แนวคิดเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น ของ เศรษฐศาสตร์มหภาค

เศรษฐศาสตร์มหภาคครอบคลุมหลายๆ แนวคิดและหลายๆ ตัวแปร แต่ว่ามีอยู่สามประเด็นสำคัญสำหรับงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคมักเชื่อมโยงปรากฏการณ์ทางผลผลิต การว่างงาน และเงินเฟ้อ นอกเหนือไปจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หัวข้อเหล่านี้ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อตัวแสดงทางเศรษฐศาสตร์ทุกตัว ประกอบด้วยคนงาน ผู้บริโภค และผู้ผลิต

ผลผลิตและรายได้

ผลผลิตประชาชาติคือผลรวมของทุกอย่างที่ปรเทศผลิตได้ในช่วงขณะหนึ่ง ทุกอย่างที่ถูกผลิตขึ้นและขายสร้างรายได้ในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตรวมของระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ถูกไว้โดยจีดีพีต่อประชากร ผลผลิตและรายได้ถูกมองว่าเท่ากันและสามารถใช้แทนกันได้ ผลผลิตเปลี่ยนได้เป็นรายได้ ผลผลิตถูกวัดขึ้นหรือสามารถมองได้จากฝั่งการผลิตและถูกวัดเป็นผลรวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย หรือผลรวมของมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ

ผลผลิตทางเศรษฐกิจมหภาคมักถูกวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในบัญชีประชาชาติ เศรษฐกรผู้ที่สนใจในการเพิ่มขึ้นในระยะยาวศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสะสมเครื่องจักรและทุนอื่นๆ และการมีการศึกษาและทุนมนุษย์ที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นในผลผลิตทางเศรษฐกิจตลอดช่วงเวลา อย่างไรก็ดี ผลผลิตไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างคนเส้นคนวาตลอดเวลา วัฏจักรธุรกิจสามารถก่อให้เกิดการลดลงในระยะสั้นที่เราเรียกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกรมองหานโยบายทางเศรษฐศาสตร์มหาภคที่ป้องกันเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู้ภาวะถดถอยและทำให้การเจริญเติบโตในระยะยาวเร็วมากขึ้น

การว่างงาน

เงินเฟ้อและเงินฝืด

การที่ระดับราคาทั่วไปของทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเรียกว่าเงินเฟ้อ ถ้าราคาลดลง นั่นคือมี เงินฝืด เศรษฐกรวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาโดยใช้ดัชนีราคา เงินเฟ้อสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปและเติบโตมากเกินไป ในทางเดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนำไปสู่เงินฝืด

ธนาคารกลาง ผู้บริหารปริมาณเงินของประเทศ มักจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาโดยใช้นโยบายการเงิน การเพิ่มขึ้นในอัตราดอกเบี้ยหรือการลดลงในปริมาณเงินในเศรษฐกิจมักทำงานเงินเฟ้อลดลง เงินเฟ้อสามารถก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นในความไม่แน่นอนและผลเสียที่ตามมาอื่นๆ เงินฝืดทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจลดลง ธนาคารกลางพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพทางราคาเพื่อป้องกันเศรษฐกิจจากผลเสียที่ตามมาเมื่อราคาเกิดการเปลี่ยนแปลง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐศาสตร์มหภาค http://apeconreview.com http://www.dictionaryofeconomics.com/article?id=pd... http://www.dictionaryofeconomics.com/article?id=pd... http://www.inflateyourmind.com/ http://www.econ.ucla.edu/workingpapers/wp165.pdf http://www.econ.yale.edu/smith/econ510a/notes99.pd... //doi.org/10.1057%2F9780230226203.0855 //doi.org/10.1057%2F9780230226203.1009 https://books.google.com/books?id=OJM2mqWI-cYC&pri... https://archive.org/details/economicsofmoney00fred