การวินิจฉัย ของ เสียงในหู

แม้เสียงในหูอาจจะเป็นอาการหลักที่คนไข้บอก แพทย์หูคอจมูกก็มักจะตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่รักษาได้ เช่น การติดเชื้อในหูชั้นกลาง เนื้องอกที่ประสาทหู (Vestibular schwannoma) การกระแทกกระเทือน กระดูกงอกใกล้หูชั้นกลาง เป็นต้น ก่อนทดสอบการได้ยินของคนไข้[62]เสียงในหูจะประเมินด้วยการตรวจลักษณะการได้ยิน (audiogram) เช่น ความทุ้มแหลมและความดังเป็นต้น บวกกับการประเมินปัญหาทางจิตที่เกิดร่วมกันเช่น ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของเสียงในหู

ข้อกำหนดว่าอะไรเป็นเสียงในหูแบบเรื้อรัง เทียบกับประสบการณ์ที่มีตามธรรมชาติ ก็คือการมีเสียงในหูอย่างน้อย 5 นาทีอย่างน้อย 2 ครั้งต่ออาทิตย์[63]แต่ผู้ที่มีเสียงในหูเรื้อรังบ่อยครั้งก็ประสบปัญหาบ่อยกว่านี้ โดยอาจมีอย่างต่อเนื่องหรืออย่างเป็นปกติ เช่น ในเวลากลางคืนซึ่งเสียงในสิ่งแวดล้อมมีน้อยเกินที่จะกลบเสียงในหู

โสตวิทยา

เพราะผู้มีเสียงในหูโดยมากก็เสียการได้ยินด้วย การทดสอบด้วยเสียงสูงต่ำเดี่ยว ๆ (pure tone audiometry) แสดงเป็นกราฟการได้ยิน (audiogram) ก็อาจช่วยวินิจฉัยเหตุ ถึงแม้ก็มีผู้ที่ไม่เสียการได้ยินด้วยเหมือนกันที่มีเสียงในหูกราฟการได้ยินอาจช่วยให้ปรับเครื่องช่วยฟังสำหรับคนที่เสียการได้ยินอย่างสำคัญโดยความทุ้มแหลมของเสียงในหูบ่อยครั้งจะอยู่ในพิสัยเดียวกับการได้ยินที่เสียไป

จิตสวนศาสตร์

ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย (LDL) ของกลุ่มคนไข้ภาวะหูไวเกินที่ไม่เสียการได้ยิน(เส้นบน) ขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยินปกติ(เส้นล่างยาว) LDL ของคนไข้กลุ่มนี้(เส้นล่างสั้น) LDL ของคนปกติ[64]

การวัดลักษณะต่าง ๆ ของเสียงในหูรวมความทุ้มแหลมหรือความถี่ถ้าเป็นเสียงในหูที่เป็นเสียงเดียว หรือเป็นพิสัยความถี่ในกรณีเป็นเสียงที่กระจายเป็นแถบความถี่, ความดังของเสียงเหนือขีดเริ่มได้ยินที่ความถี่นั้น ๆ (เป็นเดซิเบล), และระดับเสียงต่ำสุดที่จะกลบเสียงในหูนั้นได้เป็นต้น[65]ในกรณีโดยมาก พิสัยความถี่ของเสียงในหูจะอยู่ในระหว่าง 5,000-10,000 เฮิรตซ์[66]และดังระหว่าง 5-15 เดซิเบลเหนือขีดเริ่มได้ยิน[67]

ตัวแปรที่สำคัญอีกอย่างก็คือ residual inhibition ซึ่งเป็นการระงับหรือการหายไปอย่างชั่วคราวของเสียงในหูหลังจากใช้เสียงกลบ (masking) ระยะหนึ่งเพราะค่าวัดนี้อาจบ่งชี้ว่า อุปกรณ์สร้างเสียงกลบจะมีประสิทธิภาพในการรักษาแค่ไหน[68][69]

แพทย์อาจจะประเมินว่ามีสภาวะไวเสียงเกิน (hyperacusis) ซึ่งบ่อย ๆ เกิดพร้อมกับเสียงในหูด้วยหรือไม่[70][71]สิ่งที่วัดก็คือ ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย (LDL) โดยมีหน่วยเป็นเดซิเบล และเป็นระดับความดังเหนือขีดเริ่มเปลี่ยนของความถี่ต่าง ๆ ที่มนุษย์สามารถได้ยินเป็นพิสัยความต่างระหว่างขีดเริ่มได้ยินที่ความถี่นั้น ๆ กับความดังที่ทำให้ไม่สบาย

พิสัยความต่างที่แคบลงในพิสัยความถี่หนึ่ง ๆ เช่นนี้ สัมพันธ์กับสภาวะไวเสียงเกินที่เป็นอัตวิสัย[72]ขีดเริ่มได้ยินปกติ โดยทั่วไปจะกำหนดเป็น 0 – 20 เดซิเบลส่วนระดับความดังที่ทำให้รู้สึกไม่สบายปกติจะอยู่ที่ 85 – 90+ เดซิเบลโดยมีนักวิชาการที่อ้างค่าถึง 100 เดซิเบล พิสัยความต่างระหว่างระดับความดังที่ไม่สบายกับขีดเริ่มได้ยินที่ 55 เดซิเบลหรือน้อยกว่านั้นจัดว่า เป็นสภาวะไวเสียงเกิน[73][74]

ความรุนแรง

ภาวะนี้บ่อยครั้งจัดระดับความรุนแรงเริ่มตั้งแต่ "เล็กน้อย" (slight) จนถึง "รุนแรงมาก" (catastrophic) ตามผลที่มันมี เช่น กวนการนอน กวนการพักผ่อน หรือกวนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน[75]ในกรณีสุด ๆ กรณีหนึ่ง ชายผู้หนึ่งฆ่าตัวตายหลังจากหมอบอกว่า รักษาให้หายไม่ได้[76]

การประเมินทางจิตวิทยารวมทั้งการวัดความรุนแรงของอาการและความทุกข์ที่เกิด (เช่น ลักษณะและความมากน้อยของปัญหาเนื่องกับเสียงในหู) ที่วัดโดยแบบคำถามซึ่งได้ประเมินความสมเหตุสมผลแล้ว[27]แบบคำถามเหล่านี้วัดความทุกข์ทางใจและความพิการที่เกิดเนื่องจากเสียงในหู รวมทั้งผลต่อการได้ยิน วิถีชีวิต และจิตใจ[77][78][79]อนึ่ง การประเมินการใช้ชีวิตทั่วไปรวมทั้งระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความเครียด สิ่งที่ทำให้เครียด และปัญหาการนอน ก็สำคัญในการประเมินอาการนี้ด้วย เพราะเสียงในหูอาจมีผลต่อปัญหาเหล่านี้ หรือปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เสียงในหูแย่ลง[80]

โดยทั่วไปแล้ว การประเมินทั้งหมดก็เพื่อกำหนดระดับความทุกข์และการรบกวนชีวิตต่อบุคคล กำหนดการตอบสนองและการรับรู้/ความสำนึกต่อเสียงในหู เพื่อปรับวิธีการรักษาและการเฝ้าสังเกตผลอย่างไรก็ดี เพราะวิธีการประเมินผลที่ใช้ต่าง ๆ กัน บางครั้งก็ไม่สอดคล้องกัน และไม่มีมติร่วมกัน ดังที่พบในวรรณกรรมการแพทย์ต่าง ๆ จึงทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบประสิทธิผลชอวิธีการรักษาต่าง ๆ ได้[81]

แบบเป็นจังหวะ

ถ้าแพทย์ตรวจพบเสียงที่เกิดจากเลือดที่ไหลอย่างปั่นป่วน (bruit) การตรวจโดยทำภาพเช่น transcranial doppler (TCD) หรือ magnetic resonance angiography (MRA) อาจจำเป็น[82][83][84]

การวินิจฉัยแยกโรค

แหล่งเสียงอื่น ๆ ที่ฟังคล้ายกับเสียงในหูจะต้องกันออกแหล่งเสียงความถี่สูงที่รู้จักกันดีรวมทั้งสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดเนื่องกับสายไฟ ตลอดจนวิธีการส่งสัญญาณเสียงต่าง ๆ เรื่องที่มักวินิจฉัยผิดเพราะคล้ายเสียงในหูอย่างหนึ่งก็คือ เสียงคลื่นวิทยุ คือมีคนไข้ซึ่งตรวจพบว่าสามารถได้ยินคลื่นความถี่วิทยุที่มีเสียงแหลมและฟังคล้ายกับเสียงในหู[85][86]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสียงในหู http://www.discoverymedicine.com/Yvonne-Chan/2009/... http://www.diseasesdatabase.com/ddb27662.htm http://site.ebrary.com/lib/alltitles/docDetail.act... http://www.emedicine.com/ent/topic235.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=388.... http://www.springerlink.com/content/m172lg/#sectio... http://www.springerlink.com/content/p0718202461867... http://successforkidswithhearingloss.com/wp-conten... http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ringing-in-the-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/1465185...