เวกเตอร์พอยน์ติง

เวกเตอร์พอยน์ติง (Poynting vector) เป็น ปริมาณทางกายภาพ ที่แสดงความหนาแน่นของการไหลของพลังงานของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า มีขนาดเป็นพลังงานที่ผ่านหน่วยพื้นที่ต่อหน่วยเวลา หน่วยเอสไอที่ใช้คือวัตต์ต่อตารางเมตร (W/m2)ชื่อเวกเตอร์พอยน์ติงได้รับการตั้งชื่อตามผู้ริเริ่มนำมาใช้ในปี 1884 คือ จอห์น เฮนรี พอยน์ติง (John Henry Poynting)[1] ในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เวกเตอร์พอยน์ติงจะชี้ไปในทิศทางของการแผ่ บางครั้งคนจึงเข้าใจความหมายของชื่อผิดว่ามาจากคำว่า pointing ที่แปลว่า "การชี้" อย่างไรก็ตาม ในตัวกลางแบบแอนไอโซทรอปิก เวกเตอร์พอยน์ติงจะชี้ไปในทางที่ต่างจากการแผ่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเวกเตอร์พอยน์ติง S นิยามโดย S = E × H {\displaystyle {\boldsymbol {S}}={\boldsymbol {E}}\times {\boldsymbol {H}}} โดยในที่นี้ E คือ ความแรงสนามไฟฟ้า และ H คือ ความแรงสนามแม่เหล็กสำหรับในสุญญากาศ จะได้ว่า S = 1 μ 0 E × B {\displaystyle {\boldsymbol {S}}={\frac {1}{\mu _{0}}}{\boldsymbol {E}}\times {\boldsymbol {B}}} โดยที่ B คือ ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก และ μ 0 {\displaystyle \mu _{0}} คือ สภาพให้ซึมผ่านได้ของสุญญากาศ (ค่าคงที่แม่เหล็ก)สำหรับภายในตัวกลาง สภาพให้ซึมผ่านได้ทางแม่เหล็กของตัวกลางคือ μ = μ s μ 0 {\displaystyle \mu =\mu _{s}\mu _{0}} โดยต้องคูณด้วยความสามารถในการซึมผ่านสัมพัทธ์ μ s {\displaystyle \mu _{s}} และเวกเตอร์พอยน์ติงจะกลายเป็น S = 1 μ E × B {\displaystyle {\boldsymbol {S}}={\frac {1}{\mu }}{\boldsymbol {E}}\times {\boldsymbol {B}}}

ใกล้เคียง

เวกเตอร์ไวรัส เวกเตอร์ลักษณะเฉพาะ เวกเตอร์ เวกเตอร์สี่มิติ เวกเตอร์หนึ่งหน่วย เวกเตอร์พอยน์ติง เวกเตอร์อะดีโนไวรัส เวกเตอร์แนวฉาก เวกเตอร์ (โครงสร้างข้อมูล) เวกเตอร์ (แก้ความกำกวม)