คุณค่าของเรื่องเสือโคคำฉันท์ ของ เสือโคคำฉันท์

เป็นวรรณคดีไทยที่มีคุณค่าสูงเรื่องหนึ่ง เป็นฉันท์เรื่องแรกที่มีความยาวเป็นพิเศษ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ เพื่อสอนคติธรรมโดยอาศัยเค้าโครงมาจากปัญญาสชาดก บทสุดท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพสองบท

เนื้อเรื่องกล่าวถึงลูกโคและลูกเสือซึ่งเกิดมีความผูกพันกัน เริ่มจากในวันหนึ่งซึ่งลูกเสือถูกแม่ทิ้งไว้เกิดหิวนม ลูกวัวจึงให้กินนมจากแม่ของตน นับแต่นั้นมาทั้งสองก็เป็นสหายรักใคร่กัน ลูกเสือขอให้แม่อย่าทำร้ายลูกโคและแม่โค วันหนึ่งแม่เสือผิดสัญญา ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย พระฤๅษีถอดหัวใจของทั้งสองใส่ไว้ในพระขรรค์วิเศษคนละเล่ม มอบให้ดูแลรักษา

เมื่อทั้งสองเดินทางมาถึง จันทบูรนคร สามารถปราบยักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองได้ พหลวิชัยได้อภิเษกสมรสกับ นางสุรสุดา พระธิดาของพระเจ้ามคธ คาวีเดินทางไปจนถึงรมยนคร เห็นกลองใบใหญ่เมื่อผ่าออกดูพบ นางจันทร์ผมหอม หรือ นางจันทร์สุดา หรือ นางจันทรวรา (ซึ่งมีผมหอม) พระธิดาของท้าวมัททราชและนางแก้วเกสรคาวีประหารนกอินทรีใหญ่ที่มากินชาวเมืองรมยนครได้อภิเษกสมรสกับนางจันทร์ผมหอม

วันหนึ่งนางอาบน้ำแล้วนำเส้นผมใส่ผอบปล่อยลอยน้ำไป พระเจ้ายศภูมิ (หรือท้าวสันนุราช) แห่งเมืองพัทธพิสัยทรงพบผมหอมบังเกิดความลุ่มหลง ใช้อุบายให้คนนำพระขรรค์ของคาวีไปเผาไฟชิงนางจันทร์มาได้สำเร็จแต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้เพราะตัวนางจะร้อนเป็นไฟ อันเนื่องมาจากอำนาจความซื่อสัตย์ต่อสามี

พหลวิชัยตามหาคาวีจนพบ ชุบชีวิตให้คืนชีพ จากนั้นพหลวิชัยปลอมตัวเป็นฤๅษีหลอกทำพิธีชุบตัวให้พระเจ้ายศภูมิกลับเป็นหนุ่ม เมื่อสบโอกาสจึงผลักลงหลุมไฟ คาวีกับนางจันทร์ผมหอมจึงได้ครองเมืองพัทธพิสัยสืบต่อมา