โครงสร้าง ของ เส้นใยประสาทนำเข้า

ระเบียบระบบประสาท ระบบสั่งการ (Motor) และระบบรับความรู้สึก (Sensory)

เซลล์ประสาทนำเข้าเป็นเซลลประสาทขั้วเดียวเทียม (pseudounipolar neuron) ซึ่งมีแอกซอนเดียวที่ออกจากตัวเซลล์แล้วแบ่งเป็น 2 สาขา สาขายาวส่งไปที่อวัยวะรับความรู้สึก และสาขาสั้นส่งไปทางระบบประสาทกลาง (เช่นไขสันหลัง)[5]เซลล์เช่นนี้ไม่มีเดนไดรต์[6]มีตัวเซลล์ (soma) กลมเรียบอยู่ที่ปมประสาท (ganglion) ของระบบประสาทนอกส่วนกลางนอกไขสันหลังเล็กน้อย มีเซลล์ประสาทนำเข้าอยู่รวมกันเป็นพัน ๆ เป็นปมที่รากหลังของประสาทไขสันหลังซึ่งเรียกว่า ปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion)[5][6]

แอกซอนจากปมประสาทรากหลัง (dorsal root ganglion) ซึ่งเป็นเส้นใยประสาทนำเข้า ใช้ส่งข้อมูลความรู้สึกทางกายรวมทั้งความเจ็บปวด สัมผัส อุณหภูมิ ความคัน และแรงยืดยกตัวอย่างเช่น มีใยประสาทพิเศษชนิดหนึ่งเรียกว่า intrafusal muscle fiber เป็นเซลล์ประสาทนำเข้าที่อยู่ขนานกับ extrafusal muscle fibers และทำหน้าที่เป็นตัวรู้ความยืด (stretch receptor) โดยตรวจจับความยาวของกล้ามเนื้อ[5]

ความรู้สึกทั้งหมดเหล่านี้ดำเนินไปทางวิถีประสาทต่าง ๆ กันไปยังสมองเช่น วิถีประสาทหนึ่งที่เรียกว่า dorsal column-medial lemniscus pathway ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาจากร่างกายรวมศีรษะครึ่งหลัง ผ่านเส้นใยประสาทนำเข้าของปมประสาทรากหลัง (เป็น first order neuron) ผ่านไขสันหลังไปยังทาลามัส แล้วต่อไปยังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย โดย first order neuron ส่งแอกซอนขึ้นผ่าน dorsal column ในไขสันหลังซีกร่างกายเดียวกันไปยัง second order neuron ที่ dorsal column nuclei ในก้านสมองซีกกายเดียวกัน ซึ่งก็ส่งแอกซอนข้ามไขว้ทแยง (decussate) ที่ medulla (ในก้านสมองเช่นกัน) ผ่าน medial lemniscus ไปยัง third order neuron ในทาลามัสซึ่งก็จะส่งแอกซอนไปสุดที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex/postcentral gyrus) ของสมองกลีบข้าง[7]

ดูเพิ่มที่ วิถีประสาทของระบบรับความรู้สึกทางกาย

ประเภท

ประเภทของใยประสาทนำเข้ารวมทั้ง general somatic afferent fibers (GSA), general visceral afferent fibers (GVA), special somatic afferent fibers (SSA) และ special visceral afferent fibers (SVA)

อนึ่ง ในระบบรับความรู้สึก ใยประสาทนำเข้าจะมีขนาดต่าง ๆ โดยจัดเป็นหมวด ๆ ขึ้นอยู่ว่าเป็นใยประสาทจากกล้ามเนื้อหรือที่ผิวหนัง[8][9][10]

ประเภทใยประสาทรับความรู้สึก (sensory fiber)
ปลอกไมอีลิน เส้นผ่าศูนย์กลาง (µm) ความเร็ว (m/s) จากกล้ามเนื้อ จากผิวหนัง ตัวรับความรู้สึก
หนา 12-20 72-120 I ตัวรับแรงกลเกี่ยวกับอากัปกิริยา (Muscle spindle, Golgi tendon organ)
กลาง 6-12 35-75 II Merkel, Meissner, Pacinian, Ruffini, Muscle spindle (secondary ending)
บาง 1-6 4-36 III ปลายประสาทอิสระ
ไม่มี 0.2-1.5 0.4-2.0 IV C ปลายประสาทอิสระ