องค์ประกอบ ของ เอเชียนเกมส์_2014

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

Incheon
ตำแหน่งเมืองอินช็อนในประเทศเกาหลีใต้
ผลการตัดสิน
เมืองประเทศคะแนน
อินช็อน เกาหลีใต้32
เดลี อินเดีย13

เมืองที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 2014 มีทั้งสิ้น 2 เมือง ได้แก่ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และเมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ หลังจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006

สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้คัดเลือกเมืองเจ้าภาพระหว่างการประชุมที่กรุงคูเวตซิตี ประเทศคูเวตเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 ในการนำเสนอในรอบสุดท้าย เมืองอินช็อนของเกาหลีใต้ได้นำเสนอถึงการลงทุนสำหรับการแข่งขันกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการเดินทางและที่พักฟรีสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด ส่วนกรุงนิวเดลีของอินเดียไม่ได้นำเสนออะไร ปรากฏว่าอินช็อนได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจากที่เสนอตัว

หลังจากการลงมติ ทำให้เกิดกระแสอย่างกว้างขวางถึงการขาดความกระตือรือร้นในการรับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพของกรุงนิวเดลี โดยรัฐมนตรีกระทรวงกีฬาของอินเดียได้รับการโจมตีจากประชาชนที่ยากจนอย่างมากว่า จะเป็นเรื่องที่ดีกว่า ถ้าเงินจัดสรรของรัฐบาลที่ใช้จัดการแข่งขันจะถูกนำมาใช้เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนยากจน โดยทางด้านของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นถึงความกังวล ด้านงบประมาณ และด้านมลพิษ หรือด้านจราจรในเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย

คำขวัญ

คำขวัญอย่างเป็นทางการ ถูกเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553 คือ Diversity Shines Here แปลว่า อณูแห่งความหลากหลาย เปล่งประกาย ณ ที่นี่ โดยในคำขวัญคำว่า อณูแห่งความหลากหลาย หมายถึง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนา ของชาวเอเชีย ที่แตกต่างกันไป

สัญลักษณ์

แมวน้ำ 3 ตัว มาสคอตประจำการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014

แมวน้ำ 3 ตัว ถูกเปิดตัวให้เป็นมาสคอตประจำการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่เกาะซงโด ประเทศเกาหลีใต้ ชื่อ "บาราเม", "ชูมือโร" และ "บีชูอน" ซึ่งชื่อเป็นภาษาเกาหลีแปลว่า ลม การเต้นรำ และแสงสว่าง ตามลำดับ อีกทั้งมาสคอตแมวน้ำ 3 ตัวนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์การเชื่อมมิตรภาพระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

ส่วนสัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นคล้ายตัว A ไม่มีขีดกลาง สีฟ้าและเขียว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายปีกซ้ายล้อมดวงอาทิตย์ เปรียบเสมือนชาวเอเชียจับมือกันกลางท้องฟ้า

สนามแข่งขัน

ทางเมือง อินช็อน ได้มีสนามการแข่งขัน 49 และสร้างขึ้นมาใหม่อีก 23 สนาม [2]และยังมีบ้านพักนักกีฬาและที่พักของสื่อมลวชน[3]

สนามกีฬาหลักของเมืองอินช็อนที่ใช้เปิดพิธีการแข่งขันคาดว่าที่นั่งประมาณ 61,000 ที่นั่ง และ 30,000 ที่นั่งอาจะเป็นตัวแปรของสนาม [4][5]

สนามแข่งขันกีฬาความจุการอ้างอิง
ดรีมพาร์กสเตเดียมกอล์ฟ, ว่ายน้ำ, ยิงปืน, ขี่ม้า1,000 – 1,500[6]
คังฮวาสเตเดียมเทควันโด, วูซู, จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์1,010 – 4,026[7]
คเยยังสเตเดียมแบดมินตัน, ยิงธนู[8]
มุนฮักพาร์กแท-ฮวันอะแควติกส์เซ็นเตอร์ว่ายน้ำ3,004[9]
นัมดงสเตเดียมยิมนาสติก, รักบี้5,200 – 8,100[10]
ซ็อนฮักสเตเดียมฮอกกี้, ยูโด, มวยปล้ำ2,050 – 5,010[11]
ชิบจ็องสเตเดียมเทนนิส, สควอช1,207 – 5,061[12]
ซงริมจิมเนเซียมวอลเลย์บอล5,010[13]
อินช็อนฟุตบอลสเตเดียมฟุตบอล20,000[14]

การเดินทาง

ระยะเวลาในการก่อสร้างรถไฟใต้ดินอินช็อนได้เสร็จสิ้นเร็วกว่าแผนที่วางไว้เดิมที่ปี ค.ศ. 2018

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอเชียนเกมส์_2014 http://news.gxnews.com.cn/staticpages/20140411/new... http://aroundtherings.com/articles/view.aspx?id=38... http://morning-news.bectero.com/sport/25-Sep-2014/... http://news.boxza.com/view/16873 http://english.chosun.com/w21data/html/news/200704... http://www.koreaherald.com/business/Detail.jsp?new... http://www.worldarchitecturenews.com/index.php?fus... http://www.korea.net/detail.do?guid=56410 http://web.archive.org/web/20100528101538/http://w... http://web.archive.org/web/20101124075241/http://w...