ความหมาย ของ แนวคิดหลังยุคนวนิยม

คำว่าหลังสมัยใหม่ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสฌัง-ฟรังซัวร์ ไลโอตารด์ (Jean-François Lyotard) ที่มาของคำว่าหลังสมัยใหม่ก็มาจากชื่อหนังสือของไลโอตารด์ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1979 คือ “สภาวะหลังสมัยใหม่ : รายงานว่าด้วยความรู้ (The Postmodern Condition : A Report on Knowledge)” ซึ่งไลโอตาร์ดกล่าวว่าในทางการ “หาความรู้” ในแนวทางแบบหลังสมัยใหม่นั้นหากจะบอกเวลาที่แน่ชัดที่สุดหรือในทศวรรษที่ 1950 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยุโรปเริ่มปรับเปลี่ยนและรื้อสร้าง (reconstruct) ทางความคิดในเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องมนุษย์, สังคม และวัฒนธรรม ไลโอตาร์ดเรียกร้องให้มนุษย์ปฏิเสธเรื่องเล่าหลัก หรือทฤษฎีต่างๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการหาความรู้พื้นฐานของปรัชญาซึ่งเริ่มต้นด้วยการขุดเซาะทฤษฎีทางปรัชญาต่างๆที่อ้างตนว่าสามารถอธิบายความจริงได้ ไลโอตาร์ดอธิบายถึงสิ่งเขาเรียกว่าหลังสมัยใหม่ไว้ว่า

“ข้าพเจ้านิยามหลังสมัยใหม่ในฐานะความไม่เชื่อถือในเรื่องเล่าหลัก ความไม่เชื่อถือนี้มิได้เป็นผลจากพัฒนาการของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าเป็นสิ่งที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น ความล้าสมัยของการทำให้เรื่องเล่าหลักมีความชอบธรรม, เป็นที่ยอมรับ คือความล้มเหลวของหลักอภิปรัชญา และขนบของการศึกษาในมหาวิทยาลัย เรื่องเล่าอื่นๆได้สูญเสียหน้าที่ของมันไปหมด... ...อะไรคือหลังสมัยใหม่?... ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกสงสัยเลยว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะสมัยใหม่ หากสิ่งใดจะเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องเริ่มต้นจากการเป็นสิ่งหลังสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ไม่สามารถถูกเข้าใจว่าเป็นจุดจบของแนวคิดสมัยใหม่ แต่คือจุดเริ่มต้น และจุดที่ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ... หลังสมัยใหม่จะทำให้สิ่งที่ภาวะสมัยใหม่ไม่นำเสนอมีที่ทางที่จะเสนอตัวเอง ”[5]

ใกล้เคียง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า แนวคิดปฏิเสธเอดส์ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท แนวคิดหลังยุคนวนิยม แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง แนวคิดโฮจิมินห์ แนวคิดไกสอน พมวิหาน แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย