สมบัติทางกายภาพและอะตอม ของ แก๊สมีสกุล

สมบัติ[11][21]ฮีเลียมนีออนอาร์กอนคริปทอนซีนอนเรดอนโอกาเนสซอน
ความหนาแน่น (g/dm3)0.17860.90021.78183.7085.8519.977200 (ค่าทำนาย)[22]
จุดเดือด (K)4.427.387.4121.5166.6211.5450±10 (ค่าทำนาย)[22]
จุดหลอมเหลว (K)[23]24.783.6115.8161.7202.2325±15 (ค่าทำนาย[22]
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (kJ/mol)0.081.746.529.0512.6518.1
การละลาย ในน้ำที่อุณหภูมิ 20 °C (cm3/kg)8.6110.533.659.4108.1230
เลขอะตอม21018365486118
รัศมีอะตอม (จากการคำนวณ) (pm)31387188108120
พลังงานไอออไนเซชัน (kJ/mol)237220801520135111701037839 (ค่าทำนาย)[24]
อิเล็กโตรเนกาทิวิตี[25]4.164.793.242.972.582.602.59[26]

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูต่อที่ แก๊สมีสกุล (หน้าข้อมูล)

แก๊สมีสกุลมีแรงระหว่างอะตอม [en]ที่อ่อน ส่งผลให้จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำมาก แก๊สมีสกุลเป็นแก๊สอะตอมเดี่ยว [en]ภายใต้ภาวะมาตรฐาน รวมถึงเป็นธาตุที่มีมวลอะตอมสูงกว่าธาตุที่เป็นของแข็งทั่วไป[11] ฮีเลียมมีปริมาณที่เป็นเอกลักษณ์กว่าธาตุอื่น โดยมีจุดเดือดที่ 1 บรรยากาศมาตรฐานต่ำกว่าสสารอื่น ฮีเลียมเป็นธาตุเดียวที่แสดงสมบัติของของไหลยวดยิ่งและเป็นธาตุเดียวที่ไม่สามารถทำให้เป็นของแข็งด้วยการลดอุณหภูมิที่ความดันบรรยากาศ[27] (ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัมว่าพลังงานจุดศูนย์ [en]มากเกินไปที่จะเกิดการเยือกแข็ง)[28] – ต้องให้ความดัน 25 บรรยากาศมาตรฐาน (2,500 กิโลปาสกาล; 370 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ที่อุณหภูมิ 0.95 เคลวิน (−272.200 องศาเซลเซียส; −457.960 องศาฟาเรนไฮต์) เพื่อเปลี่ยนให้ฮีเลียมเป็นของแข็ง[27] ในขณะที่ต้องใช้ความดันประมาณ 115 kbar สำหรับอุณหภูมิห้อง[29] แก๊สมีสกุลจนถึงซีนอนมีไอโซโทปที่เสถียรหลายไอโซโทป เรดอนไม่มีไอโซโทปเสถียร โดยไอโซโทปที่คงตัวได้นานที่สุดคือ Rn-222 [en] ด้วยครึ่งชีวิต 3.8 วันและสลายเป็นฮีเลียมกับพอโลเนียม ซึ่งจะสลายต่อเป็นตะกั่ว จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะเพิ่มขึ้นไล่จากบนลงล่างของหมู่

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานไอออไนเซชันกับเลขอะตอม แก๊สมีสกุลที่ระบุไว้มีพลังงานไอออไนเซชันสูงที่สุดในแต่ละคาบ

อะตอมของแก๊สมีสกุลเช่นเดียวกันกับอะตอมในหมู่ส่วนใหญ่ มีรัศมีอะตอมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากคาบหนึ่งไปอีกคาบหนึ่งเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของอิเล็กตรอน ขนาดของอะตอมสัมพันธ์กับสมบัติหลายประการ ตัวอย่างเช่นพลังงานไอออไนเซชันลดลงกลับกันกับรัศมีที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนในแก๊สมีสกุลที่ใหญ่กว่าจะห่างจากนิวเคลียสทำให้อิเล็กตรอนไม่ได้กระจุกตัวอย่างแน่นในอะตอมเท่ากับแก๊สมีสกุลที่เล็กกว่า แก๊สมีสกุลมีพลังงานไอออไนเซชันมากที่สุดเมื่อเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสถียรของการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสัมพันธ์กับความไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี[21] แต่อย่างไรก็ตาม แก๊สมีสกุลที่หนักบางธาตุมีพลังงานไอออไนเซชันน้อยพอที่จะเปรียบเทียบกับธาตุและโมเลกุลอื่น ข้อมูลเชิงลึกระบุว่าซีนอนมีพลังงานไอออไนเซชันเท่ากับโมเลกุลออกซิเจน ทำให้บาร์ทเล็ตพยายามออกซิไดส์ซีนอนด้วยแพลทตินัมเฮกซะฟลูออไรด์ [en](PtF6) ซึ่งเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงมากพอให้เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน[15] แก๊สมีสกุลไม่สามารถรับอิเล็กตรอนจากไอออนลบ เนื่องจากมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อยกว่าศูนย์[30]

สมบัติทางกายภาพของแก๊สมีสกุลกำหนดโดยแรงแวนเดอร์วาลส์ระหว่างอะตอมที่อ่อน แรงดึงดูดเพิ่มขึ้นตามขนาดของอะตอมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสภาพมีขั้วได้ [en] และการลดลงของพลังงานไอออนไนเซชัน นั่นส่งผลให้เกิดแนวโน้มของค่าต่าง ๆ ไล่จากบนลงล่างตามธาตุหมู่ 18 โดยรัศมีอะตอมและแรงระหว่างอะตอมจะเพิ่มขึ้น ทำให้จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอและความสามารถในการละลาย ส่วนการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นเกิดจากการเพิ่มของมวลอะตอม[21]

แก๊สมีสกุลมีสมบัติใกล้เคียงแก๊สอุดมคติภายใต้ภาวะมาตรฐาน แต่เมื่อพิจารณาค่าเบี่ยงเบนจากกฎของแก๊สอุดมคติจะนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับแรงระหว่างโมเลกุล [en] ศักย์เลนนาร์ด-โจนส์ [en]มักใช้ในการจำลองปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมเลกุล เป็นโมเดลที่เสนอในปี ค.ศ. 1924 โดย โจห์น เลนนาร์ด-โจนส์ [en] จากข้อมูลที่ทดลองกับอาร์บอนก่อนที่กลศาสตร์ควอนตัมจะให้เครื่องมือสำหรับการทำความเข้าใจเรื่องแรงระหว่าโมเลกุลด้วยหลักการแรกเริ่ม [en][31] การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีของปฏิสัมพันธ์เหล่านี้สามารถทำได้ง่ายเพราะแก๊สมีสกุลเป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวและเป็นทรงกลม หมายความว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมไม่ขึ้นกับทิศทางหรือมีสมบัติเป็นไอโซทรอปิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: แก๊สมีสกุล https://doi.org/10.1002%2Fanie.201502571 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25950423 https://ftl.toolforge.org/cgi-bin/ftl?st=&su=Gases... https://ftl.toolforge.org/cgi-bin/ftl?st=&su=Gases... https://ftl.toolforge.org/cgi-bin/ftl?st=&su=Gases... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Noble_... https://archive.org/details/trent_0116400178434 https://www.britannica.com/eb/article-9110613/nobl... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC78146... https://doi.org/10.1002%2Fanie.202011976