แถบตอนใต้ของจีน ของ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ เขตปกครองตนเองกว่างซี มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก[1] นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน[1] แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเขตปกครองตนเองกว่างซี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู[2]

  • นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์เจมส์ อาร์. เอ. เชมเบอร์ลิน, ศาสตราจารย์หลีฟ้ง-ก้าย, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และ ดร.มาร์วิน บราวน์[3]

ต่อมา รายงาน The Archaeological Excavation in Thailand (การขุดค้นโบราณคดีในประเทศไทย) ของ ดร.เบีย ซอเรสเสน นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก ได้เสนอว่า ชนชาติไทยถือกำเนิดบริเวณตอนใต้ของจีน อพยพขึ้นเหนือ แล้วอพยพกลับลงมาอีก[4] จากหลักฐานซึ่งปรากฏว่ามีคนไทยหมู่หนึ่งเคยพูดภาษาไทยมานานถึง 3,777 ปีมาแล้ว[5]

  • พิสิฐ เจริญวงศ์ ได้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และนับว่าภาคอีสานของไทยเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคโลหะในเอเชีย[5]
  • จิตร บัวบุศย์ ได้เสนอว่าวัฒนธรรมไทยเริ่มขึ้นที่บ้านเชียง และคนไทยเคยอพยพขึ้นไปทางเหนือแล้วย้อนกลับลงมาอีก
  • อย่างไรก็ตาม งานเขียนของ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ระบุว่า วัฒนธรรมบ้านเชียงไม่สามารถระบุได้ว่ามนุษย์บ้านเชียงเป็นคนไทย เพราะในอดีตเคยมีการอพยพขึ้นเหนือและลงใต้อยู่หลายครั้ง
  • กวี อมรสิริธาดา เคยไปท่องเที่ยวเสียมราฐ ระหว่างที่เดินชมนครวัดอยู่นั้น มีชายชาวเวียดนามกำลังวิจารณ์รูปสลักบนผนังเป็นข้อความว่า "ไก่ไก่กำลังตีกัน" แต่พูดค่อนข้างเร็ว ซึ่งในรูปแกะสลักนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวเขมร ซึ่งการชนไก่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น นั่นจึงอาจสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าชนชาติไทยอาจเคยอาศัยบริเวณตอนเหนือของเวียดนามมาก่อน เนื่องจากภาษาพูดบางส่วนคล้ายคลึงภาษาไทยมาก

ใกล้เคียง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า แนวคิดปฏิเสธเอดส์ แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท แนวคิดหลังยุคนวนิยม แนวคิดว่าด้วยกัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง แนวคิดโฮจิมินห์ แนวคิดไกสอน พมวิหาน แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตย