เรขลักษณ์แปรรูป ของ เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

ถ้าตราอาร์มมีเรขลักษณ์มีขนาดต่างจากขนาดของเรขลักษณ์มาตรฐาน นิยามของตราจะใช้คำว่า “diminutives” หรือ “เรขลักษณ์แปรรูป” ที่ได้แก่:

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์แถบตั้ง (pale)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบตั้งแคบ (pallet)
ตามกฎคือครึ่งของแถบตั้งเช่นในตราของ Châteauneuf-de-Randon
แถบตั้งแคบบาง (endorse)
มีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ “แถบตั้งแคบ” เช่นในตราของเทศบาลเมือง Argoules ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์แถบขวาง (Fess)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบขวางแคบ (Bar) มีขนาดกว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของ “แถบขวาง” (ดูคำอธิบายข้างบน) เช่นตราของ Affracourt ในฝรั่งเศส
แถบขวางแคบบาง (Barrulet)
แคบกว่าแถบขวางแคบเช่นในตราของตระกูล Budange

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์แถบทแยง (bend)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบทแยงแคบ (Bendlet)
ตามกฎจะมีขนาดกว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของ “แถบทแยง” เช่นในตราของ Crosne (Essonne)
แถบทแยงแคบบาง ('Ribbon หรือ ribband)
ตามกฎจะมีขนาดกว้างเท่ากับครึ่งหนึ่งของ “แถบทแยงแคบ” เช่นที่ปรากฏในตราของตระกูลเคอริค “แถบทแยงแคบบาง” บางครั้งก็เรียกว่า “cost” ในคำว่า “coat” แสดงเครื่องหมายแถบทแยงที่ประกบด้วยแถบทแยงแคบบาง (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ “Cottise” หรือ “เส้นประกบ” ข้างล่าง)
แถบทแยงลอย (Baton)
ตามกฎคือ “แถบทแยง” ที่ยืดไม่ถึงขอบของโล่ ที่เป็นเรขลักษณ์ที่ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เช่นในตราของ pays de Dombes ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบทแยงขวา” (Bend sinister) (ทแยงไปมุมซ้ายล่างขึ้นไปยังมุมขวาบน (มุมขวาล่างขึ้นไปยังมุมซ้ายบนของผู้ถือโล่))

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบทแยงขวาแคบ (Bendlet sinister)
ตามกฎจะมีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ “แถบทแยงแคบขวา” บางครั้งก็เรียกว่า “scarpe” เช่นในตราของ Val-d'Oise ในฝรั่งเศส

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบจั่ว” (Chevron)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบจั่วแคบ (Chevronel)
มีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ“แถบจั่ว” ปติ เช่นในตราของอาร์มองด์ ฌอง ดู เปลสซิส เดอ ริเชอลิเออ (Cardinal Richelieu)

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบขวางบน” (Chief)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบขวางบนแคบ (Comble)
มีขนาดกว้างครึ่งของ “แถบขวางบน” เช่นในตราของ Dennebroeucq
แถบขวางบนแคบ (Chief enhanced)
มีขนาดกว้างครึ่งหนึ่งของ “แถบขวางบน” ที่บางครั้งก็กล่าวว่ามีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจาก “Comble”
แถบขวางบนบาง (Fillet)
เป็นแถบที่ผสมระหว่าง “แถบขวางแคบบาง” กับ “แถบขวางบน” โดยมีแถบขวางแคบบางตั้งอยู่ใต้แถบขวาง เช่นตราของ Amblainville

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบกางเขน” (Cross)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบกางเขนบาง (Fillet cross)
มีขนาดกว้างน้อยกว่าครึ่งของ “แถบกางเขน” เช่นในตราของ Denis de Fossez

เรขลักษณ์แปรรูปของเรขลักษณ์ “แถบกางเขนไขว้” (Saltire)

ลักษณะตัวอย่างBlazon / นิยาม และ คำอธิบาย
แถบกางเขนไขว้บาง (Fillet saltire)
มีขนาดกว้างน้อยกว่าครึ่งของ “แถบกางไขว้” เช่นในตราของทอมัส ฟิทซ์แอลแลน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project-pic.asp?... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project-pic.asp?... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project-pic.asp?... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project.asp?lang... http://www.gg.ca/heraldry/pub-reg/project.asp?lang... http://www.heraldry.ca/arms/f/foo.htm http://www.heraldry.ca/arms/g/greenwood.htm http://heraldry-scotland.com/copgal/displayimage.p... http://lccn.loc.gov/09023803 http://lccn.loc.gov/2001326695