เหยี่ยวเพเรกริน
เหยี่ยวเพเรกริน

เหยี่ยวเพเรกริน

เหยี่ยวเพเรกริน (อังกฤษ: Peregrine falcon, Peregrine; ชื่อวิทยาศาสตร์: Falco peregrinus) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม (Falconidae)เหยี่ยวเพเรกริน เป็นนกที่บินได้เร็วมาก โดยทำความเร็วที่ได้ 321-563 กิโลเมตร/ชั่วโมง และทำความเร็วได้สูงที่สุดเมื่อพุ่งดิ่งลงจากที่สูง ถ้าบินระดับแนวนอนปกติ จะอยู่ที่ความเร็วประมาณ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หากดิ่งลงมาจากที่สูงสามารถทำความเร็วได้ถึง 89-57 เมตร/วินาที นับเป็นนกที่บินได้เร็วที่สุดในโลก และสามารถเพิ่มความเร็วได้ขณะบินได้ถึง 130 ไมล์/ชั่วโมง ด้วยเวลาไม่ถึง 1 วินาที ซึ่งถือว่าเร็วกว่ารถสปอร์ตเสียอีก และนับเป็นสัตว์ที่มีความเร็วที่สุดในอาณาจักรสัตว์ทั้งหมด[2][3]ซึ่งในความเร็วระดับนี้ ลมจะเข้าไปในโพรงจมูกของเหยี่ยวเพเรกริน ซึ่งแรงพอที่จะทำให้สลบได้ แต่ในโพรงจมูกของเหยี่ยวเพเรกรินจะมีกระดูกอีกชั้นหนึ่งสำหรับกันลม[3]เหยี่ยวเพเรกรินตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยเฉลี่ยมีขนาดลำตัวประมาณ 34-58 เซนติเมตร (13–23 นิ้ว) และเมื่อกางปีกจะกว้างได้ถึง 74-120 เซนติเมตร (29–47 นิ้ว)[4][5]เป็นนกที่กระจายพันธุ์ได้กว้างไกลในหลายพื้นที่ของโลก ล่านกและสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยเฉพาะนกพิราบ[3] มีความแตกต่างกันออกไปของสีขนและลักษณะขน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 16 ชนิด (ดูในตาราง)[6] แต่โดยทั่วไป ส่วนหัวและแถบหนวดดำตัดกับข้างแก้มและคอสีขาวเป็นแถบใหญ่ สำหรับในประเทศไทย ชนิดย่อย F. p. japonensis มีลำตัวด้านบนเทาเข้ม ลำตัวด้านล่างขาว อกมีลายจุดเล็ก ๆ ลำตัวด้านล่างมีลายละเอียดต่อกันตามขวาง ขณะบินปีกกว้าง ปลายมนกว่าชนิดอื่น ๆ ใต้ปีกขาวมีลายดำหนาแน่นที่ขนคลุมใต้ปีก ชนิดย่อย F. p. peregrinator ลำตัวด้านล่างแกมน้ำตาลแดง และชนิดย่อย F. p. ernesti พบในพื้นที่ภาคใต้ มีแก้มสีดำ หัวและลำตัวสีคล้ำมาก อกค่อนข้างเรียบ มีลายขวางหนาแน่นที่ท้องทำให้ลำตัวด้านล่างเป็นสีดำขณะที่ยังเป็นวัยอ่อนมีลายขีดที่อกและท้อง ลำตัวด้านบนแกมน้ำตาลมากกว่านกเต็มวัย ในชนิดย่อย F. p. peregrinator อกและท้องลาย แซมด้วยสีน้ำตาลแดงถึงท้องด้านล่าง ในประเทศไทย มีถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ในบริเวณพื้นที่เปิดโล่ง, ชายฝั่งทะเล, หน้าผา หรือที่ราบถึงความสูง 2,565 เมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยถือเป็นนกอพยพที่หายากชนิดหนึ่ง[7][8][9]