การพัฒนา ของ เอฟ-22_แร็พเตอร์

ในปีพ.ศ. 2524 กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีความต้องการสร้างเครื่องบินขับไล่ชั้นยอดแบบใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทนเอฟ-15 อีเกิล ทั้งแบบเอ บี ซี และดี เครื่องบินขับไล่ใหม่เป็นโครงการสาธิตที่ดูแลโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อสร้างเครื่องบินขับไล่ยุคใหม่เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามทั่วโลกที่ร้ายแรงขึ้น รวมทั้งการพัฒนาและเพิ่มขึ้นอย่างมากของเครื่องบินขับไล่ซู-27 "แฟลงเกอร์"ของโซเวียต เป็นที่คาดกันว่าเครื่องบินแบบใหม่นี้จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีวัสดุแบบใหม่ ทั้งอัลลอยพิเศษและวัสดุแบบผสม ระบบควบคุมการบินแบบใหม่ ระบบขับเคลื่อนที่ทรงพลัง และเทคโนโลยีล่องหน

การขอข้อเสนอเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมพ.ศ. 2529 และมีผู้ทำสัญญาสองกลุ่มคือล็อกฮีด/โบอิง/เจเนรัล ไดนามิกส์และนอร์ทธรอป/แมคดอนเนลล์ ดักลาสถูกเลือกในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2529 เพื่อควบคุมดูแลกระบวนการทำงาน 50 เดือนโดยมีรุ่นต้นแบบออกมาสองลำคือวายเอฟ-22 และวายเอฟ-23

ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2534 กองทัพอากาศได้ยุติการออกแบบและทดสอบการบินโดยประกาศว่าวายเอฟ-22 ของล็อกฮีดมาร์ตินคือผู้ชนะ มันเป็นที่คาดกันว่าในช่วงเวลานั้นมีการสั่งซื้อเครื่องบิน 650 ลำ[5]

เข้าสู่การผลิต

ไฟล์:F-22 assembling1.jpgเอฟ-22 แร็ปเตอร์ลำแรกกำลังถูกพ่นสีในโรงประกอบของล็อกฮีด มาร์ตินที่มาเรียทต้าที่จอร์เจีย

การผลิตครั้งแรกของเอฟ-22 ถูกส่งให้กับฐานทัพอากาศเนลลิสในเนวาดาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2546 และในพ.ศ. 2547 มีแร็ปเตอร์ 51 ลำถูกส่ง

เอฟ-22 ลำแรกที่ตกเกิดขึ้นขณะนำเครื่องขึ้นที่ฐานทัพอากาศเนลลิสในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนักบินสามารถดีดตัวออกได้อย่างปลอดภัยก่อนการตก[6] การสืบสวนเผยว่าเครื่องยนต์หยุดชะงักเป็นผลให้เกิดการขัดข้องในระบบการบิน[7] ดังนั้นการออกแบบเครื่องบินจึงถูกทำให้ดีขึ้นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ทำสัญญาหลายปีมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กับล็อกฮีด มาร์ตินซึ่งจะยืดการผลิตออกไปถึง พ.ศ. 2554[8] และเมื่อถึงปีพ.ศ. 2551 เอฟ-22 แร็ปเตอร์ถูกจัดซื้อปีละ 20 ลำ[3]

ในแบบแผนเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ล็อกฮีด มาร์ตินก็ผลิตเอฟ-22 แร็ปเตอร์ครบ 100 ลำโดยมีเลขรหัส 50-4100[9]

การจัดซื้อ

เอฟ-22 สองลำกำลังบินทดสอบ

ในตอนแรกกองทัพอากาศสหรัฐฯ วางแผนที่จะสั่งซื้อเครื่องบินใหม่นี้ 750 ลำพร้อมกับการผลิตใน พ.ศ. 2537 อย่างไรก็ตามได้มีการเปลี่ยนแผนในปีพ.ศ. 2533 เพิ่มขึ้นเป็น 648 ลำโดยเริ่มใน พ.ศ. 2539 เป้าหมายถูกเปลี่ยนอีกครั้งใน พ.ศ. 2537 เมื่อมันกลายมาเป็นเครื่องบินจำนวน 442 ลำที่เข้าประจำการใน พ.ศ. 2546 หรือ 2547 แต่รายงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อพ.ศ. 2540 บอกว่ามีการซื้อเป็นจำนวน 339 ลำ ในพ.ศ. 2546 กองทัพอากาศได้บอกว่าถูกทางสภากำหนดให้ซื้อได้เพียง 277 ลำ ในปีพ.ศ. 2549 เพนตากอนกล่าวว่าจะมีการซื้อเครื่องบินจำนวน 183 ลำซึ่งจะช่วยลดไป 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เพิ่มราคาของเครื่องบินแต่ละเครื่องแทนและแผนดังกล่าวอันที่จริงแล้วได้รับอนุมัติจากสภาในรูปแบบของการจัดซื้อระยะยาว ซึ่งยังคงเปิดความเป็นไปได้ในการสั่งซื้อเพิ่ม ราคาทั้งสิ้นของโครงการในปีพ.ศ. 2549 คือ 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10]

ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2549 ราคาของเอฟ-22 ถูกกำหนดโดยสำนักงานบัญชีรัฐบาลให้มีราคาอยู่ที่ลำละ 361 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราคานี้สะท้อนให้เห็นราคาของโครงการเอฟ-22 ทั้งหมดโดยแบ่งตามจำนวนของเครื่องบินรบที่กองทัพอากาศวางแผนจะซื้อ และซึ่งได้มีการลงทุนไป 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการวิจัย การพัฒนา และการทดสอบเอฟ-22 เงินนั่น ราคาการจัดซื้อถูกคาดว่าจะอยู่ที่ 177.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2549 โดยมีหลักจากการผลิตโครงสร้าง 181 โครง[11] ราคาต่อหน่วยนี้จะลดลงหากว่าจำนวนโดยรวมของการผลิตสูงขึ้น ราคานี้ยังรวมทั้ง 3.233 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ได้ใช้จ่ายไปกับการพัฒนาและการวิจัยเรียบร้อยแล้วในปี 2549[12]

เมื่อเครื่องบินรบทั้ง 183 ลำได้ซื้อมาเรียบร้อยแล้ว เงินจำนวน 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็จะถูกใช้ไปกับการจัดซื้อจริงๆ ส่งผลให้ราคาของโครงการทั้งสิ้นอยู่ที่ 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณลำละ 336 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราคาที่เพิ่มขึ้นสำหรับเอฟ-22 ที่เพิ่มเข้ามาคือประมาณ 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] ลดลงด้วยปริมาณที่มากขึ้น หากกองทัพอากาศจะซื้อเอฟ-22 เพิ่มอีก 100 ลำในปัจจุบัน ราคาของแต่ละลำก็จะลดลง[10]

เอฟ-22 บินเหนือรัฐยูทาห์หลังจากเข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม

เอฟ-22 ไม่ใช่เครื่องบินที่มีราคาแพงที่สุด เครื่องบินที่มีราคาแพงที่สุดคือเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-2 สปิริท ราคาลำละ 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการปรับลดจำนวนการสั่งซื้อจาก 132 ลำ เหลือเพียง 21 ลำเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็น เอฟ-22 ใช้ส่วนประกอบที่ดูดซับคลื่นเรดาร์น้อยกว่าเอฟ-117 ไนท์ฮอว์คซึ่งคาดว่าจะใช้ราคาในการดูแลรักษาน้อยกว่า

ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ล็อกฮีด มาร์ตินได้รับสัญญาหลายปีสำหรับสร้างเอฟ-22 จำนวน 60 ลำโดยมีมูลค่า 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8][13] สัญญาได้นำเอฟ-22 จำนวนมากเข้ารายการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเป็ฯ 183 และยืดการผลิตจนถึงปีพ.ศ. 2554[8]

ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมพ.ศ. 2550 มีเครื่องบินเอฟ-15 เก่าเกือบ 700 ลำ ถูกระงับการบิน วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ บางคนต้องการให้มีการแถลงการถึงการสนับสนุนการสร้างเอฟ-22 แร็ปเตอร์เพิ่มจากเดิมที่วางแผนกันเอาไว้ 183 ลำ[14] กองทัพอากาศสหรัฐฯ เรียกร้องถึงเอฟ-22 ที่ยังอยู่ในการผลิตหลังจากเครื่องบินรบ 183 ลำที่วางแผนเอาไว้ นี่เชื่อว่าเป็นการรับผิดชอบเอฟ-15เอ-ดีที่ยังคงไม่ได้ขึ้นบิน[15]

ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551 เพนตากอนได้ประกาศว่าจะขอสภาให้อนุมัติทุนในการซื้อเอฟ-22 เพิ่ม เพื่อทดแทนเครื่องบินที่สูญเสียไปในการรบ และยื่นข้อเสนอเงินจำนวน 497 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะใช้เพื่อปิดสายการผลิตเอฟ-22 เพื่อนำไปซื้อเอฟ-22 เพิ่มอีกสี่ลำแทน เป็นการทำให้สายการผลิตยังอยู่จนถึง พ.ศ. 2554 และรอให้เจ้าหน้าที่บริหารรัฐบาลคนต่อไปมีทางเลือกที่จะซื้อเอฟ-22 เพิ่มได้[16] ทุนมีมากพอสำหรับปิดสายการผลิต อย่างไรก็ตามมันถูกจัดการโดยทิน่า ดับบลิว โจนาสจากเพนตากอนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เพื่อใช้ให้ทุนกับการซ่อมแซมกองบินเอฟ-15 อีเกิล เกิดขึ้นจากอากาศยานที่อยู่บนพื้นทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2550 การเบนเข็มมีผลกระทบเหมือนกับการเลื่อนการตัดสินใจในการปิดสายการผลิตเอฟ-22 จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2552[17][18] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เพนตากอนได้ปล่อยเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ยืนยันโดยสภาเพื่อซื้อชิ้นส่วนให้กับเครื่องบินสี่ลำ ดังนั้นทิ้งให้โครงการแร็ปเตอร์อยู่ในมือของโอบาม่า[19] ทุนเพิ่มเติมเพื่อทำให้เครื่องบินอีกสี่ลำสมบูรณ์จะถูกนำมาให้ในสงครามในอนาคตซึ่งจะทำให้มีเครื่องบินทั้งหมด 187 ลำ

ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2552 วุฒิสมาชิกบาร์นี แฟรงค์ประธานของคณะกรรมการทางการเงินของสหรัฐฯ ได้ใช้เอฟ-22 เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นการใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลืองของกองทัพและดูเหมือนจะยื่นข้อเสนอยุติการให้ทุนกับโครงการทั้งหมด แฟรงค์สนับสนุนการลดทุนทางทหารทั้งหมดของสหรัฐฯ ลง 25%[20]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอฟ-22_แร็พเตอร์ http://www.naa.aero/html/awards/shwNews.cfm?newsid... http://www.airforce-magazine.com/DRArchive/Pages/2... http://www.aviationnow.com/avnow/news/channel_defe... http://www.aviationnow.com/search/AvnowSearchResul... http://www.aviationtoday.com/pressreleases/14543.h... http://www.aviationweek.com/aw/generic/story_chann... http://www.aviationweek.com/aw/generic/story_chann... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601103&si... http://money.cnn.com/news/newsfeeds/articles/djf50... http://www.cnn.com/2004/US/12/22/fighter.crash/ind...