หลังข้อตกลงปารีส ของ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร

ใน พ.ศ. 2534 ฝรั่งเศสและอินโดนีเซียได้เรียกร้องให้มีการประชุมสันติภาพเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองในกัมพูชา เขมรสี่ฝ่าย สหประชาชาติและประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สหรัฐ สหภาพโซเวียต จีน และอังกฤษ เป้าหมายของการประชุมเพื่อสร้างเอกภาพ สันติภาพและประชาธิปไตยที่เป็นกลางของกัมพูชา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ทุกกลุ่มที่เข้าร่วมได้ลงนามในข้อตกลงปารีสให้สหประชาชาติเข้ามาจัดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2536เพื่อกำหนดรัฐบาลกัมพูชาในอนาคต กัมพูชาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติจนกว่าการเลือกตั้งจะเสร็จสิ้น และลดจำนวนกองทัพของตน ยกเว้นเขมรแดงที่ถูกคว่ำบาตรไม่ให้เข้าร่วมการเลือกตั้ง

ตัวแทนของแนวร่วมคือพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยมชาวพุทธเข้าร่วมในการเลือกตั้งและได้ 10 จาก 120 ที่นั่งในสภา เนื่องจากไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง พรรคจึงเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาชนกัมพูชาและพรรคฟุนซินเปก และมีผู้ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น เอง เมาลีเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศ และ เคม โสขาเป็นประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในสภาแห่งชาติ[8]

ใกล้เคียง

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเวียดนามใต้ แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม แนวร่วมปลดปล่อยประชาชนแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ แนวร่วมปิตุภูมิ (ออสเตรีย) แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร