กลไกการทำงาน ของ เม็ดพาชีเนียน

ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบหุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Pacinian corpuscle) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ[20]เมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่น แรงสั่นความถี่สูง) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na+ และ Ca2+ ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง[21][22]ตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง[23]ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย

เคยเชื่อกันว่า ชั้นต่าง ๆ ของเม็ดพาชีเนียนเป็นตัวส่งคลื่นแรงดันไปยังปลายประสาทที่อยู่ตรงกลาง แต่งานปี 2545 และ 2549[2] ที่ตรวจสอบคุณสมบัติของเม็ดโดยใช้แสงแบบแทรกสอด (interference optics) ไม่พบการเคลื่อนของชั้นต่าง ๆ ของเม็ดแม้จะกระตุ้นด้วยแรงที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งเข้ากับสิ่งที่เห็นว่า แรงสั่นที่ผิวหนังซึ่งแทบจับไม่ได้กลับกระตุ้นให้เม็ดพาชีเนียนทำงานได้ ดังนั้น สมมติฐานสองอย่างที่อาจเป็นไปได้เกี่ยวกับการส่งแรงดันของเม็ดก็คือ[2]

อย่างไรก็ดี เม็ดพาชีเนียนตอบสนองทางสรีรภาพต่อสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจเป็นตัวอย่างการทำงานของมัน

  • เมื่อจับวัตถุที่วางอยู่ ยกขึ้น แล้วย้ายไปวางอีกที่หนึ่ง - เม็ดพาชีเนียนจะตอบสนองอย่างชั่วคราวสั้น ๆ เมื่อจับถูกวัตถุและปล่อย และตอบสนองยาวกว่าแต่ชั่วคราวเหมือนกัน เมื่อยกวัตถุพ้นจากที่วางและเมื่อวางถึงที่ใหม่ ซึ่งให้ข้อมูลส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการสัมผัสกับวัตถุในเบื้องต้นและเมื่อปล่อย และให้ข้อมูลหลักว่า วัตถุที่ยกขึ้นพ้นจากที่วางแล้ว หรือเมื่อจรดถึงที่วางใหม่แล้ว[24][25]
  • สำหรับสิ่งเร้าที่เป็นแรงสั่นแบบคลื่นรูปไซน์ (sinusoidal) ที่ความถี่ 110 เฮิรตซ์ ตัวรับแรงกลจะยิงอิมพัลส์ประสาท 1 ครั้งต่อคาบ เรารู้สึกถึงแรงสั่นของวัสดุในความถี่สูงได้โดยอาศัยการยิงสัญญาณประสาทพร้อม ๆ กันของกลุ่มเม็ดพาชีเนียน[26]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เม็ดพาชีเนียน http://www.whonamedit.com/ http://www.whonamedit.com/synd.cfm/2423.html http://www.julius-ecke.de/bilder/Anatomie/70_Haut/... http://www.vcu.edu/anatomy/OB/Skin~1/sld019.htm http://www.vetmed.vt.edu/education/curriculum/vm83... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19179493 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25398182 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25398183 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7248510