เสียงในหู
เสียงในหู

เสียงในหู

เสียงในหู[6](อังกฤษ: Tinnitus) เป็นเสียงที่ได้ยินแต่ไม่มีจริง ๆ นอกร่างกาย[1][7]โดยสามารถแบ่งเป็นแบบที่มีเสียงจริงหรือแบบไม่มี[7]แม้บ่อยครั้งจะอธิบายว่า หูอื้อหรือเสียงดังเหมือนโทรศัพท์/กระดิ่ง/นาฬิกาปลุก แต่ก็อาจเป็นเสียงกรอบแกรบ เสียงฟ่อ หรือเสียงกระหึ่ม/ดังลั่น[2]โดยน้อยครั้งมากที่เป็นเสียงคนหรือเสียงดนตรี[3]เสียงอาจค่อยหรือดัง ต่ำหรือสูง อาจมาจากเพียงหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง[2]ดังเป็นบางครั้งบางคราวหรือดังตลอด[8]โดยปกติแล้ว อาการจะค่อย ๆ เกิด[3]ในคนไข้บางคน เสียงจะทำให้ซึมเศร้าหรือกังวล และสามารถกวนสมาธิ[2]การมีเสียงในหูไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการที่อาจมีเหตุได้หลายอย่าง[2]เหตุสามัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการเสียการได้ยินเหตุเสียงดัง[2]เหตุอื่น ๆ รวมทั้งการติดเชื้อในหู โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเมนิแยร์ เนื้องอกในสมอง เครียด การได้รับยาบางอย่าง การบาดเจ็บที่ศีรษะในอดีต และขี้หู[2][9][4]เป็นอาการที่สามัญมากกว่าในผู้ที่ซึมเศร้า[3]การวินิจฉัยอาการนี้มักจะขึ้นอยู่กับคำบอกของคนไข้ แม้ก็มีแบบคำถามหลายแบบที่ประเมินว่าการได้ยินเสียงในหูรบกวนในชีวิตประจำวันแค่ไหนด้วย[3]และก็มีวิธีการตรวจการได้ยิน (audiogram) ตลอดถึงการตรวจทางประสาท[1][3]ถ้าพบปัญหาอะไร แพทย์อาจตรวจโดยดูภาพเช่นที่ทำโดยเอ็มอาร์ไอ การตรวจสอบอื่น ๆ อาจช่วย เช่น ในกรณีที่เสียงในหูเกิดตามจังหวะการเต้นหัวใจ ในบางครั้งบางคราว แพทย์ที่ใช้หูฟังตรวจอาจได้ยินเสียงจริง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ก็จะเป็นแบบที่มีเสียงจริง[3]วิธีการป้องกันก็คือเลี่ยงเสียงดัง[2]ถ้ามีเหตุที่เป็นมูลฐาน การรักษาเหตุนั้นอาจทำให้อาการนี้ดีขึ้น[3]ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว การรักษาปกติจะเป็นการปรึกษากับจิตแพทย์/คุยกับนักจิตวิทยา[5] เพื่อหาวิธีลดการใส่ใจ/การสำนึกถึงเสียงในหู[10]แม้การเล่นดนตรีเพื่อกลบเสียง[11]หรืออุปกรณ์สร้างเสียงกลบ หรือเครื่องช่วยฟัง ก็อาจช่วยบางกรณี[2]จนถึงปี 2013 ยังไม่มียาที่มีประสิทธิผล[3]เป็นอาการที่สามัญ คือเกิดกับประชากรประมาณ 10-15%แต่คนส่วนมากจะทนรับได้และเป็นปัญหาสำคัญแก่บุคคลเพียงแค่ 1-2%[5]คำภาษาอังกฤษว่า tinnitus มาจากภาษาละติน คือ tinnīre ซึ่งหมายความว่า ตีระฆัง/ทำเสียง[3]

เสียงในหู

อาการ ได้ยินเสียงทั้ง ๆ ที่ไม่มีเสียงภายนอกร่างกายจริง ๆ[1]
สาขาวิชา โสตศอนาสิกวิทยา, โสตวิทยา
การออกเสียง
ความชุก ~12.5%[5]
สาเหตุ การเสียการได้ยินเหตุเสียงดัง การติดเชื้อในหู โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคเมนิแยร์ เนื้องอกในสมอง เครียด[2][4]
วิธีวินิจฉัย ขึ้นอยู่กับอาการ การตรวจการได้ยิน การตรวจประสาท[1][3]
ภาวะแทรกซ้อน ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ[2]
การรักษา ให้คำแนะนำ/ปรึกษา ใช้เครื่องสร้างเสียง ใช้เครื่องช่วยฟัง[2][5]
การตั้งต้น ค่อย ๆ เกิด[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสียงในหู http://www.discoverymedicine.com/Yvonne-Chan/2009/... http://www.diseasesdatabase.com/ddb27662.htm http://site.ebrary.com/lib/alltitles/docDetail.act... http://www.emedicine.com/ent/topic235.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=388.... http://www.springerlink.com/content/m172lg/#sectio... http://www.springerlink.com/content/p0718202461867... http://successforkidswithhearingloss.com/wp-conten... http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ringing-in-the-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/1465185...