อาการ ของ เสียงในหู

เสียงในหูอาจได้ยินจากหูข้างเดียว ทั้งสองข้าง หรือว่าจากภายในศีรษะคำภาษาอังกฤษว่า tinnitus เป็นคำบ่งลักษณะของเสียงภายในศีรษะของบุคคลเมื่อไม่มีตัวกระตุ้นทางหูจริง ๆ ซึ่งเป็นเสียงหลายอย่างแต่ที่คนไข้บอกมากที่สุดก็คือเป็นเสียงสูงต่ำเสียงเดียวแม้ปกติคนไข้จะบอกว่าเป็นเสียงเหมือนตีระฆัง/เสียงโทรศัพท์ แต่ในคนไข้อื่น ๆ จะเป็นเสียงสูงหงิง ๆ เสียงหึ่ง ๆ เหมือนในสายไฟ เสียงฟู่ เสียงฮัม เสียงเหมือนลูบแก้วคริสตัล เสียงผิวปาก เสียงนาฬิกา เสียงแก๊ก ๆ เสียงดังกระหึ่ม เสียงจิ้งหรีด เสียงกบต้นไม้ เสียงตั๊กแตน เสียงจักจั่น ทำนองเพลง เสียงบี๊ป ๆ เสียงแฉ่ ๆ เหมือนกระทะร้อน เสียงคล้าย ๆ เสียงคน เสียงสูงต่ำเดียวยาว ๆ เช่นดังที่ใช้เพื่อทดสอบการได้ยินยังมีคนไข้บอกด้วยว่าเป็นเสียงลมหรือเสียงคลื่น[12][13][14][5]

เสียงในหูอาจจะได้ยินเป็นครั้งเป็นคราวหรืออาจจะได้ยินอย่างต่อเนื่อง ในกรณีหลัง นี่อาจทำให้เป็นทุกข์มากในคนไข้บางคน ความดังของเสียงอาจเปลี่ยนตามการเคลื่อนไหวของไหล่ ศีรษะ ลิ้น ขากรรไกร และตา[15]

คนไข้โดยมากที่ได้ยินเสียงในหูจะเสียการได้ยินไปแล้วเป็นบางส่วน[16]คือบ่อยครั้งจะไม่สามารถได้ยินอย่างชัดเจนซึ่งเสียงจริง ๆ ภายนอกร่างกายที่อยู่ในพิสัยความถี่เดี่ยวกันกับเสียงที่ได้ยินในหู[17]ซึ่งทำให้มีการเสนอว่า เหตุอย่างหนึ่งของเสียงในหูอาจจะเป็นการตอบสนองเพื่อธำรงดุลของเซลล์ประสาทการได้ยินใน dorsal cochlear nucleus ซึ่งทำให้มันทำงานมากเกินเพื่อชดเชยเสียงที่ขาดหายไปเพราะไม่ได้ยิน[18]

เสียงอาจดังเป็นเพียงเสียงพื้นหลังค่อย ๆ จนกระทั่งเป็นเสียงที่ยังได้ยินแม้เมื่อเสียงภายนอกดังมากเสียงในหูแบบหนึ่งที่เรียกว่าเสียงในหูเต้นเป็นจังหวะ (pulsatile tinnitus) เป็นการได้ยินเสียงชีพจรหรือการหดเกร็งกล้ามเนื้อของตนเอง ซึ่งปกติเป็นเสียงจากการขยับกล้ามเนื้อใกล้ ๆ หู หรือการเปลี่ยนแปลงภายในช่องหู หรือเสียงเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดภายในคอหรือใบหน้า[19]

การดำเนินของโรค

เนื่องจากความต่าง ๆ ในการออกแบบงานศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินของโรคจึงไม่ค่อยคงเส้นคงวาโดยทั่วไป ความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุในผู้ใหญ่ ส่วนความรำคาญต่อเสียงทั่วไปจะลดไปเอง[20][21][22]

จิตใจ

เสียงในหูแบบคงยืนอาจทำให้วิตกกังวลและซึมเศร้า[23][24]สภาพจิตใจเป็นปัจจัยให้รำคาญเสียงยิ่งกว่าความดังและความถี่เสียงที่ได้ยิน[23][25][26]ผู้ที่รู้สึกรำคาญเสียงในหูมากกว่าจะมีปัญหาทางจิตใจอย่างสามัญรวมทั้งความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปัญหาการนอน และการไม่มีสมาธิ[23][27][28] 45% ของคนไข้ที่มีเสียงในหู จะมีโรควิตกกังวลในช่วงหนึ่งของชีวิต[29]

งานทางจิตวิทยาได้ตรวจดูปฏิกิริยาโดยความเป็นทุกข์ต่อเสียงในหู (TDR) เพื่ออธิบายว่า ทำไมคนไข้จึงมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน[27]งานแสดงว่า เมื่อได้ยินเสียงในหูเป็นครั้งแรก การสร้างภาวะของเสียงเนื่องกับสิ่งเร้าที่ไม่น่ายินดีในเวลานั้น จะเชื่อมเสียงในหูกับอารมณ์เชิงลบ เช่น ความกลัวและความวิตกกังวลงานแสดงว่า เมื่อได้ยินเสียงในหูในช่วงแรก ๆ มีการปรับภาวะเชื่อมเสียงกับอารมณ์ที่ไม่น่ายินดี เช่นความกลัวและความวิตกกังวลที่เกิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าในเวลานั้นซึ่งเพิ่มการทำงานของระบบลิมบิกและระบบประสาทอิสระ แล้วจึงเพิ่มความสำนึกและความรำคาญต่อเสียงในหู[30]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสียงในหู http://www.discoverymedicine.com/Yvonne-Chan/2009/... http://www.diseasesdatabase.com/ddb27662.htm http://site.ebrary.com/lib/alltitles/docDetail.act... http://www.emedicine.com/ent/topic235.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=388.... http://www.springerlink.com/content/m172lg/#sectio... http://www.springerlink.com/content/p0718202461867... http://successforkidswithhearingloss.com/wp-conten... http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ringing-in-the-... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/1465185...