ช่วงกลางแห่งชีวิต-การย้ายเข้ากรุงเทพฯ ของ เสม_พริ้งพวงแก้ว

เสมเป็นที่รู้จักและเป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงรายอย่างหาที่เปรียบได้ยาก ความมุมานะและความคิดริเริ่มต่างๆทำให้เชียงรายมีความเจริญด้านการแพททย์มากขึ้น จึงนับเป็นข้าราชการที่มีความสามารถสูงผู้หนึ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2494 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ออกคำสั่งย้ายเสมจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง หน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พญาไท (ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลราชวิถี) และได้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นลำดับ ได้แก่ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ ได้ติดต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาขอผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยาศึกษาโรค Thalassemia ในประเทศไทย ได้ร่วมสร้างผลงานจนได้เป็นศาสตราจารย์ไทยที่เป็นผู้ชำนาญการในโรคนี้จนปัจจุบันรู้จักกันทั่วโลก มีการจัดคณะแพทย์และพยาบาลมาช่วยพัฒนาการปฏิบัติการทางด้านศัลยกรรมที่โรงเรียนแพทย์ และร่วมมือกับ ศาสตราจารย์เบน ไอซแมนส์ แต่งตำราศัลยศาสตร์ทั่วไปด้วยเงินทุน M.S.A.

ในปี พ.ศ. 2494 เริ่มจัดตั้งธนาคารเลือดแห่งแรกในพระนครโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ M.S.A. สหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยมีเลือดให้ผู้ป่วยเป็นชนิดเลือดสดและน้ำเหลืองแห้งทั้งแข็งและเป็นผง ส่งให้โรงพยาบาลทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ได้เปิดการอบรมเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นผู้ชำนาญในการถ่ายเลือด โดยศึกษา 1 ปี ในตำแหน่งชั้นตรี พร้อมกับผลิตตำราเพื่อตั้งและบริหารธนาคารเลือดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพระนครและชนบท จากนั้นได้จัดตั้งโรงเรียนพยาบาลวิสัญญีทางการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีนี้ ศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ได้ตำแหน่งชั้นตรี มีการสร้างตำราวิสัญญีพยาบาลเป็นคู่มือในการศึกษาจนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 44 มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนพันกว่ารายทำงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในปัจจุบัน กิจการการสอนการอบรมทางประสบการณ์ได้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นในปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา

ต่อมา พ.ศ. 2494พ.ศ. 2503 ก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ กรมการแพทย์ เริ่มต้นที่โรงพยาบาลกลาง โดยอธิบดีกรมการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย พันโทนิตย์ เวชวิศิษฎ์ (หลวงเวชวิศิษฎ์) ผู้เชิญ มณี สหัสสานนท์ แห่งโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นอาจารย์ผู้ปกครอง กิจการได้เจริญก้าวหน้าเมื่อย้ายโรงเรียนมาอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลหญิง ได้มีการส่งครูพยาบาลไปเรียนต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลออสเตรเลีย โดย Lord Casey ข้าหลวงใหญ่รัฐบาล ออสเตรเลียเชิญไปหารือด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ แล้วจัดรถพยาบาลจำนวน 78 คัน ให้ทุกโรงพยาบาลในประเทศ ใน พ.ศ. 2504

กำเนิดโรงพยาบาลหญิงและโรงพยาบาลเด็ก

พ.ศ. 2496 – 2500 กรมการแพทย์ ได้เสนอให้เร่งสร้างโรงพยาบาลหญิงและโรงพยาบาลเด็ก และวิทยาลัยพยาบาลผดุงครรภ์ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข มีโอกาสได้รับบริการทั่วหน้าได้ เนื่องจากโรงพยาบาลหญิงมีเด็กคลอดวันละ 50 – 70 คน เด็กจำนวน 20,000 คน คลอดที่โรงพยาบาลแห่งนี้ทุกปี เด็กคลอดมีทั้งเด็กมีร่างกายปกติและมีร่างกายพิการ ทางราชการจึงเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงพยาบาลเด็กขึ้นในพื้นที่ 20 ไร่ ติดกับโรงพยาบาลหญิง เพื่อศึกษาและให้บริการแก่ประชาชนวัยเด็กที่มีความสำคัญต่อชาติเมื่อ พ.ศ. 2497 ในปี พ.ศ. 2500 ประชากรเด็กเพิ่มปีละ 3.3 ในร้อยคน รัฐบาลเห็นความสำคัญในการให้บริการแก่เด็กไทย โดยนอกจาการสร้างโรงพยาบาลเด็กแล้วก็สร้างสถานอนุเคราะห์เด็กที่บ้านราชวิถีขึ้นด้วย

การฝึกแพทย์ประจำบ้าน

จำนวนแพทย์ที่มีความรู้เรื่องเด็กมีความจำเป็น โรงพยาบาลเด็กด้วยความร่วมมือของ W.H.O. ได้จัดการอบรมแพทย์โรคเด็กขึ้นใน พ.ศ. 2500 เป็นการฝึกแพทย์ประจำบ้าน (Residency Training) ขึ้นในประเทศไทย ใช้เวลาเรียนติดต่อกันอีก 3 ปี เป็นต้นมาจนปัจจุบัน

การจดทะเบียนและเวชเบียน

พ.ศ. 2497 W.H.O. องค์การอนามัยโลกเห็นความสำคัญของระบบการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ จึงส่ง ศาสตราจารย์ ดร. วู๊ดบิวรี (Prof. Woodbury Ph.D.) ผู้เชี่ยวชาญทางการสถิติที่ปฏิบัติงานติดตามผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังการทิ้งระเบิดปรมาณู ที่ทำและติดตามทะเบียนผู้ป่วยที่ถูกแสงและมีชีวิตอยู่จนเป็นผลดีต่อทางราชการ ให้มาเป็นผู้ริเริ่มจัดการเวชเบียนผู้ป่วยขึ้นเป็นแห่งแรกที่โรงพยาบาลเด็ก โดยใช้เครื่อง IBM เป็นครั้งแรกในประเทศไทย จนเป็นแบบอย่างจนถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลเด็กได้จัดส่งนายแพทย์ไทยไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาจนได้ปริญญาเอกทางนี้มาทำงานในประเทศ โดยเริ่มที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

การสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดและการตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติ

  • ภายใน 4 ปีรัฐบาลสามารถสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดได้ครบทุกจังหวัด
  • พ.ศ. 2497 ได้จัดตั้งสมาคมศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (International College of Surgeons – Thai) ทำให้ศัลยแพทย์ทั่วโลกได้รู้จักการเรียนและปฏิบัติงานทางศัลยกรรมในประเทศดีพอที่จะส่งศัลยแพทย์ไปศึกษาวิชาศัลยกรรมในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ในสมาคม International Society of Surgery ซึ่งเป็นสมาคมศัลยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ทำให้ศัลยแพทย์ทั่วไปในโลกเข้าใจขีดการปฏิบัติงานและการฝึกอบรมศัลยแพทย์ไทยดียิ่งขึ้น
  • เปิดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ เริ่มขึ้นต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

เวชสารการแพทย์และผลงานอื่นๆ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสม_พริ้งพวงแก้ว http://www.moph.go.th/about/history/big_1.htm http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/... http://www.openbase.in.th/files/morsambook001.pdf http://www.openbase.in.th/files/morsambook002.pdf http://www.openbase.in.th/files/morsambook003.pdf