แรงผลักดันทางการเมืองก่อนข้อตกลงสันติภาพปารีส ของ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร

ในช่วงแรก แนวร่วมฯขึ้นกับเงินสนับสนุนจากต่างชาติเพื่อสนับสนุนกองกำลังทางทหารและค่ายผู้อพยพ รวมทั้งสร้างการยอมรับจากนานาชาติ ใน พ.ศ. 2525 ซอน ซานเดินทางไปยังสหรัฐและยุโรปเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวร่วมฯนี้ถือเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาที่ไม่นิยมคอมมิวนิสต์ จึงได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกที่ไม่สนับสนุนเวียดนามและเขมรแดง อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง แนวร่วมฯ ได้เข้าร่วมในแนวร่วมเขมรสามฝ่าย แม้ว่าแนวร่วมฯจะเป็นเช่นเดียวกับพรรคฟุนซินเปกคือไม่เห็นด้วยกับแนวคิดและวิธีการของเขมรแดง แต่ต้องเข้าร่วมเพื่อดึงดูดความสนใจจากนานาชาติและได้ที่นั่งเป็นตัวแทนในสหประชาชาติ[5]

ใกล้เคียง

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเวียดนามใต้ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปิตุภูมิ (ออสเตรีย) แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร