เรขลักษณ์พิเศษ ของ เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รูปเรขาคณิตบางรูปที่ใช้ในการนิยามตราไม่ถือว่าเป็น “เรขลักษณ์มาตรฐาน” แต่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) รูปทรงโดยทั่วไปแล้วจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตตามลักษณะของเรขลักษณ์มาตรฐานของเครื่องหมายอิสริยาภรณ์ แต่ต่างจากเรขลักษณ์มาตรฐานตรงที่จะไม่แล่นจากขอบด้านหนึ่งไปยังขอบอีกด้านหนึ่งของโล่ โดยทั่วไปเรขลักษณ์พิเศษรวมทั้ง:

เรขลักษณ์ฐาน

เรขลักษณ์ฐาน (Fixed subordinaries) คือเรขลักษณ์ที่ติดกับขอบใดขอบหนึ่งของโล่

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย

สี่เหลี่ยมบนซ้าย

สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก

เว้าข้าง

Asnières


Jean de Malines

แคทเธอริน เฮาเวิร์ด
สี่เหลี่ยมบนซ้าย (Quarter)
หมายถึงเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมที่ปรากฏตอนบนซ้ายของโล่ ตัวอย่างของนิยามของ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” ที่ปรากฏในรูปซ้ายสุดคือ “Argent, a quarter gules” หรือ “(พื้นตรา) สีขาว สี่เหลี่ยมบนซ้ายสีแดง” ตัวอย่างของการใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” ก็ได้แก่ตราของเมือง Asnières-sur-Seine ในฝรั่งเศส
* สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก (Canton) - - เป็นเครื่องหมายที่มีขนาดหนึ่งในสี่ของ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” ที่ปรากฏบนมุมซ้ายบนของโล่ ตามกฎแล้วขนาดของ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” จะใช้เนื้อที่หนึ่งในเก้าของโล่ ตัวอย่างของนิยามของ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” คือ “Argent, a Canton gules” หรือ “(พื้นตรา) สีขาว สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็กสีแดง” ตัวอย่างของการใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” ก็ได้แก่ตราของ Jean de Malines ในฝรั่งเศส () “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” แต่ก็มีผู้เห็นว่าเป็นเรขลักษณ์ที่ควรจะแยกมาเป็นอิสระ เพราะเป็นเครื่องหมายที่ตรงกับกฎทางมุทราศาสตร์ที่ไม่ตรงกับกฎของการใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้าย” และมีกฎที่เฉพาะเจาะจงเป็นของตนเอง เช่นการใช้โดยบารอนเน็ตในสหราชอาณาจักรในการเป็นบริเวณที่ใช้ในการแสดงตรายศ (badge) ของตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น การใช้ “สี่เหลี่ยมบนซ้ายเล็ก” น้อยครั้งนักจะใช้เนื้อที่ที่ใหญ่ถึงหนึ่งในสามของตอนบนของโล่ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่านั้นมาก และมักจะไม่อยู่ในสี่เหลี่ยมจตุรัสแต่จะอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีด้านที่ยาวกว่าเป็นแนวตั้ง
* เว้าข้าง (Flaunches) - - เป็นเครื่องหมายที่มักจะปรากฏเป็นคู่ที่มีลักษณะโค้งที่เว้าเข้ามาจากสองด้านของโล่เช่นในช่องตราหนึ่ง เช่นที่ใช้ในส่วนหนึ่งของตราของแคทเธอริน เฮาเวิร์ด ()

แถบสาน

ครึ่งสามเหลี่ยม

ลาแซงคูร์ต

ดยุคแห่งอาร์กายล์
แถบสาน (Fret)
เป็นแถบหลายแถบที่ไขว้สลับ ตัวอย่างที่ใช้ก็ได้แก่ตราของลาแซงคูร์ตในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)


* ครึ่งสามเหลี่ยม (Giron) - - เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นครึ่งของ “สี่เหลี่ยม” ที่ตัดทแยง กล่าวกันว่าเป็นเครื่องหมายเก่าแต่ใช้กันไม่มากนัก แต่ก็มีตัวอย่างที่ใช้กันในสมัยใหม่อยู่บ้างเช่นที่ปรากฏบนตราของดยุคแห่งอาร์กายล์ ()


ขอบใน

ขอบในบาง

ฮาลิสโค

ตราสกอตแลนด์
ขอบใน (Orle)
เป็น “ขอบโล่” ที่แยกจากขอบนอกของโล่เช่นในตราของฮาลิสโค (Jalisco) ในเม็กซิโก แม้ว่าขอบในแปลงจะเป็น “Tressure” หรือ “ขอบในแคบ” แต่ก็มีตัวอย่างของ “Fillet orles” (“ขอบในบาง”) มักจะกล่าวกันว่าขอบในจะไม่มีเครื่องหมายตั้งอยู่บนขอบ แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง ถ้ามีเครื่องหมายก็มักจะเป็นจำนวนแปดนอกจากจะระบุเป็นอื่น และจะจัดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ปรากฏบนขอบโล่ และจะนิยามว่า “in orle” หรือ “an orle of” เช่นที่ปรากฏบนตราของกวาลดาลาฮาราในเม็กซิโก ()
* ขอบในแคบ (Tressure) - เป็นขอบที่บางกว่า “ขอบใน” “ขอบในแคบ” ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือขอบในแคบของตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ () ที่นิยามว่า “double tressure flory counter flory” (“ขอบในแคบคู่ สัญลักษณ์ดอกลิลลีสลับ”)

เรขลักษณ์ลอย

เรขลักษณ์ลอย (Mobile subordinaries) คือเรขลักษณ์ที่ไม่ติดกับขอบใดขอบหนึ่งของโล่

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย

Adrets

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก
โล่ภายในตรา (Escutcheon)
คือโล่ที่ใช้เป็นเครื่องหมายภายในโล่หลัก เช่นที่ใช้ในตราของ Les Adrets-de-l'Estérel ในฝรั่งเศส โล่ตั้งอยู่กลางตราบางครั้งก็นิยามว่า “inescutcheon” หรือ “escutcheon of pretence” หรือ “escutcheon en surtout” (“โล่ใน” หรือ “โล่ตั้งอยู่ภายใน” ) โล่ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นตราอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งที่ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด แต่ในตราที่ใช้สำหรับอาณาจักรหรือรัฐ “โล่ใน” มักจะเป็นโล่ของเจ้าผู้ครองหรือโล่ที่ประกอบด้วยเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักร ที่ตั้งอยู่บนส่วนที่ปรากฏในช่อง “แบ่งสี่” หรือช่องแบ่งต่างๆ ที่มากกว่านั้นของโล่หลัก เช่นที่ปรากฏบนตราแผ่นดินของเดนมาร์ก ที่ “โล่ใน” เป็นโล่ของราชวงศ์โอลเดนบวร์ก หรือ ตราแผ่นดินของสเปน () ที่ “โล่ใน” เป็นโล่ของราชวงศ์บูร์บอง-อองชู ส่วน “โล่ใน” ที่ใช้ในสกอตแลนด์มีความหมายหลายอย่าง

ข้าวหลามตัด

ข้าวหลามตัดกลวง

ข้าวหลามตัดรู

เบลนาฟอน

หลุยส์ อัลแบร์ต

แซงต์มาร์แตงบูลอยญน์
ข้าวหลามตัด (Lozenge)
เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่คล้ายกับรูปข้าวหลามตัดที่พบบนไพ่ เช่นในตราของเทศบาลเมืองเบลนาฟอนในเวลส์

* ข้าวหลามตัดแคบ (Fusil): เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่แคบกว่า “ข้าวหลามตัด” มาตรฐาน เช่นในตราอาร์มของวิลเลียม มองตาคิวท์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 2 ()

* ข้าวหลามตัดกลวง (Mascle) () เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ภายในกลวงเช่นในตราอาร์มของหลุยส์ ชาร์ลส์ อัลแบร์ต (ค.ศ. 1620-1690) ()

* ข้าวหลามตัดรู (Rustre) () เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ภายในมีรูกลวงกลมเช่นในตราของเมืองแซงต์มาร์แตงบูลอยญน์ในฝรั่งเศส ()

ทรงกลม (Roundel): เป็นทรงกลมหรือลูกบอลล์เช่นบนธงของอาณาจักรดยุคแห่งคอร์นวอลล์ () และของตระกูลเมดิชิ () หรือในตราของ Bais ในฝรั่งเศส (รูปซ้าย)
หยด (Goutte): เป็นทรงที่คล้ายหยาดน้ำที่อาจจะเป็น หยดทอง (Goutte d'or) หรือ หยดทอง (Goutte de sang) เช่นบนตราของสังฆมณฑลแบงกอร์ในไอร์แลนด์ (รูปซ้าย)

ตัวอย่างการนิยามเรขลักษณ์ลอยแบบต่างๆ

ลักษณะลักษณะลักษณะ
”Or, an inescutcheon sable”
”พื้นตราสีทอง, โล่ภายในตราสีดำ
”Or, three escutcheons gules”
”พื้นตราสีทอง, โล่ภายในตราสีแดง
”Argent, a lozenge sable”
”พื้นตราสีเงิน, ข้าวหลามตัดสีดำ
”Argent, seven lozenges
(four and three) sable”
”พื้นตราสีเงิน, ข้าวหลามตัดเจ็ดอัน (สี่(แถวบน)และสาม(แถวล่าง)) สีดำ
”Gules, three lozenges argent”
”พื้นตราสีแดง, ข้าวหลามตัดสามอันสีเงิน
”Gules, three mascles Or”
”พื้นตราสีแดง, ข้าวหลามตัดกลวงสามอันสีทอง
”Or, a roundel azure”
”พื้นตราสีทอง, ลูกกลมสีน้ำเงิน
”Azure ten bezants in pile”
”พื้นตราสีน้ำเงิน, ลูกกลมสิบลูก
เรียงแบบแถบสามเหลี่ยม
“escutcheon en surtout”
”โล่ใน” [เหนือช่องตรา]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project-pic.asp?... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project-pic.asp?... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project-pic.asp?... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project.asp?lang... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project.asp?lang... http://www.heraldry.ca/arms/f/foo.htm http://www.heraldry.ca/arms/g/greenwood.htm http://heraldry-scotland.com/copgal/displayimage.p... http://lccn.loc.gov/09023803 http://lccn.loc.gov/2001326695