จดหมายเหตุสามก๊ก
จดหมายเหตุสามก๊ก

จดหมายเหตุสามก๊ก

จดหมายเหตุสามก๊ก (อังกฤษ: Records of the Three Kingdoms; จีน: 三國志; พินอิน: Sānguó Zhì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดย เฉินโซ่ว (ตันซิ่ว, Chen Shou) บัณฑิตและขุนนางชาวเสฉวน มีตัวตนจริงอยู่ในสมัยยุคสามก๊ก โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยตันเซ็กบิดาของเขา ในปี พ.ศ. 806 แคว้นจ๊กก๊ก ที่ ตันซิ่ว หรือ เฉินโซ่วอาศัยอยู่ ได้ประกาศยอมแพ้ต่อแคว้นวุย ตันซิ่วและครอบครัวรวมทั้งชาวจ๊กก๊กคนอื่น ๆ จึงถูกนำตัวไปยังวุยก๊ก ขณะนั้นสุมาเจียว ซึ่งเป็นผู้ครองแคว้นวุยสิ้นพระชนม์ สุมาเอี๋ยนจึงเป็นผู้สืบทอดแคว้นต่อไปและสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนราชวงศ์วุย และแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าโจฮวนในปี พ.ศ. 808 ก่อนจะสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้แห่งราชวงศ์ใหม่ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก 15 ปีสืบต่อมา พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ก็สามารถรวบรวมอาณาจักรสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ ตันซิ่วได้เขียนและรวบรวมหนังสือชุด "ชีวประวัติและผลงานของ จูกัดเหลียง ขงเบ้ง" เมื่อเสนาบดีเตียวหัวได้อ่านแล้วก็ชื่นชอบมาก จึงนำขึ้นถวายให้พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ เมื่อทรงอ่านแล้วก็โปรดปรานและรู้สึกทึ่งกับเรื่องราวของจูกัดเหลียง จึงมีบัญชาให้เรียกตัวตันซิ่วเข้าเฝ้า แล้วสั่งให้เขารวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสามก๊กอย่างละเอียด ตันซิ่วจึงเริ่มรวบรวมประวัติศาสตร์ตั้งแต่ในสมัยที่พระเจ้าเลนเต้ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 711 ไปจนถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้รวบรวมแผ่นดินจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวใน พ.ศ. 823 อย่างละเอียด เพื่อเอากลศึกสงครามต่าง ๆ ที่เกิดในยุคนี้ให้เป็นตำราสงครามให้แก่คนรุ่นหลัง สามก๊กฉบับแรกนี้มีชื่อว่า "ซานกั๋วจื้อ"[1]อย่างไรก็ตาม ซานกั๋วจื้อ ก็มีอุปสรรคในการเขียนมาก และเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในฐานะของจดหมายเหตุราชสำนัก มีลักษณะเป็นบันทึกชีวประวัติบุคคลต่างๆ ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จนสิ้นสุดยุคสามก๊ก เรื่องราวในซานกั๋วจื้อไม่ได้แพร่หลายมากนักในระยะแรก แต่ก็เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กฉบับแรกที่ถูกนักเขียนในรุ่นหลังนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง จนกระทั่งในสมัยราชวงศ์หมิง นักประพันธ์คนสำคัญคือ หลอกว้านจง (ล่อกวนตง) ก็ได้นำจดหมายเหตุสามก๊กมาใช้เป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊ก ซึ่งต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง สองพ่อลูกนักประพันธ์คือ เหมาหลุน และ เหมาจงกัง ก็ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้กระชับและสมบูรณ์ขึ้น จนกลายเป็นสามก๊กที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งก็คือต้นแบบของ วรรณกรรมสามก๊ก ซานกั๋วเหยี่ยนอี้ นั่นเอง[1]

จดหมายเหตุสามก๊ก

ชื่อเรื่องต้นฉบับ 三國志 (ซานกั๋วจื้อ)
ประเทศ จีน
หัวเรื่อง ประวัติศาสตร์ของยุคสามก๊ก
ผู้ประพันธ์ เฉินโซ่ว (ตันซิ่ว)
ภาษา จีนดั้งเดิม
วันที่พิมพ์ ศตวรรษที่ 3

ใกล้เคียง

จดหมายรักจากเมียเช่า จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุสามก๊ก จดหมาย จดหมายลูกโซ่ จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายเหตุ จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส