แผนหลงจง
แผนหลงจง

แผนหลงจง

แผนหลงจง (อังกฤษ: Longzhong Plan; จีน: 隆中對) เป็นชื่อเรียกแผนยุทธศาสตร์ที่จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) นักยุทธวิธีและผู้ปกครองชาวจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นผู้เสนอ แผนดังกล่าวเป็นรากฐานสำหรับแผนใหญ่ของขุนศึกเล่าปี่ (หลิวเป้ย) และจ๊กก๊ก (รัฐฉู่) ในสมัยสามก๊กต่อมา ใจความสำคัญเล็งเห็นการยึดฐานภูมิภาคที่อยู่รอดได้ในภาคใต้ของจีน แล้วโจมตีสองง่ามเพื่อพิชิตภาคเหนือ แม้แผนดังกล่าวจะพุ่งเป้าไปยังวุยก๊ก (รัฐเว่ย์) ที่เข้มแข็ง แต่เป้าหมายบั้นปลายในการสร้างเอกภาพอีกครั้งซึ่งจักรวรรดิราชวงศ์ฮั่นที่ล่มสลายจำเป็นต้องทำลายง่อก๊ก (รัฐอู๋) ของซุนกวน (ซุนเฉวียน) ฝ่ายทิศตะวันออกด้วยจูกัดเหลียงเข้าร่วมกับหลิวเป้ยเป็นโหมวจึ้ (謀士) หรือที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ใน ค.ศ. 207 จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจึ้) บันทึกว่าช่วงนี้เองที่เขาร่างแผนหลงจง แผนนี้คาดการณ์ว่าหลิวเป้ยจะยึดเกงจิ๋ว (จิ้งโจว) และเอ๊กจิ๋ว (อี้โจว) ซึ่งทั้งสองจังหวัดนี้ถูกปกครองโดยผู้ที่ค่อนข้างด้อยความสามารถ แผนหลงจงรับรู้ว่าโจโฉ (เฉาเชา) ควบคุมที่ราบจีนภาคเหนือ ซึ่งสำคัญต่ออำนาจควบคุมประเทศจีน และซุนเฉวียนถือครองบริเวณแม่น้ำแยงซีตอนล่าง เรียก "เจียงดง" ในมุมมองนี้ การเคลื่อนไหวเพื่อยึดครองจิ้งโจวและอี้โจวสำคัญต่อความสำเร็จ ร่างสำคัญของแผนถือการเล็งเห็นผลล่วงหน้าที่น่าสังเกตในการทำนายการแบ่งประเทศจีนออกเป็นสามส่วน อีกแง่มุมหนึ่งที่สำคัญของแผนนี้คือ ข้อเสนอการตั้งพันธมิตรกับซุนเฉวียนเพื่อขัดขวางและต่อต้านเฉาเชาที่ทรงอำนาจและคุกคามมากกว่า สำหรับแง่มุมเล็กน้อยอื่นมีการปฏิรูปสถาบันเศรษฐกิจ กฎหมายและการปกครอง ตลอดจนการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่มิใช่ชาวฮั่นซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและใต้ นโยบายดังกล่าวจะลดการต่อต้านและเพิ่มกำลังคนและทรัพยากรเศรษฐกิจที่จำเป็นอย่างมาก ข้อความบั้นปลายคือการรณรงค์ในภาคเหนือสองง่ามซึ่งจะยุติด้วยการยึดที่ราบจีนภาคเหนือและการสถาปนาราชสำนักฮั่นใหม่การรุกทางหนึ่งจะมาจากอี้โจวทางทิศตะวันตก ขึ้นเหนือตัดเทือกเขาฉิน ซึ่งทอดลงสู่หุบแม่น้ำเว่ย์และบรรลุที่ตั้งยุทธศาสตร์ในทิศตะวันตกซึ่งจะครอบงำโค้งใหญ่ของแม่น้ำเหลืองและบริเวณกวนจงจากที่นั้น การรุกทางที่สองจะมาจากจิงโจวขึ้นเหนือสู่ศูนย์กลางการเมืองลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง) และที่ราบโดยรอบ การรณรงค์เช่นนั้นสันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นเมื่อสบโอกาสบั่นทอนเสถียรภาพของเว่ย์ แต่เป็นช่วงใดนั้นมิได้ระบุแน่ชัด แม้มิได้ระบุบทบาทของซุนเฉวียนในการบุกนี้ แต่ก็คาดว่าเขาจะยื้อกำลังของเฉาเชาอย่างน้อยบางส่วนตั้งแต่ ค.ศ. 215 หลิวเป้ยควบคุมทั้งจิงโจวและอี้โจว ใน ค.ศ. 219 เขาชนะอย่างเด็ดขาดต่อเฉาเชาและยึดครองฮั่นจง ฤดูใบไม้ผลิปีนั้น กวนอู (กวันยฺหวี่) แม่ทัพของเขาในจิงโจว บุกตีขึ้นเหนือต่อที่ตั้งของเฉาเชาตรงแม่น้ำฮั่น การบุกนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการบุกตีสองงามตามแผน สำหรับไม่กี่เดือนแรก การบุกตีของกวันยฺหวี่สำเร็จอย่างโดดเด่นและเฉาเชาถึงกับพิจารณาย้ายเมืองหลวงสฺวี่ชาง (ฮูโต๋) ทว่า ณ จุดนี้ซุนเฉวียนฉวยโอกาสเปิดฉากจู่โจมและยึดจิงโจวได้อย่างรวดเร็ว หลิวเป้ยพยายามยึดจิงโจวคืนใน ค.ศ. 223 ไต่ไร้ผล และเสียชีวิตจากนั้นไม่นาน แม้เสียจิงโจว แต่จูเกอหลียงอาจพยายามดำเนินแผนหลงจงฉบับปรับปรุงในรูปของการบุกขึ้นเหนือ แม้อาจแย้งได้ว่าการรณรงค์เหล่านั้นมีเป้าหมายทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ต่างไป