint capsule) เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) ทรวงอก อวัยวะเพศ และอวัยวะภายในบางส่วน[7]ก็มีเม็ดพาชีเนียนด้วยและตับอ่อนก็มีเม็ดพาชีเนียนซี่งตรวจจับแรงสั่นและน่าจะเสียงความถี่ต่ำ[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เม็ดพาชีเนียน http://www.whonamedit.com/ http://www.whonamedit.com/synd.cfm/2423.html http://www.julius-ecke.de/bilder/Anatomie/70_Haut/... http://www.vcu.edu/anatomy/OB/Skin~1/sld019.htm http://www.vetmed.vt.edu/education/curriculum/vm83... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19179493 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25398182 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25398183 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7248510