ชนิด ของ แซมเพลอร์

เครื่องแซมเพลอร์นั้น อาจจำแนกได้สองแบบ คือ เฟส แซมเพลอร์ (phrase samplers) และสตูดิโอแซมเพลอร์ (studio samplers) อย่างหลังนี้ เป็นแบบไม่เป็นทางการ ส่วนแบบเฟสนั้นปรากฏในเอกสารของผู้ผลิต

เครื่องแซมเพลอร์แบบเฟส (Phrase samplers) ทำงานด้วยหลักปรัชญาเดียวกับกลองชุด นั่นคือ แต่ละคีย์แมป จะขยายเพียง 1 คีย์ และปกติจะมีแซมเปิลต่างๆ อยู่ในนั้น ส่วนแซมเพลอร์สำหรับสตูดิโอ จะต้องการโซนจำนวนมาก (มากถึง 61 โซน เพื่อเติมให้ครบบนคีย์บอร์ดเท่าไป) แต่ละตัวจะมีการกำหนดค่าของตัวมันเอง และแต่ละคีย์แมปจะต้องถูกโปรแกรมเพื่อขยายเพียง 1 คีย์ นับว่าเป็นงานที่หนัก โดยเฉพาะในแซมเพลอร์แบบฮาร์ดแวร์ที่สั่งด้วยเมนูแบบเก่า การใช้วิธีเฟสแซมปลิงจะทำให้ทำงานได้ง่าย และแปลเป็นอินเตอร์เฟสอื่นที่ง่ายขึ้น (เช่น แป้น 16 แพด บนซีรีส์ Akai MPC) ข้อเท็จจริงที่ว่าแต่ละแป้นมีแต่ละโน้ตซ่อนอยู่นั้น ถูกซ่อนไปจากผู้ใช้ นอกจากนี้ยังประหยัดกำลังการคำนวณ เพราะเครื่องแซมปลิงจะไม่ต้องปรับพิตช์ของแต่แซมเปิล (ไม่จำเป็นสำหรับอัลกอริธึมแบบ anti-aliasing) มันเพียงแต่เล่นเสียงออกมาเท่านั้น เมื่ออินเตอร์เฟสผู้ใช้ง่ายลงโดยทั่วไป มันก็เหมาะสำหรับการใช้งานแสดงสดมากกว่า แซมเพลอร์แบบสตูดิโอ (Studio samplers) ทำงานอย่างที่บรรยายมาข้างบน พร้อมกับระบบ keymapping โดยถือว่าผู้ใช้ต้องการเร่งความเร็วแซมเปิลจากช่วงคีย์ต่างๆ นี่เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นแน่นอน สิ่งที่ต้องการก็คือ เช่น การเร่ง หรือผ่อนความเร็วของลูปกลอง การจูนแซมเพลอร์อย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นเทิร์นเทเบิลแบบดิจิตอล ในบางกรณี ก็ไม่เป็นที่ต้องการ เช่น เมื่อมีแซมเปิลไม่พอในเครื่องดนตรี ส่วนที่สูงกว่า และต่ำกว่าของ keymap อาจให้เสียงไม่เป็นธรรมชาติ และการย้ายตำแหน่งจากคีย์แมปหนึ่งไปอีกคีย์แมปหนึ่ง ก็อาจสังเกตได้ชัดเกินไป สำหรับการเลียนเสียงเครื่องดนตรีจริงนั้น ศิลปะที่ต้องใช้เพื่อคือ การย้ายตำแหน่งให้แนบเนียบและนุ่มนวลเท่าที่จะทำได้

รูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ แซมเพลอร์ในสตูดิโอนั้น มีขนาดสำหรับแร็ก 19 นิ้ว เฟสแซมเพลอร์มีรูปแบบ groovebox น้ำหนักเบา ใช้งานและขนย้ายง่าย