เอ็มพ็อกซ์
เอ็มพ็อกซ์

เอ็มพ็อกซ์

โรคฝีดาษลิง (อังกฤษ: monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง (MPXV) ที่พบเกิดขึ้นในสัตว์บางชนิด รวมถึงมนุษย์[7] อาการเบื้องต้นคือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม และรู้สึกเหนื่อย[8] ตามมาด้วยผื่นที่ก่อให้เกิดตุ่มพองและสะเก็ดตามผิวหนัง[1] ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12 วัน[8] โดยอาจสั้นสุด 5 วัน และนานสุด 21 วัน[7][1] ระยะเวลาของอาการโดยทั่วไปคือ 2-4 สัปดาห์[1] ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ในเด็ก ผู้ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[9]ฝีดาษลิงอาจติดต่อกันได้ผ่านทางการสัมผัสเนื้อสัตว์ป่า การถูกสัตว์กัดหรือข่วน สารคัดหลั่ง สิ่งของที่ปนเปื้อน หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้โดยทั่วไปแล้วจะติดต่อกันภายในกลุ่มสัตว์ฟันแทะบางชนิด การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหาดีเอ็นเอของไวรัสในรอยโรค อาการของผู้ป่วยโรคนี้มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับโรคอีสุกอีใสวัคซีนโรคฝีดาษสามารถป้องกันการติดเชื้อฝีดาษลิงได้โดยมีประสิทธิผลอยู่ที่ 85%[3][10] มีวัคซีนโรคฝีดาษลิงได้รับอนุมัติเมื่อ ค.ศ. 2019 ในสหรัฐให้ใช้ได้ในผู้ใหญ่โดยมีชื่อการค้าว่า Jynneos[11] ยาที่ใช้ในการรักษาคือยาต้านไวรัส tecovirimat ซึ่งใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มออร์โธพ็อกซ์ไวรัส เช่น ฝีดาษ และฝีดาษลิง ยานี้ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้โดยสหภาพยุโรปและสหรัฐ ยาอื่นที่อาจใช้ได้ ได้แก่ cidofovir และ brincidofovir[4][12] โอกาสเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษามีรายงานว่าสูงสุดอยู่ที่ 10-11% โดยเป็นรายงานจากการติดเชื้อพันธุ์สาขาที่ระบาดในแอฟริกากลาง (ลุ่มแม่น้ำคองโก)[1][13][14]โรคนี้ค้นพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1958 ในลิงสำหรับทดลองในโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก[15] ทั้งนี้ลิงไม่ใช่แหล่งรังโรคตามธรรมชาติของโรคนี้แต่อย่างใด[16] การติดเชื้อในมนุษย์พบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1970 ในประเทศคองโก[15] เคยมีการระบาดในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 2003 ซึ่งมีต้นตอมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยงที่นำหนูจากประเทศกานามาขาย[3] การระบาดใน ค.ศ. 2022 ถือเป็นครั้งแรกที่พบการระบาดนอกทวีปแอฟริกาที่เป็นการระบาดในชุมชน โดยพบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 และต่อมาพบในอีกกว่า 20 ประเทศ[17] โดยพบทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย[18][19][20]ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงเป็น เอ็มพ็อกซ์ (MPOX) เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติหรือการเหยียดเชื้อชาติในอนาคต โดยเริ่มใช้ในปี ค.ศ. 2023[21]

เอ็มพ็อกซ์

อาการ เป็นไข้, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ผื่นพุพอง, ต่อมน้ำเหลืองโต[1]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ
ยา Tecovirimat
ระยะดำเนินโรค 2–4 สัปดาห์[1]
การเสียชีวิต น้อยกว่า 1% (สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก),[5] ไปจนถึง 10%[1] (สายพันธุ์ลุ่มแม่น้ำคองโก, ในรายที่ไม่ได้รับการรักษา)[6]
การตั้งต้น 5–21 วันหลังรับเชื้อ[1]
สาเหตุ ไวรัสฝีดาษลิง[2]
โรคอื่นที่คล้ายกัน อีสุกอีใส, ฝีดาษ[4]
ความชุก หายาก[2]
วิธีวินิจฉัย การทดสอบเชื้อพันธุกรรมของไวรัส[3]
การป้องกัน วัคซีนโรคฝีดาษ[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็มพ็อกซ์ http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=059.... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=c... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18077063 http://snomed.info/id/359811007 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.virology.net/Big_Virology/BVDNApox.html //doi.org/10.1016%2FB978-012374410-4.00536-7 //doi.org/10.1016%2Fj.vaccine.2007.10.063 https://bestpractice.bmj.com/topics/en-gb/1611/tre... https://books.google.com/books?id=7pKqDwAAQBAJ&dq=...