แถบตอนกลางของจีน ของ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

เป็นแนวคิดซึ่งเริ่มมาจาก ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ในหนังสือเรื่อง The Thai Race: Elder Brother of the Chinese (ชนชาติไทย: พี่ชายของชนชาติจีน) โดยเสนอว่าชนชาติไทเคยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ต่อมา ชนชาติไทถูกชนชาติจีนมาปะทะจึงต้องถอยร่นไปในหลายทิศทาง ซึ่งส่วนมากได้ถอยไปยังแม่น้ำแยงซีและมณฑลยูนนานและตั้งอาณาจักรน่านเจ้า[8]

  • แนวคิดนี้มีนักประวัติศาสตร์เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง เช่น วอลฟรัม เอเบอร์ฮาร์ด ในหนังสือ A History of China (ประวัติศาสตร์จีน) และศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในบทความ "ถิ่นกำเนิดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย"[9]
  • ส่วนนักประวัติศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์, ดร.เฟรเดอริก โมต, ชาลส์ โรนีย์ แบกคัส, [9] และวินัย พงศ์ศรีเพียร[1]
  • แบกคัสให้เหตุผลว่าคำในภาษาไทยไม่มีในคำภาษาน่านเจ้า, คำในภาษาน่านเจ้าส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาทิเบต-พม่ามากที่สุด ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับภาษาไทยเท่าใดนัก และรากฐานและพื้นฐานระหว่างวัฒนธรรมอ้ายลาวกับวัฒนธรรมน่านเจ้ามีความแตกต่างกัน[10]
  • วินัย พงศ์รีเพียรได้อ้างงานเขียนของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ซึ่งกล่าวว่าชนชาติไทยปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16[1]

ใกล้เคียง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า แนวคิดปฏิเสธเอดส์ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท แนวคิดหลังยุคนวนิยม แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง แนวคิดโฮจิมินห์ แนวคิดไกสอน พมวิหาน แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย