เหตุผลวิบัติในการวางแผน
เหตุผลวิบัติในการวางแผน

เหตุผลวิบัติในการวางแผน

เหตุผลวิบัติในการวางแผน (อังกฤษ: planning fallacy) ที่แดเนียล คาฮ์นะมัน (รูป) และอะมอส ทเวอร์สกี้เป็นผู้เสนอในปี ค.ศ. 1979[1][2]เป็นปรากฏการณ์ที่การพยากรณ์ของเราว่า จะใช้เวลานานเท่าไรในการทำงานหนึ่งให้เสร็จ จะปรากฏว่ามีความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimistic bias) คือจะมีการประเมินเวลาต่ำเกินไปเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่ว่า งานคล้าย ๆ กันในอดีตความจริงแล้วใช้เวลามากกว่าที่วางแผนและประเมินไว้[3][4][5] ความเอนเอียงนี้จะเกิดเมื่อประเมินงานของตัวเองเท่านั้น แต่ถ้าคนอื่นประเมินให้ ก็จะมีความเอนเอียงโดยมองในแง่ร้าย และเวลาที่ประเมินก็จะมากเกินไป[6][7] นิยามของความเอนเอียงกำหนดว่า การพยากรณ์เวลาที่จะใช้ทำงานปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2003 คาฮ์นะมันและคณะได้เสนอนิยามที่ครอบคลุมมากขึ้นว่า เป็นแนวโน้มที่จะประเมินเวลา ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงสำหรับงานที่จะทำในอนาคตต่ำเกินไป และในขณะเดียวกันจะประเมินประโยชน์ที่ได้สูงเกินไปตามคำนิยามนี้ เหตุผลวิบัติในการวางแผนมีผลไม่ใช่เป็นการใช้เวลามากเกินไปเท่านั้น แต่จะมีผลเป็นค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณ และประโยชน์ที่น้อยกว่าที่วางแผนไว้ด้วย[8]

ใกล้เคียง

เหตุผลวิบัติ เหตุผลวิบัติของนักการพนัน เหตุผลวิบัติในการวางแผน เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน เหตุผล เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเท็กซัส เหตุผลวิบัติเพราะการคืนสภาพ เหตุผลวิบัติโดยอุดมคติเพ้อฝัน เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์ เหตุผลวิบัติไฟไหม้ฟาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุผลวิบัติในการวางแผน http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://ll3md4hy6n.scholar.serialssolutions.com/?si... http://ll3md4hy6n.scholar.serialssolutions.com/?si... http://ll3md4hy6n.scholar.serialssolutions.com/?si... http://link.springer.com/article/10.3758%2FMC.36.4... http://eds.a.ebscohost.com.gate.lib.buffalo.edu/eh... http://eds.a.ebscohost.com.gate.lib.buffalo.edu/eh... http://eds.a.ebscohost.com.gate.lib.buffalo.edu/eh... http://eds.a.ebscohost.com.gate.lib.buffalo.edu/eh... http://www.psych.nyu.edu/trope/Ledgerwood%20et%20a...