ที่มา ของ แคปพาโดเชีย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานแรกที่กล่าวถึงแคปพาโดเชียเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ปรากฏในคำจารึกสามภาษา ของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช และ จักรพรรดิเซอร์ซีสแห่งจักรวรรดิอคีเมนียะห์ว่าเป็นอาณาจักร หรือ “dahyu-” หนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย ที่เรียกเป็นภาษาเปอร์เซียโบราณว่า “Katpatuka” ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ต้นรากของชื่อภาษาเปอร์เซียโดยทั่วไป ภาษาเอลาไมท์ และ ภาษาอัคคาเดียใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกันจากภาษาอัคคาเดีย “katpa” “side” ที่แผลงมาจากชื่อบรรพบุรุษ “Tuka”[3]

เฮโรโดทัสกล่าวว่าชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์แคปพาโดเชียเป็นชื่อที่ชาวเปอร์เซียใช้เรียกชนกลุ่มดังกล่าวนี้ ขณะที่ชาวกรีกเรียกว่า “ชาวซีเรีย” หรือ “ชาวซีเรียขาว” (Leucosyri) ชนเผ่าหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์แคปพาโดเชียที่เฮโรโดทัสกล่าวถึงคือโมสชอย ที่นักประวัติศาสตร์โจซีฟัสกล่าวว่ามีความเกี่ยวข้องกับบุคคลในพระคัมภีร์ไบเบิลชื่อเมเช็คบุตรของยาเฟ็ธ: “และโมโซเคนีก่อตั้งขึ้นโดยโมซอค; ที่ปัจจุบันคือกลุ่มชาติพันธุ์แคปพาโดเชีย”[4][5]

แคปพาโดเชียปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลใน “กิจการของอัครทูต” 2:9 กลุ่มชาติพันธุ์แคปพาโดเชียกล่าวว่าเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้รับการประกาศข่าวดีจากอัครทูตเป็นภาษาของตนเองในเทศกาลเพนเทคอสต์ไม่นานหลังจากการคืนพระชนม์ของพระเยซู[6] ซึ่งเป็นนัยยะว่าชาวแคปพาโดเชียเป็น “ชาวยิวที่มีความเกรงกลัวในพระเจ้า”

ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเปอร์เซียองค์ต่อๆ มาแคปพาโดเชียแบ่งออกเป็นสองแคว้น (Satrap) ที่มีศูนย์กลางหนึ่งที่ยังคงใช้ชื่อแคปพาโดเชียโดยนักประวัติศาสตร์กรีก แต่อีกแคว้นหนึ่งเรียกว่า “พอนทัส” การแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นก่อนสมัยของเซเนโฟน หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิเปอร์เซียแคว้นสองแคว้นก็ยังคงแยกตัวเป็นอิสระจากกัน และ ยังคงดำรงความแตกต่างจากกันต่อมา แคปพาโดเชียมาหมายถึงจังหวัดลึกเข้าไปในแผ่นดิน ( inland province ที่บางครั้งก็เรียกว่า “แคปพาโดเชียใหญ่”) เท่านั้น และเป็นภูมิภาคที่เน้นถึงในบทความนี้

ราชอาณาจักรแคปพาโดเชียยังคงดำรงความเป็นราชอาณาจักรกึ่งอิสระมาจนถึงสมัยของสตราโบ ส่วนซิลิเคียเป็นชื่อที่ใช้สำหรับดิสตริคท์ที่เป็นที่ตั้งของ เซซาเรียซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักร เมืองสองเมืองในแคปพาโดเชียที่สตราโบเห็นว่ามีความสำคัญคือ The only two cities of Cappadocia considered by Strabo to deserve that appellation were เซซาเรีย (เดิมเรียกว่ามาซาคา) และ ทิยานา ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเชิงเขาทอรัส