ลักษณะ ของ เสียงเสียดแทรก_เพดานอ่อน_ไม่ก้อง

ลักษณะต่าง ๆ ของเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ได้แก่

  • ลักษณะการออกเสียง เป็นเสียงเสียดแทรก กล่าวคือ เสียงนี้เกิดจากการบีบกลุ่มลม (ที่มาจากปอด) ให้ผ่านช่องแคบ ๆ บริเวณตำแหน่งการเกิดเสียง
  • ตำแหน่งเกิดเสียง เป็นเสียงจากเพดานอ่อนหรือกัณฐชะ กล่าวคือ เสียงนี้เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลัง (โคนลิ้น) ขึ้นไปใกล้เพดานอ่อน (ส่วนหลังของเพดานปาก) แต่ไม่แตะสนิท เหลือช่องแคบ ๆ ให้ลมพอจะผ่านออกไปได้ตลอดในลักษณะเสียดแทรก
  • ลักษณะเสียงพูด เป็นเสียงไม่ก้องหรืออโฆษะ กล่าวคือ เส้นเสียงจะไม่สั่นขณะที่ออกเสียงนี้
  • เสียงนี้เป็นเสียงพยัญชนะช่องปาก กล่าวคือ ลมจะถูกปล่อยให้ออกมาทางปาก (ไม่ใช่ทางจมูก)
  • เสียงนี้เป็นเสียงพยัญชนะกลางลิ้น กล่าวคือ เสียงนี้เกิดขึ้นจากการที่กระแสลมถูกปล่อยให้ผ่านออกมาเหนือบริเวณกลางแผ่นลิ้น มากกว่าจะออกไปทางข้างลิ้น
  • กลไกกระแสลม เป็นกระแสลมออกจากปอด กล่าวคือ เสียงนี้เกิดขึ้นจากการดันกระแสลมออกจากปอดและผ่านทางช่องเสียง มากกว่าที่จะเกิดจากช่องเส้นเสียงหรือจากปากโดยตรง